ศูนย์ภาษาและความรู้เวียดนาม - จุดประกายความรักภาษาและวัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย

(VOVWORLD) -ในช่วงปี 1990 ชาวไทยหลายคนมีความต้องการเรียนภาษาเวียดนาม ศึกษานโยบายการลงทุนและการท่องเที่ยวเวียดนาม จากความเข้าใจเรื่องนี้  นาง โด๋ทวี๊ห่า ครูสอนภาษาเวียดนามและวัฒนธรรมเวียดนาม ภาควิชาภาษาตะวันออกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีความคิดเปิดศูนย์ภาษาและความรู้เวียดนามหรือ  VLK Center ณ กรุงเทพฯ

 
ศูนย์ภาษาและความรู้เวียดนาม  - จุดประกายความรักภาษาและวัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 1กิจกรรมการห่อขนมแบ๊งจึงหรือขนมข้าวต้มมัดใหญ่ที่จัดโดยศูนย์ VLK

ในโอกาสเทศกาลตรุษเต๊ตปีแมวตามจันทรคติที่ผ่านมา ครูโด๋ทวี๊ห่า  และสมาชิกของศูนย์ฯได้จัดกิจกรรมการห่อขนมแบ๊งจึงหรือขนมข้าวต้มมัดใหญ่ ซึ่งเป็นประเพณีที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลตรุษเต๊ตของชาวเวียดนาม โดยนักศึกษาเวียดนามและชาวไทยหลายคนได้มีโอกาสลองห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่ ครูโด๋ทวี๊ห่า ผู้ก่อตั้งศูนย์ฯได้เผยว่า

 ในช่วงก่อนเทศกาลตรุษเต๊ต ทางศูนย์ฯได้จัดกิจกรรมห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่  ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้    เมื่อปีก่อนๆ ครูจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและมหาวิทยาลัยต่างๆของไทยได้ส่งนักศึกษาไทยมาเรียนรู้ประเพณีนี้ของชาวเวียดนาม ซึ่งทำให้กิจกรรมนี้กลายเป็นงานใหญ่ของชาวเวียดนามในกรุงเทพฯ  ชาวเวียดนามบางคนยังพาเพื่อนมิตรชาวต่างชาติมาร่วมด้วย”

กิจกรรมห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของศูนย์ VLK ที่ถูกจัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษเต๊ตที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทางศูนย์ฯยังจัดกิจกรรมแนะนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเวียดนาม เช่น การไปทำบุญที่วัดในช่วงต้นปีใหม่ตามประเพณี การศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของวัดเวียดนามในกรุงเทพฯ  บรรดาสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆก็เพื่อส่งเสริมความรักเวียดนาม ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมในไทยโดยไม่แสวงหาผลกำไร

นี่เป็นครั้งที่ 4 ที่คุณโด๋ถิทวี๊หั่ง นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมนี้ เธอเผยว่า

“ดิฉันต่างเข้าร่วมกิจกรรมฉลองตรุษเต๊ตของศูนย์ VLK เป็นประจำทุกปี เพราะกิจกรรมต่างๆน่าสนใจมาก ซึ่งดิฉันได้กินอาหารเวียดนามในช่วงตรุษเต๊ต  ช่วยคลายความคิดถึงบ้านและนี่ก็เป็นโอกาสเพื่อให้ดิฉันเล่าเรื่องราวต่างๆ เชื่อมโยมกับเพื่อนชาวเวียดนามที่อาศัยในไทยมากขึ้น”

ศูนย์ภาษาและความรู้เวียดนาม  - จุดประกายความรักภาษาและวัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 2ครูโด๋ทวี๊ห่า ผู้ก่อตั้งศูนย์ฯ
นอกจากเทศกาลตรุษเต๊ต การจัดกิจกรรมต่างๆในโอกาสเทศกาลวูลานหรือเทศกาลแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ พิธีสวดมนต์ที่วัดเวียดนามต่างๆในกรุงเทพฯก็เป็นกิจกรรมที่ทางศูนย์ฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2009 ครูโด๋ทวี๊ห่า เผยว่า

“เมื่อรู้ว่า ที่ประเทศไทย มีวัดเวียดนามหลายแห่งที่มีอายุกว่า 200 ปี ดิฉันมีความประสงค์ว่า จะแนะนำวัดเวียดนามให้แก่ชมรมชาวเวียดนามในประเทศไทย  แนะนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเวียดนาม โดยเฉพาะงานเทศกาลวูลานให้แก่ชาวไทยเพื่อให้ทราบว่า ที่ไทยมีวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม ส่วนเวียดนามก็มีเทศกาลวูลาน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 7 ตามจันทรคติเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ”

คุณ วังนคร  พลโลก จากจังหวัดนครพนม ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามและคุณโด๋ถิทวีหั่ง นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า

สำหรับวันแม่ที่ประเทศไทยเป็นวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี วันนี้ก็เป็นวันที่ครอบครัวกลับไปหาพ่อแม่  สำคัญก็คือหาแม่ที่ให้กำเนิดเรา ให้เราได้เกิดมา เราจะกลับมาตอบแทนพระคุณท่าน ซึ่งปรกติ เราทำอยู่แล้วทุกวัน เป็นประจำตลอด แต่จะมีวันนี้ที่ให้เกิดขึ้นมา เราจะเป็นการจัดกิจกรรมโดยเฉพาะเพื่อแม่ ส่วนของเวียดนามก็เหมือนแบบการเป็นจัดกิจกรรมที่คล้ายๆกัน   ประเทศเราเป็นประเทศอาเซียน วัฒนธรรมหลายอย่างที่ประเทศเวียดนาม คล้ายๆกัน ไม่ต่างกันมาก”

“ ตอนอยู่ที่เวียดนาม ดิฉันยังไม่เข้าใจความหมายของเทศกาลวูลานและไม่เคยเข้าร่วมงานนี้ ดิฉันรู้แค่ว่า นี่เป็นเกียรติประวัติที่ดีงามของชาวเวียดนาม ดิฉันอยู่ที่เมืองไทย 4 ปีครึ่ง ดิฉันเข้าร่วมงานเทศกาลวูลานที่จัดโดยศูนย์ VLK ทุกปี ซึ่งช่วยให้ดิฉันมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีอันดีงามนี้”

นอกจากการจัดกิจกรรมแนะนำวัฒนธรรมเวียดนามต่อเพื่อนมิตรชาวไทย ศูนย์VLK ยังจัดการฝึกอบรมภาษาและวัฒนธรรมเวียดนามในระยะสั้นให้แก่เจ้าหน้าที่และพนักงานของสถานประกอบการไทยก่อนที่พวกเขามาทำงานในเวียดนาม เช่น กลุ่มบริษัทเอสซีจี บริษัทน้ำมันปิโตรเลียมไทย จำกัดและกลุ่มบริษัทอมตะ  ซึ่งรายได้จากกิจกรรมนี้จะใช้เพื่อจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมเวียดนาม เช่น วันชาติเวียดนามในไทย งานเทศกาลตรุษเต๊ต กิจกรรมการกุศลในโรงเรียนต่างๆในเขตที่ห่างไกลความเจริญของไทย

ในช่วงนี้ โลกกำลังฟื้นฟูหลังวิกฤตโควิด -19 ศูนย์ VLK จึงได้จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเชื่อมโยงระหว่างชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามในไทย แม้งานยุ่งมากแต่ครูทวี๊ห่าและสมาชิกของศูนย์ฯต่างมีความประสงค์ว่า จะเปิดชั้นเรียนสอนภาษาเวียดนามให้แก่นักเรียนที่มีพ่อหรือแม่เป็นชาวไทย เกิดที่เมืองไทย ไม่มีโอกาสเรียนภาษาและศึกษาวัฒนธรรมเวียดนาม นอกจากนี้ ศูนย์VLK ยังมีแผนการปฏิบัติหลายโครงการเพื่อจุดประกายความรักภาษาเวียดนามและวัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทยอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด