แหล่งประวัติศาสตร์ บั๊กเซิน ความภาคภูมิใจของประชาชนจังหวัดหลางเซิน
Lê Phương -  
(VOVWORLD) -การลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ บั๊กเซิน (Bắc Sơn) เมื่อวันที่ 27 กันยายนปี 1940 เป็นเหตุการณ์ที่มีความหมายยิ่งใหญ่ต่อประวัติศาสตร์ของประชาชาติเวียดนาม เป็นสัญลักษณ์ที่แจ่มจรัสแห่งความรักชาติ แห่งจิตใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของกองทัพและประชาชนบั๊กเซินและของชาวเวียดนามทั้งปวง โดยสถานที่ต่างๆที่ผูกพันกับการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ บั๊กเซิน ได้กลายเป็นแหล่งประวัติศาสตร์แห่งการลุกขึ้นสู้ บั๊กเซิน ที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศรับรองขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งประวัติศาสตร์พิเศษแห่งชาติเมื่อปี2016
|
แหล่งประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้ บั๊กเซิน มีคุณค่าและมีความหมายสำคัญในระบบแหล่งประวัติศาสตร์การทหารและการปฏิวัติเวียดนาม เป็นสถานที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น กระบวนการศึกษาแนวทางการปฏิวัติ และการให้กำเนิดองค์กรพรรคแรกในเขต บั๊กเซิน (1930 - 1936) การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิการดำรงชีพ สิทธิแห่งประชาธิปไตย และการจัดตั้งคณะกรรมการพรรคอำเภอ บั๊กเซิน (1936 - 1939) การลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ บั๊กเซิน เมื่อวันที่ 27 กันยายนปี 1940 - จุดเริ่มต้นของกระบวนการต่อสู้ปฏิวัติทั่วประเทศ การจัดตั้งฐานที่มั่นกองทหารบ้าน บั๊กเซิน การก่อตั้งแนวรบเวียดมินห์เพื่อเตรียมกองกำลังสำหรับการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ ขบวนการต่อต้านฟาสซิสต์ญี่ปุ่นเพื่อปกป้องประเทศและการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่เพื่อยึดอำนาจรัฐในปี1945 คุณ เยืองห่งแหง รองหัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรมและข้อมูล อำเภอบั๊กเซิน กล่าวว่า "ในสงครามต่อต้านนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสเพื่อกู้ชาติ ประชาชนชนเผ่าต่างๆในอำเภอบั๊กเซินได้ส่งเสริมความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมสนับสนุนทุนทรัพย์ ให้แก่ขบวนการปฏิวัติ อันเป็นการมีส่วนร่วมต่อภารกิจการปลดปล่อยท้องถิ่นและประเทศ"
แหล่งประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้ บั๊กเซิน ได้รับการจัดตั้งเพื่อเป็นฐานที่มั่นสำหรับการซ่อนตัวและปกป้องบุคคลสำคัญ ปกป้องหน่วยงานต่างๆของส่วนกลางในช่วงเคลื่อนไหวปฏิวัติให้ปลอดภัย เป็นจุดตั้งสถานีสื่อสารที่ทำหน้าที่ติดต่อรับส่งคำสั่งระหว่างส่วนกลางกับคณะกรรมการพรรคภาคเหนือและเขตอื่นๆ
แหล่งประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้ บั๊กเซิน ประกอบด้วยโบราณสถาน 12 แห่ง เช่น หมอตาด เนินเขานาแคว ศาลานงหลุก ป้อมหมอยาย โรงเรียน วูลาง สาขาว ขวยน้อย ช่องเขาตามแกง เป็นต้น ซึ่งตั้งกระจายตามพื้นที่ของ 6 ตำบลในอำเภอบั๊กเซิน โดยเฉพาะศาลานงหลุก ซึ่ง ณ สถานที่แห่งนี้ได้มีการจัดประชุมเพื่อตัดสินใจเปิดการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ บั๊กเซิน โดยศาลานงหลุกก่อสร้างในพื้นที่เนินสูง มีสถาปัตยกรรมแบบบ้านไม้ยกพื้น เป็นสถานที่บูชาเทพ กาวเซินกวี๊มินห์ ห่างจากนั้นไม่ไกลคือป้อมหมอยาย ซึ่งเป็นเป้าหมายโจมตีของกองกำลังลุกขึ้นสู้ในคืนวันที่ 27 กันยายนปี 1940 เพราะจุดนี้เสมือนกำแพงที่ขวางเส้นทางคมนาคมจากตัวเมืองบั๊กเซินไปยังตำบล เจิ้นเอียนและหวุลัง โดยกองทัพฝรั่งเศสได้ก่อสร้างป้อมปราการและบ้านเรือนที่มั่นคงบนยอดเนินที่สะท้อนผ่านร่องรอยของฐานรากของบ้านที่สร้างด้วยหิน ขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูง 1.5เมตร ส่วนทางทิศเหนือของป้อม หมอยาย จะเป็นอนุสาวรีย์ชัยชนะหมอยาย คุณหว่างถิจิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมของตำบลฮึงหวู อำเภอ บั๊กเซิน เผยว่า " จากป้อมหมอยาย กองทัพฝรั่งเศส สามารถสังเกตุสถานการณ์ของพื้นที่ 4 ตำบลจึงสามารถควบคุมกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆที่เกิดขึ้นและเป็นเหมือนกำแพงกั้นเส้นทางหลักจากบั๊กเซินไปยังตำบลต่างๆที่อยู่รอบๆ"
ศาลา นงหลุก (Dương Doãn Tuấn)
|
ณ สถานที่ประวัติศาสตร์ ขวยนอย ตั้งอยู่กลางป่า เติมเติว ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงตระหง่านที่อุดมสมบูรณ์มีการจัดตั้งกองกำลังกู้ชาติบั๊กเซิน ซึ่งเป็นหนึ่งในกองกำลังติดอาวุธหน่วยแรกของกองทัพประชาชนเวียดนาม ปัจจุบันนี้ ยังเหลือร่องรอยที่เป็นจุดตั้งฐานที่มั่นและลานฝึกซ้อมของกองกำลังกู้ชาติในอดีต คุณฮาทูเฟือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมตำบล หวูเล อำเภอบั๊กเซิน เผยว่า " ณ ที่มั่นนี้ นาย หว่างวันถุได้มอบธงแดงดาวเหลืองของสมาคมสตรีต่อสู้ของฮานอยที่มีลายปักคำว่า ขอมอบให้แก่หน่วยจรยุทธ์บั๊กเซิน ให้แก่กองกำลังกู้ชาติบั๊กเซิน และใต้ร่มธงผืนนี้ นาย เลืองวันตรี หัวหน้าหน่วยจรยุทธ์บั๊กเซินได้อ่านคำสาบานอันศักดิ์สิทธิ์"
ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์การลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่บั๊กเซินเป็นแหล่งเก็บรักษาสิ่งของวัตถุอันล้ำค่าที่เกี่ยวข้องกับการลุกขึ้นต่อสู้ของประชาชนบั๊กเซินกว่า 110 ชิ้น เช่น อาวุธที่ชาวบ้านใช้ในสมัยนั้น สิ่งของที่ประชาชนใช้เพื่อการปกป้องความลับและรักษาความปลอดภัยให้แก่นักปฏิวัติ สิ่งของในชีวิตประจำวันและอาวุธของกองกำลังจรยุทธ์บั๊กเซิน รวมถึงสิ่งของวัตถุที่มีค่าเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวปฏิวัติของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากส่วนกลางที่เคยมาทำการเคลื่อนไหวที่บั๊กเซิน ซึ่งปัจจุบันนี้แหล่งประวัติศาสตร์ต่างๆในบั๊กเซินถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวหลางเซินและชาวเวียดนามทั้งประเทศ./.
Lê Phương