งานเทศกาลหมู่บ้านสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของอารยธรรมข้าวนาดำ

(VOVWORLD) - เวียดนามเป็นประเทศเกษตรกรรม ถือข้าวเป็นอาหารที่สำคัญและมีการปลูกข้าวนาดำมานาน ดังนั้นตามหมู่บ้านและพื้นที่ทุกแห่งในทั่วประเทศเวียดนามต่างมีตำนานและเทศกาลเฉพาะ พร้อมขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเกษตร เช่น งานบุญข้าวใหม่ พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าที่ดูแลการเกษตรและพิธีบวงสรวงเทวดาฟ้าดินเพื่อขอบคุณฟ้าดินที่ช่วยบันดาลให้ชาวบ้านการเก็บเกี่ยวได้ผลดี ซึ่งงานเทศกาลต่างๆล้วนแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของชาวบ้านในการขอพรให้ฝนฟ้าที่ตกต้องตามฤดูกาล การเก็บเกี่ยวได้ผลดีและชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก

งานเทศกาลหมู่บ้านสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของอารยธรรมข้าวนาดำ - ảnh 1ภาพขบวนแห่เกี้ยวในงานเทศกาลจื๋อด่งตื๋อ-เตียนยุง (sovhttdl.hungyen.gov.vn)

งานเทศกาลตามหมู่บ้านต่างๆในเขตชนบทของเวียดนามส่วนใหญ่ได้รับการจัดขึ้นในช่วงต้นปีใหม่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการประสานระหว่างฟ้าดิน ธรรมชาติเจริญงอกงามและประชาชนมีความหวังในสิ่งดีๆ โดยมีการจัดพิธีกรรมอันศักดิสิทธิ์และกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ เช่น พิธีบวงสรวงเทวดาฟ้าดิน ขบวนแห่เกี้ยว การร้องเพลงเพื้นเมือง และการละเล่นต่างๆ

งานเทศกาลจื๋อด่งตื๋อ-เตียนยุงได้รับการจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 10 – 12 เดือนสองตามจันทรคติ ณ ตำบลหยะแจก อำเภอคว้ายโจว์ จังหวัดฮึงเอียน สำหรับงานเทศกาลนี้เกี่ยวข้องกับตำนานของเทพจื๋อด่งตื๋อและเตียนยุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณต่อเทพจื๋อด่งตื๋อที่มีคุณูปการในการบุกเบิก สร้างสรรค์หมู่บ้านและนำชีวิตที่อิ่มหนำผาสุกมาให้แก่ชาวบ้าน โดยชาวบ้านทุกคนต่างเข้าร่วมการเตรียมความพร้อมให้แก่งานเทศกาล เช่น เด็กๆรับหน้าที่แสดงการเชิดสิงโตและเข้าร่วมขบวนแห่เกี้ยว ผู้สูงอายุจะเข้าร่วมพิธีบวงสรวงเทวดาฟ้าดิน เป็นต้น ซึ่งงานเทศกาลจื๋อด่งตื๋อ-เตียนยุงจะเริ่มขึ้นด้วยขบวนแห่เกี้ยวจากวิหารหยะแจกไปยังแม่น้ำห่ง หรือ แม่น้ำแดงเพื่อเอาน้ำจากแม่น้ำห่งไปทำพิธีสรงน้ำเทพ โดยในขบวนเริ่มต้นด้วยขบวนเชิดสิงโต ซึ่งเป็นตัวแทนของความปรารถนาของชาวบ้านเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น ต่อจากนั้นคือเกี้ยวแห่เทพ ไหน้ำ และรูปแกะสลักไม้ปลาเปลี่ยนร่างเป็นมังกรที่ระบายด้วยสีแดงและปิดทองเพื่อแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของชาวท้องถิ่นให้มีคลื่นลมสงบเพื่อการประมง นาย เหงวียนฮึวบ่น ชาวบ้านตำบลหยะแจกได้เผยว่า“งานเทศกาลนี้ แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของประชาชนทุกคนในการควบคุม ธรรมชาติและการสำนึกในบุญคุณต่อเทพเจ้าที่มีคุณูปการในการสอนชาวบ้านปลูกข้าวนาดำ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี”

งานเทศกาลหมู่บ้านสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของอารยธรรมข้าวนาดำ - ảnh 2การเชิดสิงโตในงานเทศกาลจื๋อด่งตื๋อ-เตียนยุง (tuyengiaohungyen.vn

พิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆในงานเทศกาลจื๋อด่งตื๋อ-เตียนยุง เช่น การแห่เกี้ยวมังกร แห่ปลา แห่ไหน้ำต่างเกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตเกษตร โดยชาวบ้านเชื่อว่า ถ้าหากการเอาน้ำจากแม่น้ำห่งไปทำพิธีสรงน้ำเทพดำเนินไปอย่างราบรื่นก็จะทำให้การเก็บเกี่ยวปีนั้นได้ผลดี ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านความเลื่อมใสของชาวประมงในเขตที่มีอารยธรรมข้าวนาดำริมแม่น้ำห่ง

ส่วนงานเทศกาลแย่งลูกบอลไม้กลางสนามโคลน ที่ หมู่บ้านเวิน ซึ่งปัจจุบันคือหมู่บ้านเอียนเวียน ตำบลเวินห่า อำเภอเหวียดเอียน จังหวัดบั๊กยางมีขึ้นในระหว่างวันที่ 12- 14 เดือน 4 ตามจันทรคติ โดยมีผู้ชายที่มีร่างกายแข็งแรง 16 คนที่นุ่งผ้าเตี่ยว แบ่งเป็น 2 ทีมทำการแข่งแย่งบอลกลางสนามโคลน นาง เหงวียนถิเฮวียน ชาวบ้านหมู่บ้านเวินได้เผยว่า“ลูกบอลในงานหมายถึงพระอาทิตย์ ซึ่งถูกโยนตามทิศที่พระอาทิตย์ขึ้นและตก ใครสามารถแย่งบอลได้ก็หมายความว่า สามารถแย่งแสงแดดที่เอื้อให้แก่การปลูกข้าว”

ก็เหมือนงานเทศกาลจื๋อด่งตื๋อ-เตียนยุง งานเทศกาลแย่งลูกบอลไม้ ที่ หมู่บ้านเวินเป็นการขอพรให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี

งานเทศกาลหมู่บ้านสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของอารยธรรมข้าวนาดำ - ảnh 3ภาพ งานเทศกาลแย่งลูกบอลไม้ท่ามกลางโคลน ที่ หมู่บ้านเวิน

ส่วนที่หมู่บ้านก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือเขตฟองก๊ก อำเภอเมืองกว๋างเอียน อำเภอกว๋างนิง จังหวัดกว๋างนิง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเขตปลูกข้าวนาดำที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือเวียดนาม ยังคงมีการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมเชิงจิตวิญญาณ เช่น งานเตียนกง หรือ พิธีอวยพรผู้หลักผู้ใหญ่ในตระกูล ปู่ย่าตายายและพ่อแม่ให้มีอายุยืนยาว เทศกาลแบกดั่งยางโดยเฉพาะงาน hạ điền หรือเทศกาลแรกนาขวัญ ซึ่งได้รับการจัดขึ้นในช่วงต้นเดือน 6 ตามจันทรคติก่อนฤดูกาลผลิตใหม่ คุณลุงด่าวดึ๊กเตว อาศัยที่หมู่บ้านก๊กได้เผยว่า“เขตชนบทที่นี่อยู่ริมฝั่งทะเล ไม่เอื้อให้แก่การทำเกษตร ดังนั้นเกษตรกรจึงมีความเชื่อและทำพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าที่ดูแลการเกษตร          และเทศกาลแรกนาขวัญเพื่อเป็นการเริ่มต้นให้แก่ฤดูกาลผลิตใหม่”

ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า งานเทศกาลหมู่บ้านคือคลังวัฒนธรรมที่หลากหลาย สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรม วิถีชีวิตและกิจกรรมวัฒนธรรมของประชาชนในหมู่บ้าน อีกทั้งสะท้อนความเลื่อมใสของชาวบ้านและชีวิตทางจิตวิญญาณอย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนในท้องถิ่นและหมู่บ้านต่างๆของเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด