ความท้าทายในการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ

(VOVworld) –การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนของโลกในเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้องค์การสหประชาชาติต้องรับมือกับปัญหาต่างทั้งด้านความไว้วางใจและมีความเป็นไปได้สูงที่จะหลุดจากส่วนร่วมในเวทีการเมืองโลก ดังนั้นองค์การนี้จึงต้องทำการปฏิรูปอย่างสมบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่

(VOVworld) – สหประชาชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมปี 1945 โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งสงคราม การปะทะ รักษาสันติภาพ ความมั่นคงของโลกและมีอิทธิพลอย่างกว้างลึกในชีวิตของประชาคมโลกแต่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนของโลกในเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้องค์การสหประชาชาติต้องรับมือกับปัญหาต่างทั้งด้านความไว้วางใจและมีความเป็นไปได้สูงที่จะหลุดจากส่วนร่วมในเวทีการเมืองโลก ดังนั้นองค์การนี้จึงต้องทำการปฏิรูปอย่างสมบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่

ความท้าทายในการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ - ảnh 1
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ

ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาของโลก

ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ องค์การนี้ได้มีบทบาทสำคัญในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งตามข้อมูลสถิติ ในตลอด 68 ปีที่ผ่านมา ส่วนร่วมที่ใหญ่ที่สุดขององค์การนี้คือการยับยั้งไม่ให้เกิดสงครามโลกอีกครั้ง มีบทบาทช่วยลดการปะทะ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการล้มล้างการปกครองร้อยละ 80 ผลักดันให้ยุติระบบอาณานิคมและช่วยให้เขตที่ขาดอิสระในการปกครองตนเองกลายเป็นประเทศที่เอกราช
แต่ในสภาวะการณ์ที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระบวนการด้านนิตินัยระหว่างประเทศขาดความสมดูลเพราะรับอิทธิพลจากบรรดาประเทศมหาอำนาจและการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนเกี่ยวกับอธิปไตยของหลายประเทศ การเคลื่อนไหวขององค์การสหประชาชาติในเขตนี้จึงยังไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ โดยเหตุปะทะ การก่อการร้าย การใช้อาวุธเคมีตลอดจนการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคต่างๆของโลกโดยไม่มีมาตรการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่กันนั้น ชื่อเสียงของสหประชาชาติก็เสื่อมถอยลงเนื่องจากการปฏิบัติโครงการช่วยเหลือมนุษยธรรมที่ล่าช้า ขาดประสิทธิภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ และความจริงดังกล่าวก็ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากการที่เมื่อเร็วๆนี้ ซาอุดิอาระเบียได้ปฏิเสธการเข้าเป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพราะไม่พอใจต่อความอ่อนแอของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาการปะทะในซีเรีย  โดยประกาศของทางการกรุงริยาดระบุว่า วิกฤตการณ์ในซีเรียได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2011แต่จากการใช้สิทธิ์วีโต้ของจีนและรัสเซียได้ทำให้ต้องรอจนถึงวันที่ 27 กันยายนปี 2013 สหประชาชาติจึงสามารถอนุมัติมติฉบับแรกที่สั่งให้ซีเรียทำลายอาวุธเคมี ในขณะเดียวกัน หลายประเทศได้วิเคราะห์การตัดสินใจของซาอุดิอาระเบียว่า “เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ” หรือเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงเพราะในประวัติศาสตร์ยังไม่เคยมีประเทศใดที่ปฏิเสธโอกาสที่สามารถเพิ่มบทบาทและสถานะบนเวทีโลก แต่การตัดสินใจของซาอุดิอาระเบียก็เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยากเพราะความเชื่อมั่นของประเทศนี้ต่อบทบาทขององค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกลดลง

ปฏิรูปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

เมื่อหวนมองในตลอด 68 ปี สหประชาชาติก็เคยทำการปฏิรูป 3 ครั้งแต่เป็นเพียงการเพิ่มสมาชิกในองค์กรต่างๆ เช่น คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมหรือคณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นและนับตั้งแต่ช่วงปี 90 สหประชาชาติก็มีความประสงค์ที่จะทำการปฏิรูปองค์กรแบบบูรณาการตาม 3 กลุ่มปัญหา คือ การพัฒนาและการปฏิบัติเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ การปฏิรูปกลไกขององค์การและคณะเลขาธิการและรูปแบบการปฏิบัติ แต่ในตลอด 20 ปีที่ผ่านมา การปฏิรูปดังกล่าวแทบจะไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใดเพราะปัจจัยทางนิตินัยและสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปดังกล่าว      นั่นคือ ข้อกำหนดต่างๆในกฏบัติสหประชาชาติ เช่น ระเบียบการเกี่ยวกับสมาชิกถาวรและสิทธิ์วีโต้เพราะแม้หลายประเทศสมาชิกเห็นพ้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำการปฏิรูปแต่ทุกความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติคือ ถ้าหาก 5 ประเทศนี้ยังพอใจต่อกับระเบียบการปัจจุบันและเห็นว่าระเบียบการนี้ไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลประโยชน์ 5 ประเทศสมาชิกถาวรก็จะไม่ให้ความสนใจมาตรการการปฏิรูปและสามารถคว่ำบาตรมติทุกฉบับ นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาการแข่งขันระหว่างภูมิภาค ซึ่งสามารถเห็นได้จากการโต้เถียงโดยไม่ยอมลดราวาศอกด้านผลประโยชน์ระหว่างประเทศต่างๆ เป็นอันว่ายังไม่สามารถมองเห็นผลสำเร็จจากการปฏิรูปแถมยังแสดงออกถึงความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกและกลุ่มประเทศในองค์การสหประชาชาติ

ปัญหาที่ต้องหารือในการปฏิรูปสหประชาชาติปัจจุบันคือ ต้องทำอย่างไรเพื่อสามารถแสวงหามาตรการแก้ไขอย่างพร้อมเพรียงและเหมาะสมเพื่อตอบสนองผลประโยชน์เฉพาะประเทศและผลประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศและของภูมิภาค แต่สิ่งนี้ยากที่จะปฏิบัติได้เพราะจุดยืนของแต่ละกลุ่มยังคงมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากและความพยายามไขว่คว้าผลประโยชน์ให้แก่ประเทศตนนับวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การปฏิรูปสหประชาชาติจึงต้องใช้เวลาอีกมากเพื่อประสบความสำเร็จ./.

 Hồng Vân/VOV5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด