จังหวัดกว๋างนิงใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

(VOVWORLD) -วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีค่าเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว จากการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงจากทิวทัศน์ธรรมชาติที่น่าประทับใจ จังหวัดกว๋างนิงได้กำหนดแนวทางใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นและเกียรติประวัติต่างๆเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

 
 
จังหวัดกว๋างนิงใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน - ảnh 1สาวเผ่าซ้านจี๋ในชุดแต่งกายพื้นเมือง เล่นบอล 

นาย Simon Tantey ชาวอังกฤษที่อาศัยและทำงานในจังหวัดกว๋างนิงเคยมีโอกาสเดินทางไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น อ่าวฮาลองและภูเอียนตื๋อ แต่เขารู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมากในการไปเที่ยวอำเภอชายแดนบิ่งเลียว ซึ่งที่นี่ไม่เพียงแต่มีภูเขาและน้ำตกที่แสนสวยงามและโรแมนติกเท่านั้น หากสิ่งที่สร้างความประทับใจให้แก่นาย Simon Tantey คือการเล่นบอลของสาวเผ่าซ้านจี๋ในชุดแต่งกายพื้นเมือง การละเล่นพื้นเมืองต่างๆในงานเทศกาลร้องเพลงซ้องเกาะในวันที่ 15 เดือน 3 ตามจันทรคติทุกปี นาย Simon Tantey กล่าวว่า

“ ผมรู้สึกแปลกใจมากเมื่อเห็นสาวในชุดแต่งกายพื้นเมืองเล่นบอลพร้อมรอยยิ้ม ซึ่งน่าสนใจมาก งานเทศกาลมีความคึกคักและหลากหลายสีสันวัฒนธรรม  ส่วนผู้คนก็เป็นมิตร”

บิ่งเลียวเป็นอำเภอที่มีประชากรร้อยละ 98 เป็นชนกลุ่มน้อย ในหลายปีที่ผ่านมา ที่นี่ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตเขาตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าไต เย้าแทงฟ้าน  เย้าแทงอีและซ้านจี๋ได้กลายเป็นจุดแข็งเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวผสานกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม  งานเทศกาลต่างๆ เช่น งานเทศกาลร้องเพลงซ้องเกาะเดือนสามตามจันทรคติของชาวเผ่าซ้านจี๋  เทศกาลฤดูทองที่จัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เป็นต้น ซึ่งได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศให้มาเยือน สร้างเครื่องหมายการค้าการท่องเที่ยวให้แก่การท่องเที่ยวบิ่งเลียว

จังหวัดกว๋างนิงใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน - ảnh 2นักท่องเที่ยวต่างชาติค้นคว้าชีวิตประขำวันของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกว๋างนิง  

ท้องถิ่นใกล้เคียงหลายแห่งในทิศตะวันออกของจังหวัดกว๋างนิง เช่น เตียนเอียน เดิ่มห่า และเมืองม้องก๊ายที่มีความคล้ายคลึงในด้านวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆกำลังกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีการเข้าร่วมของประชาชนในท้องถิ่นและจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและเจ้าหน้าที่พนักงานใส่ชุดชนเผ่า  เปิดชั้นเรียนและสโมสรเพื่อให้ศิลปินต่างๆสอนการร้องเพลงและอาชีพพื้นเมืองให้แก่คนรุ่นใหม่ นาย จากอาถิ่น ชาวตำบลฮุกดง อำเภอบิ่งเลียวได้เผยว่า การร้องเพลงซ้องเกาะของชาวเผ่าซ้านจี่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

โบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกว่า 600 แห่ง มรดกวัฒนธรรมนามธรรมนับร้อยรายการ รวมทั้ง โบราณสถานระดับชาติพิเศษ 6 แห่ง เช่น อ่าวฮาลอง เขตโบราณสถานประวัติศาสตร์และภูเอียนตื๋อ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์วิหารเกื่อโองและอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์บนเกาะโกโต  เป็นต้น เป็นสมบัติอันล้ำค่าของจังหวัดกว๋างนิง  แต่ละปี ในงานเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ มีนักท่องเที่ยวนับร้อยล้านคนมาเยือนสถานที่ทางวัฒนธรรม จิตวิญญาณและโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น แม้การใช้ประโยชน์จากจุดแข็งยังไม่สมกับศักยภาพที่มี แต่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมในจังหวัดกว๋างนิงได้รับการผลักดัน ที่เขตโบราณสถานประวัติศาสตร์และภูเอียนตื๋อ นักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่มาเข้าร่วมงานเทศกาลต่างๆเท่านั้น หากยังมาสัมผัสกับงานเทศกาลของหมู่บ้าน ศึกษาวิธีการทำงอบและภาพพื้นเมืองดงโห่ เป็นต้น  นาย เลจ่องแทง รองผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนพัฒนาตุ่งเลิมได้เผยว่า

“พวกเราเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวผ่านคุณค่าทางจิตวิญญาณ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์และธรรมชาติของภูเอียนตื่อรวมถึงคนในพื้นที่  ซึ่งกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆมีส่วนร่วมสดุดีคุณค่าของเอียนตื่อ”

ปัจจุบัน การท่องเที่ยวแบบค้นคว้าวัฒนธรรมพื้นเมืองกำลังได้รับความสนใจ ดังนั้น การลงทุนเพื่อส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมของแต่ละผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สร้างเครื่องหมายการท่องเที่ยวให้แก่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและพักผ่อนในเมืองฮาลองและเวินด่นแล้ว จังหวัดกว๋างนิงกำหนดแนวทางการพัฒนาเขตอวงบี๊ ดงเจี่ยว กว๋างเอียนให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ จิตวิญญาณและนิเวศ พัฒนาเขตบิ่งเลียว บาแจ๋ เตียนเอียน เดิ่มห่า หายห่าและม้องก๊ายให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและค้นคว้าวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆ  ซึ่งเป็นพื้นฐานเพื่อขยายผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกว๋างนิง โดยตั้งเป้าหมายต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 9.5 ล้านคนในปี 2022.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด