ชั้นเรียนภาษาลาวในกรุงฮานอย จุดประกายความรักประเทศลาวให้แก่เยาวชนเวียดนาม

(VOVWORLD) - เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้รับการก่อตั้ง ประเทศต่างๆในอาเซียนนับวันขยายความร่วมมือมากขึ้น ส่วนเยาวชนเวียดนาม รวมทั้งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยก็ได้หันมาสนใจเรียนภาษาของประเทศต่างๆภายในกลุ่มอาเซียน เช่น ภาษาไทยและภาษาลาวเพื่อสามารถหางานดีๆได้ง่ายขึ้น ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากภาษาไทยที่มีการสอนมาตั้งแต่ปี 2001 แล้วในปีการศึกษา 2019 - 2020 ก็ได้เริ่มเปิดชั้นเรียนภาษาลาว ซึ่งแม้จะผ่านมาเพียง 1 เทอม แต่นักศึกษาทุกคนต่างก็แสดงออกถึงความรักภาษาลาวและประเทศลาวเป็นอย่างมาก
ชั้นเรียนภาษาลาวในกรุงฮานอย จุดประกายความรักประเทศลาวให้แก่เยาวชนเวียดนาม - ảnh 1ชั้นเรียนภาษาลาวในกรุงฮานอย
 

ในวันพิเศษวันนี้ ได้มีการมอบรางวัลการประกวดสุนทรพจน์ภาษาลาวผ่านคลิปวีดีโอพร้อมทั้งเป็นวันที่ครูอาจารย์และนักศึกษาชั้นเรียนภาษาลาวได้พบปะกันหลังจากที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม นักศึกษาทุกคนต่างรู้สึกยินดีที่ได้รับรางวัลและได้กลับมาเรียนต่อ โดยมาร่วมงานตั้งแต่เช้าตรู่ และทุกคนต่างบอกว่าชอบภาษาลาวมาก “ในตอนแรกหนูไม่อยากเรียนภาษาลาว หนูอยากเรียนภาษาเกาหลีแต่หนูลงทะเบียนไม่ทัน บังเอิญว่าเพื่อนของหนูได้บอกเกี่ยวกับชั้นเรียนภาษาลาว หนูได้ลองเรียนและเห็นว่าภาษาลาวยากมากทำให้หนูมีความตั้งใจที่จะเรียนภาษาลาวให้ได้”

แม้จะมีเหตุผลที่แตกต่างกันในการเลือกเรียนภาษาลาวแต่หลังจากเรียนได้ 8 เดือน นักศึกษาทุกคนต่างบอกว่า ภาษาลาวน่าสนใจมาก ไม่ยากและการเขียนตัวอักษรลาวก็ไม่ยากเหมือนที่คิดในตอนแรก “ในตอนแรก หนูเห็นตัวอักษรภาษาลาวมันขะยึ่กขะยือเหมือนเส้นปะหมี่ ไม่รู้จะเขียนอย่างไร แต่หลังจากที่ครูสอนให้ เหมือนสอนเด็กนักเรียนชั้นประถมทั้งการเขียน การอ่าน การพูดและการฟัง หนูก็เริ่มรู้สึกคุ้นเคยและเห็นว่ามันไม่ยากเหมือนที่คิด แต่ถ้าหากเรียนให้เก่งก็ต้องทุ่มเทและมีความมานะพยายามดังโอวาทของประธานโฮจิมินห์ที่ว่า “ไม่มีเรื่องใดยุ่งยากถ้าหาเราตั้งใจทำ” ตอนนี้หนูสามารถพูดภาษาลาวและหลังจากที่เรียนจบก็สามารถไปเที่ยวประเทศลาวได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาษาอีก”

“ภาษาลาวคือภาษาใหม่สำหรับหนู ดูเหมือนหน้ากระดาษใหม่จึงสามารถจำศัพท์ต่างๆได้เร็ว ภาษาลาวไม่ยากมากทั้งในการพูดและการเขียนแต่เราต้องพยายามจำศัพท์ให้ได้มากที่สุด”

คุณกำลังฟังบทสุนทรพจน์ของนางสาว ฝุ่งถิแอ๊ง ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวดครั้งนี้ ถึงแม้เป็นการประกวดขนาดเล็กแทนการสอบในปลายเทอมในขณะที่ทุกคนไม่สามารถไปเรียนได้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 แต่ผลการประกวดก็พิสูจน์ให้เห็นถึงความพยายามของนักศึกษาทุกคนในตลอด 8 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 21 คนต่างสามารถอ่าน พูดและแนะนำตัวเองเป็นภาษาลาวได้ อาจารย์ Phoumphithut Oupaseuth อาจารย์ชาวลาวที่รับหน้าที่สอนภาษาลาวในชั้นเรียนนี้บอกว่า ถ้าบอกว่า ใช้เวลาเรียน 8 เดือนก็จะรู้สึกว่าเรียนนานแต่จริงๆพวกเขาเรียนสัปดาห์ละ 1 วันเท่านั้น ดังนั้นการที่สามารถสนทนาในขั้นพื้นฐานได้ก็ถือว่าสำเร็จแล้วและน่าภาคภูมิใจมาก“ถ้าหากถามว่า การเรียนภาษาลาวชั้นแรกนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่ ผมสามารถตอบได้เลยว่า สำเร็จจริงๆ เพราะว่า เราเรียนแค่ 30 วันแต่ทุกคนก็สามารถพูดได้ ฟังได้ แม้ยังไม่เก่งมากแต่ก็สามารถใช้ได้ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่นักศึกษาของเราสามารถพูดคุยได้ ภูมิใจ และตื้นตันใจมากที่นักศึกษาเวียดนามนับวันรักภาษาลาวมากขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นกำลังใจให้ผมปฏิบัติหน้าที่นี้ในปีต่อๆไปเพื่อมีส่วนร่วนเผยแพร่ภาษาลาวให้กลายเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในเวียดนาม”

ชั้นเรียนภาษาลาวในกรุงฮานอย จุดประกายความรักประเทศลาวให้แก่เยาวชนเวียดนาม - ảnh 2อาจารย์ Phoumphithut Oupaseuth ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนาม

นอกจากได้เรียนภาษา นักศึกษาเวียดนามยังได้เรียนวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของลาวด้วย นางสาว เลแทงเหวี่ยน ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 3 ในการประกวดครั้งนี้และนางสาวเยืองถิบิ๊กหั่ง แสดงความคิดเห็นว่า

“การเรียนภาษาลาวได้ช่วยให้หนูรู้จักวัฒนธรรมโดยเฉพาะอาหารลาวมากขึ้น เราได้ฟังคำแนะนำจากครู จึงเห็นว่า ลาวคือประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว”

“จากการศึกาวิธีทำอาหารและประเพณีของคนลาว หนูเห็นว่า คนลาวเป็นคนที่พิถีพิถัน ชอบสิ่งที่สวยงาม ซึ่งดอกไม้ลวดลายต่างๆบนผ้าถุงของพวกเขาสวยมาก ซึ่งหนูก็อยากได้ซักผืน ส่วนคนลาวมีความเมตตาและอ่อนโยนมาก”

ภาพลักษณ์เกี่ยวกับประเทศลาวที่สวยงามและท่ารำวงที่มีเสน่ห์ ส้มตำลาวที่รสชาติจัดจ้านและอร่อยเป็นสิ่งที่จุดประกายความรักประเทศลาวให้แก่นักศึกษาเวียดนามทุกคน นางสาว ฝุ่งถิหงอกแอ๊ง เผยต่อไปว่า “ภายหลัง 1 ปีที่เรียนภาษาลาว หนูเห็นว่าภาษาลาวน่าสนใจมากและก็อยากไปเที่ยวประเทศลาวเพื่อศึกษาค้นคว้าประเทศเพื่อนบ้านนี้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นเพื่อจะได้บอกเล่าให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศลาวมากขึ้น หนูรู้สึกภูมิใจมากที่สามารถจุดประกายให้นักศึกษารุ่นน้องชอบภาษาลาวเหมือนหนูและอยากให้ภาษาลาวนับวันได้รับความนิยมในประเทศเวียดนามมากขึ้น”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด