ศิลปะการแสดงร้องและรำบ่าจ่าวของชาวประมงบิ่นห์เซิน-กว่างหงาย
Minh Ly-VOV5 -  
( VOVworld )-ประเพณีการร้องและรำบ่าจ่าวของชาวประมงริมฝั่งทะเลภาคกลางตอนใต้ประเทศเวียดนามมักจะมีขึ้นในพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ปลาโองหรือปลาวาฬในวันขึ้น ๑๕ค่ำเดือนสองและวันสาทไหว้พระจันทร์เพื่อขอให้ประเทศมีสันติภาพ ประชาชนได้อยู่ในความสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การออกทะเลทำประมงได้ผลดีและปลอดภัย บ่าจ่าวเป็นศิลปะการร้องและรำพื้นบ้าน ซึ่งคำว่าบ่าจ่าวนั้หมายถึงฝีพาย เมื่อเร็วๆนี้ คณะบ่าจ่าวของตำบลบิ่นห์ถ่วน อำเภอบิ่นห์เซิน จังหวัดกว่างหงายได้แสดง ณ กรุงฮานอยเป็นเวลาสองวันเพื่อเผยแพร่ศิลปะพื้นเมืองแขนงนี้สู่สายตาชาวนครหลวง
( VOVworld )-
ประเพณีการร้องและรำบ่าจ่าวของชาวประมงริมฝั่งทะเลภาคกลางตอนใต้ประเทศเวียดนามมักจะมีขึ้นในพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ปลาโองหรือปลาวาฬในวันขึ้น ๑๕ค่ำเดือนสองและวันสารทไหว้พระจันทร์เพื่อขอให้ประเทศมีสันติภาพ ประชาชนได้อยู่ในความสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การออกทะเลทำประมงได้ผลดีและปลอดภัย บ่าจ่าวเป็นศิลปะการร้องและรำพื้นบ้าน ซึ่งคำว่าบ่าจ่าวนั้หมายถึงฝีพาย เมื่อเร็วๆนี้ คณะบ่าจ่าวของตำบลบิ่นห์ถ่วน อำเภอบิ่นห์เซิน จังหวัดกว่างหงายได้แสดง ณ กรุงฮานอยเป็นเวลาสองวันเพื่อเผยแพร่ศิลปะพื้นเมืองแขนงนี้สู่สายตาชาวนครหลวง
คณะบ่าจ่าวกว่างนามแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์
การแสดงบ่าจ่าวมีขึ้นเมื่อเวลา ๑๐ โมงเช้าในวันหนึ่งของฤดูไม้ผลัดใบในบริเวณกลางแจ้งของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม นักแสดงชาย ๑๑ คนยืนเรียงสามแถวแปรขบวนเป็นรูปเรือพาย โดยแถวสองข้างแต่ละแถวมี ๔ ฝีพายที่สวมชุดสีเขียวชายแขนเสื้อและชายกางเกนสีแดง ศรีษะโพกผ้าสีเหลือง เอวผูกผ้าสีเหลือง ใส่ถุงเท้าสีขาว มือถือไม้พายยาว๑.๒เมตรที่มีลวดลายต่างๆ ส่วนแถวตรงกลางเป็นหัวหน้าเรือ ๓ คนได้แก่โต่งหมุย โต่งควาง และโต่งล้าย ซึ่งหัวหน้าเรือสามคนนี้แต่งกายคล้ายๆกับฝีพายแต่สีสันฉูดฉาดกว่า ผู้ที่สวมบทโต่งหมุยร้องก่อนและโต่งควางกับโต่งล้ายร้องตามพร้อมเสียงดนตรีประกอบที่บันเลงด้วยพิณซออู้ กีต้าร์และพิณน้ำเต้า ส่วนฝีพายร้องตามจังหวะๆและรำพายเรือ นายหวอวันถึกที่สวมบทโต่งหมุยของคณะแสดงบ่าจ่าว ตำบลบิ่นห์ถ่วน อำเภอบิ่นห์เซิน จังหวัดกว่างหงายเปิดเผยว่า “ การร้องบ่าจ่าวเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวประมงภาคกลางตอนใต้เวียดนามที่ได้สืบทอดมารุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่ละปีเมื่อออกทะเลทำการประมง พวกเราจะจัดการร้องบ่าจ่าวเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของปลาโองหรือปลาวาฬที่ได้คุ้มครองชาวประมง การแสดงครั้งนี้เป็นการย้อนอดีตศิลปะการแสดงบ่าจ่าวของบรรพบุรุษ ผมเป็นโต่งหมุยที่ยืนอยู่หัวเรือซึ่งเป็นผู้นำทาง มีหน้าที่แจ้งสิ่งแปลกหรือภูเขา ก่อนออกทะเลจับปลาต้องสำรวจแหล่งปลาเพื่อหาจุดเหวี่ยงแห ”
บรรดาผู้บัญชาเรือ ๓ ท่านดังกล่าว มีสองท่านมีหน้าที่สำคัญคือ โต่งหมุยและโต่งล้ายที่อาวุโสและมีประสบการณ์ ส่วนโต่งควางทำหน้าที่วิดน้ำออกจากเรือจะมีที่วิดน้ำติดที่เอว โต่เทืองยังมีหน้าที่การบริการทุกอย่างบนเรือเช่น อาหารและน้ำมัน โต่งล้ายจะเป็นฝีพายที่ท้ายเรือดังนั้นไม้พายจะใหญ่กว่างของฝีพายอื่นๆ นายเลกวางมินห์ นักแสดงคนหนึ่งของคณะบ่าจ่าวเปิดเผยว่า “ โต่งล้ายมีหน้าที่สูงสุด สวมเสื้อผ้าสีฉูดฉาดกว่าและเป็นผู้บัญชาเรือที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมดแม้โต่หมุยชี้ทางผิด ”
การแสดงบ่าจ่าวใช้เวลาประมาณ ๑-๒ชั่วโมงโดยมีฉากต่างๆตามลำดับดังนี้ พิธีปล่อยขบวนเรือออกทะเลที่ศาลเจ้า การเซ่นไหว้เทพนามห่ายหรือปลาโองเมื่อประสบมรสุมในทะเลเพื่อขอให้การคุ้มครองและคืนความสงบให้แก่ทะเล เทพนามห่ายปรากฎตัวช่วยเรือฝ่าคลื่นลมแรงกลางทะเลให้กลับเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย บทแสดงนี้เป็นต้นฉบับแต่การร้องมีการปรับปรุงตามยุคสมัย นายบุ่ยซุยเหงวียน หัวหน้าคณะแสดงบ่าจ่าวบิ่นห์ถ่วน อำเภอบิ่นห์เซินเปิดเผยเกี่ยวกับการปรับปรุงว่า “ การร้องบ่าจ่าวต้นฉบับไม่มีดนตรีประกอบ คำร้องเป็นคำโบราณที่เป็นภาษาฮั่นส่วนใหญ่ทำให้ไม่เข้าใจดังนั้นพวกเราต้องแต่งคำร้องใหม่ ส่วนการแต่งกายนั้น สมัยโบราณสวมชุดเสื้อยาวสีดำ ส่วนการแต่งกายในปัจจุบันมีสีสันให้ดูสวยงามเท่านั้น ”
ปัจจุบัน ตำบล ๗ แห่งของอำเภอบิ่นห์ เซิน มี ๔ แห่งอนุรักษ์การร้องบ่าจ่าว เฉพาะตำบลบิ่นห์ ถ่วนได้มีการจัดตั้งสโมสรร้องเพลงพื้นบ้านก่อนหน้านี้ ๕ ปีโดยนายเหงวียนเป็นหัวหน้าเพื่ออนุรักษ์ทำนองเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่นซึ่งมีการร้องบ่าจ่าวรวมอยู่ด้วยให้แก่คนรุ่นหลังๆ คณะแสดงการร้องและรำบ่าจ่าวของตำบลบิ่นห์ถ่วนนอกจากแสดงในงานเซ่นไหว้ปลาโองหรือปลาวาฬแล้วก็ยังเข้าร่วมในงานมหกรรมต่างๆทั่วประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์ศิลปะพื้นบ้านบ่าจ่าวของเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางตอนใต้สู่สายตาชาวเวียดนามและชาวต่างประเทศมากขึ้น ./.
Minh Ly-VOV5