จากวัสดุเหลือใช้สู่ศิลปะการเชิดหุ่นกระบอก

(VOVworld)วัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันและขยะอุตสาหกรรมกำลังสร้างปัญหาให้แก่สังคมซึ่งเพื่อแก้ไขปัญหานี้ หลายประเทศได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล รวมทั้งศิลปินดังเช่นนาย เวียงทองจันทร์ ถะวง จากคณะศิลปะเชิดหุ่นกระบอกแห่งชาติลาวก็ได้นำวัสดุเหลือใช้มาทำหุ่นกระบอก

(VOVworld)วัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันและขยะอุตสาหกรรมกำลังสร้างปัญหาให้แก่สังคมซึ่งเพื่อแก้ไขปัญหานี้ หลายประเทศได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล รวมทั้งศิลปินดังเช่นนาย เวียงทองจันทร์ ถะวง จากคณะศิลปะเชิดหุ่นกระบอกแห่งชาติลาวก็ได้นำวัสดุเหลือใช้มาทำหุ่นกระบอก

จากวัสดุเหลือใช้สู่ศิลปะการเชิดหุ่นกระบอก - ảnh 1
การเชิดหุ่นกระบอกของลาว

เราพบปะกับนาย เวียงทองจันทร์ ถะวง อายุกว่า 30 ปีในตอนเช้าในขณะที่เขาและคณะศิลปะเชิดหุ่นกระบอกกำลังเตรียมไปแสดง นาย เวียงทองจันทร์ ถะวง กำลังใช้คอมพิวเตอร์ศึกษาข้อมูลวิธีการทำหุ่นกระบอก เมื่อมองหุ่นกระบอกที่เขาพร้อมบรรดาศิลปินทำผ่านการหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ดูเหมือนว่า หุ่นเหล่านี้ทำจากไม้และวัสดุต่างๆ แต่ถ้ามองอย่างละเอียดจะพบว่า หุ่นเหล่านี้แตกต่างจากหุ่นทั่วไป เช่นหุ่นช้าง ส่วนของงวงช้างทำจากใบกาบมะพร้าวแห้ง หูทำจากยางรถยนต์ ส่วนตัวช้างทำจากผ้าซึ่งดูน่ารักมากๆ นาย เวียงทองจันทร์ ถะวง ได้เผยว่า “หุ่นกระบอกทำจากวัสดุเหลือใช้และจากธรรมชาติ เช่นตะกร้าพลาสติก ถุงพลาสติก ใบกาบมะพร้าวแห้งและวัสดุเหลือใช้รอบๆตัวเรา หลังจากผมเก็บวัสดุเหลือใช้มาทำหุ่นกระบอกก็นำไปแสดงบนเวทีเพื่อให้ทุกคนทราบว่า วัสดุเหลือใช้หลายอย่างยังสามารถเอากลับไปรีไซเคิลเพื่อใช้ใหม่ได้”
เมื่อปี 2007 นาย เวียงทองจันทร์ ถะวง เริ่มศึกษาการเลือกวัสดุเหลือใช้เพื่อทำหุ่นกระบอกและส่งสาส์นเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมพร้อมกับบรรดาศิลปินอื่นๆ นาย เวียงทองจันทร์ ถะวง ได้รับการฝึกสอนโดยอาจารย์ เลิด หมะ ลี อินซีแสงไมซึ่งเป็นศิลปินยอดเยี่ยมของลาวจึงได้เรียนรู้ประสบการณ์เป็นอย่างมาก “มีครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นมีคนเอากาบมะพร้าวไปเผา อาจารย์ เลิด หมะ ลี อินซีแสงไม ได้บอกว่า อย่านำไปเผาเพราะกาบมะพร้าวสวยมาก ในตอนนั้นทุกคนจึงใช้น้ำดับไฟ ถึงแม้ถูกเผาไปบางส่วนแต่ก็ยังสวยมากซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญที่ทำให้พวกเราเห็นว่า วัสดุเหลือใช้สามารถเอากลับไปรีไซเคิลใช้ใหม่ได้”

จากวัสดุเหลือใช้สู่ศิลปะการเชิดหุ่นกระบอก - ảnh 2
ช้างทำจากวัสดุเหลือใช้

นาย เวียงทองจันทร์ ถะวง ได้เผยว่า การสร้างรูปร่างและการแสดงหุ่นกระบอกจากวัสดุเหลือใช้และสิ่งของทั่วไปต้องมีแนวคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการทำหุ่น ส่วนไหนที่เหมาะสมกับการทำหุ่น หลังจากนั้นต้องหาวิธีการแสดงหุ่นและการส่งสาส์นถึงผู้ชมแต่ทักษะนี้ก็ขึ้นอยู่กับแนวคิดของศิลปินแต่ละคน “เมื่อพวกเราทำหุ่นกระบอกได้ตามความปรารถนาของตนซึ่งเมื่อนำไปแสดงมันก็มีความงานเฉพาะตัว บางทีเราเห็นหุ่นนั้นไม่สวย แต่เมื่อนำไปแสดงทุกคนก็เห็นว่า มันสวยมาก ผมก็ไม่สามารถอธิบายได้ ในรายการแสดงของพวกเรา พวกเราไม่ใช้คำพูดเหมือนหุ่นของประเทศอื่นๆที่ใช้คำพูดเพื่ออธิบายให้แก่กริยาท่าทางของหุ่นหากพวกเราใช้ดนตรีประกอบการแสดงพร้อมท่าทางต่างๆของหุ่นเพื่อทำให้ผู้ชมเข้าใจ ”
นาย เวียงทองจันทร์ ถะวง พร้อมคณะศิลปินได้นำศิลปะนี้ไปแสดงในประเทศต่างๆ เช่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนามโดยเน้นแนะนำขนบธรรมเนียมประเพณีผ่านหุ่นกระบอกเพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมและชีวิตของประชาชนลาว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด