การใฝ่การศึกษาคือเกียรติประวัติทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านหว่องเหงวียต
To Tuan – VOV5 -  
( VOVworld )-หมู่บ้านหว่องเหงวียตตั้งอยู่ริมแม่น้ำเกิ่ว ตำบลตามยาง อำเภอเอียนฟอง จังหวัดบั๊กนิงห์ไม่เพียงแต่ขึ้นชื่อด้วยอาชีพเลี้ยงไหม สาวไหมและทอผ้าไหมมาแต่โบราณเท่านั้น หากยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายจากเกียรติประวัติใฝ่การศึกษาหาความรู้ ซึ่งได้รับการสืบทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้จากชาวบ้านรุ่นแล้วรุ่นเล่า
( VOVworld )-หมู่บ้านหว่องเหงวียตตั้งอยู่ริมแม่น้ำเกิ่ว ตำบลตามยาง อำเภอเอียนฟอง จังหวัดบั๊กนิงห์ไม่เพียงแต่ขึ้นชื่อด้วยอาชีพเลี้ยงไหม สาวไหมและทอผ้าไหมมาแต่โบราณเท่านั้น หากยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายจากเกียรติประวัติใฝ่การศึกษาหาความรู้ ซึ่งได้รับการสืบทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้จากชาวบ้านรุ่นแล้วรุ่นเล่า
|
หมู่บ้านหว่องเหงวียต ( Bac Ninh online ) |
หมู่บ้านหว่องเหงวียตเป็นหมู่บ้านโบราณที่ประกอบอาชีพหัตถกรรมพื้นเมืองคือ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหมและทอผ้ามาแต่โบราณ ซึ่งชื่อหว่องเหงวียตนั้นมีความหมายว่า ชมพระจันทร์ หมู่บ้านศิลปาชีพหว่องเหงวียตไม่เพียงแต่ทำผ้าไหมและผ้าแพรที่ประณีตสวยงามที่ขึ้นชื่อทั่วประเทศเท่านั้น หากยังรู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นแหล่งผลิตผู้สำเร็จการศึกษาระดับสูงถึงจอหงวน สมัยศักดินา ที่หมู่บ้านหว่องเหงวียตมีหลายตระกูลที่มีลูหลานสำเร็จการศึกษาระดับสูง ซึ่งโดดเด่นคือ ตระกูลโงที่มีผู้สอบได้จอหงวนถึง ๕ ชั่วคน หนังสือประวัติศาสตร์ของประเทศระบุว่า หมู่บ้านหว่องเหงวียตมีจอหงวนถึง ๘ ท่านได้รับการจารึกชื่อบนแผ่นศิลาที่วันเหมียว-ก๊วกตื่อย้าม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ในสมัยราชวงศ์เหงวียนมีจัดการสอบสำเร็จการศึกษาตั้งงแต่ระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไปถึง ๔๕ ครั้ง และหมู่บ้านหว่องเหงวียตมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีถึง ๒๐ ท่าน เกียรติประวัติการศึกษาใฝ่หาความรู้ของหมู่บ้านหว่องเหงวียตยังได้รับการสืบสานต่อไปจากรุ่นสู่รุ่นจนปัจจุบันจนมีผู้ที่มีความสามารถจำนวนมากรับใช้ประเทศไม่ว่าจะเป็นดร. ศาสตราจารย์และนายทหารผู้ปรีชาสามารถหลายๆนาย นายจูกวางต๊วน ชาวบ้านหว่องเหวียตมีลูกสาว ๒ คนที่เรียนดีคุยกับพวกเราว่า “ ผมเป็นทหารปลดประจำการ ภรรยาของผมเป็นครู ครอบครัวของเรายากจนต้องหาอาชีพเสริมคือช่างเคาะและเชื่อมโลหะ เพื่อหาเงินส่งเสียให้ลูกเรียน มีความลำบากมากเพราะผมป่วย แต่ก็พยายามเลี้ยงดูลูกให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ”
|
คุณยายตากไหม ( Vietpicture online ) |
ปัจจุบัน ครอบครัวของนายต๊วนมีฐานะดีขึ้น ลูกๆเป็นคนดีและทำประโยชน์ต่อสังคม คุณจูถิ่เหวี่ยน ลูกสาวของนายต๊วนเป็นครูที่มีชื่อเสียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอียนฟองของจังหวัด คุยกับพวกเราว่า “ คุณพ่อและคุณแม่เลี้ยงดูเราสองพี่น้องเป็นอย่างดีตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ท่านทั้งหลายส่งเสริมให้กำลังใจพวกเราในการศึกษาเล่าเรียนเพื่ออนาคตอันสดใส เราทั้งสองต้องหมั่นการศึกษาเล่าเรียนเพื่อตอบแทนบุญคุณและมอบความสุขให้แก่พ่อและแม่ คำสั่งสอนของท่านทั้งสองดีมาก ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้กำลังใจพวกเราในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆในชีวิตเพื่อไปถึงจุดมุ่งหมาย ”
ครอบครัวนายโงวันหางที่ยากจนแต่ลูกหลานทุกคนก็ได้เรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆเพราะเขาได้ส่งเสริมให้ลูกหลานสืบสานเกียรติประวัติของตระกูลในการใฝ่การศึกษาหาความรู้และมีหลายคนได้สำเร็จการศึกษาระดับสูง นายโงเผยว่า แม้ครอบครัวของเขายังไม่มีสตางค์พอแต่ก็พยายามทำมาหากินและเก็บหอมรอมริบเพื่อส่งเสียให้ลูก ทั้งนี้ก็เพื่ออนุรักษ์เกียรติประวัติของตระกูลและเป็นความปรารถนาของลูกๆด้วย
|
ครูเลแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาของหมู่บ้าน ( CAND online ) |
เรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างฐานะด้วยการศึกษาเล่าเรียนได้กลายเป็นพลังกระตุ้นทุกครอบครัวในหมู่บ้านหว่องเหงวียตจนกลายเป็นขบวนการและความภาคภูมิใจนับแต่นั้นมาได้เกิดการแข่งขันระหว่างตระกูลต่างๆจนประสบประสิทธิภาพ นายเหงวียนวันเหล นายกสมาคมส่งเสริมการศึกษาของหมู่บ้านหว่องเหงวียตเผยว่า “ แต่ละตำบลจะจัดตั้งสภาศึกษาของตน โดยเน้นในการสร้างระเบียบวินัยในการศึกษาให้แก่เด็กๆ สิ่งที่น่าสนใจคือ ทางตำบลได้เปิดขบวนการแข่งขันในการศึกษาที่มีชื่อว่า เสียงระฆังเพื่อการเรียนช่วงค่ำ โดยตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน คศ.๑๙๙๙ เป็นต้นมา เสียงระฆังเพื่อการเรียนช่วงค่ำได้กระจายผ่านระบบเสียงตามสาย โดยในฤดูหนาวเสียงระฆังจะดังขึ้นเวลาหนึ่งทุ่มส่วนในฤดูร้อนดังขึ้นเวลาทุ่มครึ่ง ส่วนทางสมาคมส่งเสริมการศึกษาและสมาคมผู้ปกครองของตำบลจะส่งคนไปตรวจที่บ้านเพื่อส่งเสริมเด็กในการเรียน ”
ขบวนการ “ เสียงระฆังเพื่อการเรียนช่วงค่ำ ”ได้ช่วยส่งเสริมให้ลูกหลานของหมู่บ้านหว่องเหงวียนศึกษาเรียนรู้จนได้ประสบผลเป็นที่น่ายินดี เด็กๆหลายคนสอบติดมหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทหรือดร.ก็มีไม่น้อย สมกับที่ได้ฉายาว่า หมู่บ้านมหาวิทยาลัยริมแม่น้ำเกิ่ว การใฝ่การศึกษาหาความรู้คือเอกลักษณ์อันดีงามของหมู่บ้านชนบทเวียดนามที่ได้สืบทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้ ./.
To Tuan – VOV5