(VOVWORLD) -ภายหลังประชุมมาเป็นเวลา 3 วัน การประชุมสุดยอดความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียหรือการสนทนาแชงกรีลาครั้งที่ 20 ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งการสนทนาแชงกรีลาปีนี้เน้นถึงประเด็นความมั่นคงโลกที่กำลังร้อนระอุ ผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชีย แสวงหามาตรการเพื่อสร้างความไว้วางใจ ความร่วมมือเพื่อร่วมกันรับมือความท้าทายต่างๆ
ในการสนทนาแชงกรีลาครั้งที่ 20 มีผู้แทนกว่า 500 คนจาก 49 ประเทศเข้าร่วม (Photo: AP) |
ในหลายปีที่ผ่านมา การสนทนาแชงกรีลาได้กลายเป็นฟอรั่มที่เปิดเผยและเป็นกลางเพื่อให้ฝ่ายต่างๆหารือเกี่ยวกับจุดยืนด้านปัญหาด้านความมั่นคงและกลาโหมที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ปีนี้ การเข้าร่วมของผู้แทนกว่า 500 คน การจัดการประชุมครบองค์ 7 นัด การประชุมทวิภาคี 6 นัดและการพบปะทวิภาคีต่างๆนอกรอบการประชุมได้แสดงให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนับวันได้รับความสนใจจากประชาคมโลก แต่อย่างไรก็ดี สิ่งนี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่น การแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ การปฏิบัติกฎหมายสากลและการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศอำนาจต่างๆ รวมทั้ง ระหว่างประเทศมหาอำนาจกับประเทศต่างๆในภูมิภาค การพิพาทด้านอธิปไตยและปัญหาสิ่งแวดล้อม
การสนทนาแชงกรีลาเชิดชูความรับผิดชอบร่วมกันและกฎหมายสากล
ในสภาวการณ์นี้ ระเบียบวาระการประชุมของการสนทนาแชงกรีลาปีนี้เน้นถึงการสร้างความไว้วางใจ บทบาทของประเทศมหาอำนาจในภูมิภาค เชิดชูความรับผิดชอบร่วมกันและกฎหมายสากลในการบริหารความเสี่ยงและการแข่งขัน ผู้แทนบางคนเห็นว่า สถานการณ์ในจุดร้อนต่างๆในโลก เช่น ยูเครน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและซูดานได้แสดงให้เห็นว่า การกระทำเพียงฝ่ายเดียวส่งผลเสียต่อความไว้วางใจของประเทศต่างๆเกี่ยวกับหลักการร่วมของกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสี่ยงที่จะทำลายเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและโลก
ในบทปราศรัยที่สำคัญในฐานะเป็นวิทยากรของการประชุม นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโทนี อัลบานิซี ได้ย้ำว่า จากการตระหนักเกี่ยวกับการสร้างสรรค์สันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค การสนทนาแชงกรีลาเชิดชูคุณค่าของการหารืออย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ การรักษาสันติภาพและความมั่นคงไม่ใช่หน้าที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคต้องได้รับการผลักดันผ่านการแบ่งปัน ความมีเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต้องได้รับการค้ำประกันผ่านความรับผิดชอบร่วมกัน
ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแคนาดา Anita Anand ได้ยืนยันว่า แคนาดาแสวงหามาตรการเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และความร่วมมือ ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกไม่ใช่เป็นนโยบายเท่านั้นหากยังเป็นการสร้างสรรค์ภูมิภาคที่ปลอดภัยและเสถียรภาพต้องการส่วนร่วมของประเทศต่างๆ
การสนทนาแชงกรีลาปี 2023มีการเข้าร่วมของตัวแทนสหภาพยุโรปหรืออียูเป็นจำนวนมาก ยุโรปและเอเชีย-แปซิฟิกมีผลประโยชน์ร่วมเกี่ยวกับความมั่นคงและฝ่ายต่างๆมีความประสงค์ที่จะกลายเป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจ ร่วมกันส่งเสริมความมั่นคง ตัวแทนระดับสูงที่ดูแลนโยบายความมั่นคงและการต่างประเทศของอียู Josep Borrell ได้ยืนยันถึงความท้าทายที่โลกกำลังต้องเผชิญ ซึ่งการผลักดันความร่วมมือที่เข้มแข็งเป็นมาตรการเดียวเพื่อแก้ไขปัญหานี้
การประชุมหารือภายใต้หัวข้อ "การสร้างสรรค์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เสถียรภาพและสมดุลย์" ในกรอบการสนทนาแชงกรีลาปี 2023 ณ ประเทศสิงคโปร์ (Photo: IISS) |
ส่งเสริมวิสัยทัศน์ร่วมให้แก่ภูมิภาค
จุดเด่นที่ประชามติให้ความสนใจในการสนทนาแชงกรีลาปีนี้คือการประชุมหารือภายใต้หัวข้อ “บทบาทการเป็นแกนหลักของสหรัฐในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก” ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐLloyd Austin ได้ยืนยันถึงคำมั่นของสหรัฐเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง พร้อมทั้งเห็นว่า ความมั่นคงของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกต้องได้รับการค้ำประกันและความพยายามเพียงฝ่ายเดียวเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพในภูมิภาคนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้และสหรัฐจะร่วมกับหุ้นส่วนต่างๆเพื่อส่งเสริมวิสัยทัศน์ร่วมของภูมิภาค
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นหนึ่งในปัญหาที่ได้รับความสนใจที่สุดในการสนทนาแชงกรีลาปีนี้ แม้รัฐมนตรีว่าการกระกรวงกลาโหมสหรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีนเสนอวิธีการเข้าถึงที่แตกต่างกันต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการสนทนานี้แต่ประชามติให้ข้อสังเกตว่า ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการเห็นสงครามเย็นครั้งใหม่ ซึ่งความคืบหน้าของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆปรารถนาเพื่อมีส่วนร่วมต่อความพยายามในการแก้ไขความท้าทายร่วม
การสนทนาแชงกรีลาถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2002 และได้กลายเป็นพื้นฐานที่มีคุณค่า เปิดเผยและเป็นกลางเพื่อแลกเปลี่ยนจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาด้านกลาโหมและความมั่นคงที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยนับวันยืนยันบทบาทเป็นหนึ่งในฟอรั่มชั้นนำเกี่ยวกับการสนทนาด้านความมั่นคงในภูมิภาคและโลก.