กระบวนการโลกาภิวัตน์และก้าวเดินของเอเชียในอนาคต

(VOVWORLD) - การประชุมอนาคตของภูมิภาคเอเชีย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นคือฟอรั่มเพื่อให้บรรดาผู้บริหารและนักวิชาการหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในการพัฒนาเอเชีย โดยที่ประชุมได้เน้นหารือถึงมาตรการแก้ไขความท้าทายของภูมิภาคเอเชียในการผสมผสาน
กระบวนการโลกาภิวัตน์และก้าวเดินของเอเชียในอนาคต - ảnh 1กระบวนการโลกาภิวัตน์และก้าวเดินของเอเชียในอนาคต 

ภูมิภาคเอเชียมีพื้นที่และประชากรมากที่สุดในโลก มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ศาสนาและมีอายุเก่าแก่นับพันปี ซึ่งถือเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้แก่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการปฏิบัติกระบวนการโลกาภิวัตน์ แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการโลกาภิวัตน์ก็สร้างความท้าทายต่างๆ ดังนั้นหัวข้อของการประชุมปีนี้คือ “ลัทธิโลกาภิวัตน์ในกระแสการพัฒนากับก้าวเดินต่อไปของเอเชีย”

เอเชียอยู่แถวหน้าในการผสมผสาน

นับตั้งแต่ปลายปี 2000 ได้มีการเปิดศักราชใหม่แห่งความร่วมมือภายในภูมิภาคเอเชียผ่านการขยายอิทธิพลของจีน การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอระดับภูมิภาคและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความหมายสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอนาคตของเอเชีย  การพัฒนาเอเชียก็คือการพัฒนาของประเทศต่างๆที่มุ่งเน้นการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างลึกซึ้งและเข้มแข็ง อย่างเช่น สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่คล่องตัวที่สุดในโลก สาธารณรัฐเกาหลีในฐานะเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่ 11และจีน - เศรษฐกิจรายใหญ่อันดับ 2 โลกที่สามารถรักษาอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ

ในหลายปีมานี้ ประเทศต่างๆได้ผลักดันการผสมผสานด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งทำให้ข้อตกลงเอฟทีเอต่างๆ เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีและข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP นับวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียมีข้อตกลงการค้าเสรี รวม 150 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 58 ของข้อตกลงเอฟทีเอในโลกและอยู่แถวหน้าในด้านความร่วมมือและการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก โดยที่น่าสนใจคือเมื่อเร็วๆนี้ จีนได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย หรือ AIIB โดยมีประเทศเอเชียและประเทศตะวันตกเข้าร่วม พร้อมทั้งจัดการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ-“ระเบียงและเส้นทาง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของจีนเกี่ยวกับความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย  นอกจากนี้ การพัฒนาของอินเดียคืออีกปัจจัยที่โดดเด่นของเอเชียในหลายปีมานี้ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ การกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกได้ทำให้เกิดความเชื่อมโยงอินเดีย-แปซิฟิก โดยอินเดียได้เริ่มเข้าร่วมกรอบความร่วมมือที่สำคัญๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ฟอรั่มอาเซียน การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออกและการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนขยายวง ส่วนตั้งแต่ปี 1991 อินเดียได้ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าเชิงยุทธศาสตร์กับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายมุ่งสู่ตะวันออกของอินเดีย ปัจจุบัน อาเซียนคือหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับที่ 4 ของอินเดีย รองจากจีน สหภาพยุโรป หรือ อียูและสหรัฐ

ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนก็ผลักดันความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการผสมผสานด้านการค้าและความเชื่อมโยงในภูมิภาค ความร่วมมือภายในกลุ่มอาเซียนไม่เพียงแต่ช่วยยกเลิกกำแพงระหว่างประเทศในกลุ่มเท่านั้น หากยังช่วยให้แต่ละประเทศพัฒนาและขยายอิทธิพลของกลุ่มอีกด้วย ปัจจุบัน อาเซียนเป็นเขตส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 7 ของมูลค่าการส่งออกโลก ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือและการเชื่อมโยงในภูมิภาคได้มีส่วนร่วมผลักดันการขยายตัวด้านเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่งเสริมความเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นๆ

การเผชิญกับความท้าทายต่างๆ

แต่อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากศักยภาพและโอกาสการพัฒนา ก็ยังมีความท้าทายและภัยคุกคามต่างๆ โดยปัญหาการพิพาทด้านดินแดนและปัญหาลัทธิชาตินิยมที่เพิ่มมากขึ้นถือเป็นภัยคุกคามต่อการผสมผสานเข้ากับภูมิภาค รวมทั้งภัยคุกคามจากการก่อการร้าย การทดลองยิงขีปนาวุธบนคาบสมุทรเกาหลี สถานการณ์ความเคลื่อนไหวในทะเลหัวตุ้งและทะเลตะวันออกที่กำลังคุกคามต่อความมั่นคง การเดินเรือและการบินอย่างเสรีในภูมิภาค นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาดและภัยธรรมชาติได้สร้างความเสียหายอย่างหนักทั้งด้านทรัพย์สินและชีวิตให้แก่ประชาชน ส่วนการปฏิบัตินโยบายเปิดกว้างประเทศเพื่อศึกษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของทวีปอื่นๆอาจส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของเอเชีย

ต่อความท้าทายดังกล่าว ในการประชุมอนาคตของภูมิภาคเอเชีย ณ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆนี้ บรรดาผู้นำเอเชียได้เห็นพ้องกันว่า ทุกประเทศในเอเชียต้องมีปฏิบัติการร่วมกันเพื่อเอเชียที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง โดยก่อนอื่น ต้องรักษาบรรยากาศแห่งสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ซึ่งแต่ละประเทศต้องแก้ไขปัญหาความแตกต่างระหว่างกันและมีปฏิบัติการอย่างมีความรับผิดชอบบนพื้นฐานของความเสมอภาค การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน กฎหมายสากล ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อชาติพันธุ์และศาสนาและร่วมมือกันเพื่อสันติภาพและการเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคเอเชีย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด