(VOVWORLD) -ตามกำหนดการณ์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน จะมีการพบปะสุดยอดกับประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งสภาวการณ์ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศในเวลาที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีตกอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็นจนมีบางช่วงดูเหมือนว่า อาจตกอยู่ในภาวะเผชิญหน้ากัน ดังนั้นในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ผู้นำทั้งสองประเทศจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งที่ซับซ้อนในเวลาที่ผ่านมาเพื่อสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ที่น่าไว้วางใจมากขึ้นในอนาคตได้หรือไม่คือสิ่งที่ประชามติโลกจับตามอง
การพบปะสุดยอดสหรัฐ – รัสเซียจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งได้หรือไม่ |
นี่คือครั้งแรกที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน จะพบปะกันอย่างเป็นทางการตั้งแต่ที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐและเป็นครั้งแรกที่ผู้นำสองประเทศได้พบปะกันอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2009
ความสัมพันธ์มากด้วยอุปสรรคต่างๆ
ความสัมพันธ์รัสเซีย – สหรัฐ ถูกประเมินว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจที่ซับซ้อนที่สุดในโลก ซึ่งความแตกต่างเกี่ยวกับระบอบการเมือง การเผชิญหน้าด้านความเข้มแข็งทางทหารส่งผลให้ทั้งสองประเทศยากที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันได้
ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์รัสเซีย – สหรัฐได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญต่างๆ โดยเฉพาะวิกฤติในยูเครนและการที่ไครเมียถูกผนวกเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย การแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในซีเรีย การเนรเทศนักการทูตและการถกเถียงในเวลาหลายปีเรื่องการลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์และระบบป้องกันขีปนาวุธ ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้ทำให้ความความสัมพันธ์ทวิภาคีสหรัฐ – รัสเซียเลวร้ายมากขึ้น
นับตั้งแต่ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็ยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สหรัฐได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในด้านเศรษฐกิจ การค้าและการเงินด้วยเหตุผลต่างๆ รวมถึงกรณีนาย เซอร์เก สกริปาล อดีตสายลับสองหน้าชาวรัสเซียที่ถูกวางยาพิษในอังกฤษแม้หลักฐานจะชี้ให้เห็นว่าเป็นข้อกล่าวหาเพียงฝ่ายเดียวของรัฐบาลอังกฤษแต่สหรัฐก็ได้เดินหน้าในกระบวนการทางการทูตต่อต้านรัสเซีย ส่วนเนื้อหาของประมวลกฎหมายที่นายปูตินเพิ่งลงนามอนุมัติก็เป็นมาตรการคว่ำบาตรประเทศ องค์กรและบุคคลที่มีความร่วมมือกับสหรัฐและร่วมกับสหรัฐคว่ำบาตรรัสเซีย และนี่ก็เป็นเรื่องที่เคยชินไปแล้วสำหรับประชามติโลกเพราะการคว่ำบาตรโต้ตอบกันได้กลายเป็นหลักเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้
อย่างไรก็ตาม เพื่อปฏิบัติและค้ำประกันผลประโยชน์ทางการเมืองและความมั่นคงของประเทศตนในทั่วโลก นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการการสนับสนุน การเข้าร่วมและความร่วมมือของรัสเซียเพื่อให้แผนการทุกอย่างได้ดำเนินไปอย่างสะดวก ส่วนนาย ปูติน ก็ต้องการการสนับสนุนจากสหรัฐเช่นกันและมีความประสงค์ที่จะแยกสหรัฐออกจากพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ของสหรัฐในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ดังนั้นหากคิดในเชิงลึก ทั้งสองฝ่ายต่างคำนึงและมีปฏิบัติการที่ทำให้ความตึงเครียดยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้
ยากที่จะบรรลุก้าวกระโดดและมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า
เพื่อสามารถจัดการพบปะสุดยอดครั้งนี้ ในเวลาที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้มีปฏิบัติการลดความ “ตึงเครียด” ผ่านการพบปะระดับสูงต่างๆ รวมทั้งการเยือนรัสเซียของคณะส.ส.สหรัฐ แต่สัญญาณที่น่ายินดีที่สุดคือ การเป็นฝ่ายรุกของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ได้ประกาศอย่างต่อเนื่องว่า จะสนับสนุนการปรับความสัมพันธ์กับรัสเซียให้ดีขึ้นและถือการสนทนาโดยตรงเป็นมาตรการที่ดีที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างสองประเทศ
จากโอกาส “ทอง” ดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายกำลังเร่งเตรียมพร้อมให้แก่การพบปะที่ถือว่าสำคัญที่สุดนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญยังประเมินว่า การพบปะครั้งนี้จะมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า โดยวอชิงตันและรัสเซียจะเน้นหารือเกี่ยวกับมาตรการลดความตึงเครียดให้แก่ความสัมพันธ์ทวิภาคีแทนการแสวงหาจุดยืนร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาที่ซับซ้อนต่างๆ เช่น ยูเครนและซีเรีย ซึ่งรัสเซียจะเรียกร้องให้สหรัฐลดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของฝ่ายตะวันตกต่อรัสเซีย และมีความเป็นไปได้สูงที่เรื่องนี้จะเป็นเงื่อนไขของสหรัฐเพื่อให้รัสเซียเพิ่มแรงกดดันให้อิหร่านยุติการส่งทหารไปยังซีเรียและควบคุมอิทธิพลของอิหร่านในภูมิภาค
ทั้งนี้และทั้งนั้นได้แสดงให้เห็นว่า การประชุมสุดยอดครั้งเดียวจะไม่สามารถช่วยให้ทั้งสองฝ่ายแก้ไขความขัดแย้งในทุกปัญหาได้แต่อย่างน้อยนี่จะเป็นก้าวเดินที่ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินซ้ำรอยที่นำไปสู่สงครามเย็นครั้งใหม่และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การพบปะครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานช่วยให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับรัสเซียอบอุ่นมากขึ้น.