(VOVWORLD) - เมื่อบ่ายวันที่ 8 พฤษภาคม นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ตัดสินใจถอนตัวจากข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ครั้งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่าแผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือ JCPOAระหว่างอิหร่านกับกลุ่มP5+1และฟื้นฟูมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านก่อนเส้นตายที่เคยประกาศไว้คือวันที่ 12 พฤษภาคม ถึงแม้การตัดสินใจดังกล่าวจะอ้างเหตุผลว่า ทำไปเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐ แต่ก็ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับอียูนับวันถลำลึกมากขึ้น ส่งผลกระทบในทางลบต่อชื่อเสียงของสหรัฐบนเวทีโลกและอาจทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางตกอยู่ในภาวะวิกฤต
นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ (THX) |
ในการกล่าวปราศรัยเมื่อบ่ายวันที่ 8 พฤษภาคม นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ยืนยันอีกครั้งว่า ข้อตกลงนิวเคลียร์ที่รัฐบาลสหรัฐชุดก่อน และฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซียและจีนได้ลงนามกับอิหร่าน คือข้อตกลงที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เอื้อประโยชน์ต่อสันติภาพ รวมทั้งไม่สามารถป้องกันไม่ให้อิหร่านพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย ดังนั้น สหรัฐจึงตัดสินใจถอนตัวจากข้อตกลงฉบับนี้และกลับไปใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
ความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตครั้งใหม่ในตะวันออกกลาง
ตั้งแต่เริ่มการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งจนได้เป็นเจ้าของทำเนียบขาว นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ยืนยันหลายครั้งว่า แผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือ JCPOA ไม่สามารถขัดขวางอิหร่าน ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ แต่ทำได้แค่เพียงชะลอเวลาออกไปเท่านั้น ดังนั้น ประชามติจึงไม่แปลกใจต่อการตัดสินใจดังกล่าว แต่ก็ได้แสดงความเสียใจและความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อตกลงที่ต้องใช้เวลาเจรจานานถึง 12ปีเพื่อโน้มน้าวให้อิหร่านยุติโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
ข้ออ้างที่สหรัฐใช้ในการยกเลิกคำมั่นสัญญาของสหรัฐที่ถูกระบุใน JCPOA คือการกล่าวหาว่า อิหร่านยังคงเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์ แต่ไม่สามารถเสนอหลักฐานใดๆ นอกจากนี้ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้เผยว่า จะดำเนินมาตรการคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจในระดับสูงสุดต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ พลังงานและการคลังของอิหร่าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกรายใหญ่อันดับ 3 ขององค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปกและจัดสรรค์น้ำมันร้อยละ 4 ต่อวันให้แก่ตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม ประชามติโลกสามารถเห็นได้ว่า การตัดสินใจดังกล่าวของสหรัฐจะเอื้อประโยชน์ต่อพันธมิตรต่างๆของสหรัฐในตะวันออกกลาง โดยประเทศที่อยู่ในภาวะเผชิญหน้ากับอิหร่านในภูมิภาค เช่น ซาอุดิอาระเบียและอิสราเอลได้แสดงความชื่นชมต่อการฟื้นฟูมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่าน โดยอิสราเอลได้เผยว่า อิสราเอลให้การสนับสนุนการตัดสินใจและขอบคุณนาย โดนัลด์ ทรัมป์ที่ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
แต่ในขณะเดียวกัน การตัดสินใจของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ อาจทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางตกเข้าสู่วิกฤตครั้งใหม่ เพิ่มความตึงเครียดในภูมิภาคที่กำลังประสบปัญหาการเผชิญหน้า รวมถึงการปะทะในซีเรีย การเผชิญหน้าระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลและประเทศอาหรับ แต่ผลพวงที่ตามมากับการตัดสินใจของสหรัฐที่ไม่อาจคาดคิดได้คือการเปิดสงครามกับอิหร่าน เพราะจากการที่เศรษฐกิจอิหร่านกำลังอยู่ในภาวะซบเซา ทำให้อิหร่านจะธำรงข้อตกลงนิวเคลียร์ต่อไปเพื่อแลกกับความร่วมมือกับประเทศต่างๆที่เอื้อประโยชน์อย่างสมบูรณ์ต่ออิหร่าน แต่ถ้าหากผลประโยชน์ต่างๆไม่ได้รับการค้ำประกัน อิหร่านก็มีทางเลือกของตนคือการ ฟื้นฟูอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในสัปดาห์หน้า
ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของสหรัฐ ทำให้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับอียูถลำลึกมากขึ้น
ยังไม่ทราบได้ว่า การตัดสินใจถอนตัวจาก JCPOA ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์จะนำผลประโยชน์อะไรให้แก่สหรัฐ แต่ที่แน่ชัดคือการตัดสินใจนี้ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อชื่อเสียงของสหรัฐ และทำให้นานาประเทศไม่ไว้ใจกับคำมั่นสัญญาของสหรัฐเพราะกังวลว่า อาจไม่อยู่กับร่องกับรอย โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่การพบปะสุดยอดระหว่างสหรัฐกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีจะมีขึ้นในเร็วๆนี้
สำหรับพันธมิตรฝ่ายตะวันตก การถอนตัวจาก JCPOA ของสหรัฐ ถือเป็นการโดดเดี่ยวตัวเอง โดยสหภาพยุโรป หรือ อียูได้ยืนยันว่า จะธำรงข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน ซึ่งถือเป็นปัจจัยชี้ขาดในการค้ำประกันความมั่นคงของยุโรปและโลกถึงแม้สหรัฐได้ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนี้ก็ตาม นอกจากนี้ การตัดสินใจฟื้นฟูมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลประโยชน์ของอียู โดยเฉพาะบริษัทของยุโรปที่ลงทุนในอิหร่านในหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้น อียูได้ยืนยันว่า จะมีปฏิบัติการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของตน ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ปฏิบัติการของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียูและสหรัฐตกอยู่ในภาวะเผชิญหน้า
การถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านของสหรัฐก็อาจทำให้ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกของกลุ่มพี5+1 ที่สนับสนุน JCPOA รุนแรงมากขึ้น
แม้นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เผยว่า อาจทำการเจรจาข้อตกลงใหม่และจะร่วมกับพันธมิตรผลักดันข้อตกลงรอบด้านที่สามารถแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนและปฏิบัติได้ไม่ง่ายนัก
เมื่อ 2 ปีก่อน โลกได้แสดงความยินดีต่อการลงนาม JCPOA ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความพยายามต่อต้านการเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ในโลก แต่จนถึงขณะนี้ แผนการต่างๆของสหรัฐได้ทำให้การปฏิบัติข้อตกลงนี้มีความเปราะบางเป็นอย่างมาก.