ความลำบากยากเข็ญในการขจัดความยากจน
Huyền - VOV5 -  
(VOVworld) – หัวข้อของวันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศ๑๗ตุลาคมปีนี้ที่สหประชาชาติเสนอคือ“ยุติความยากจน”ซึ่งถือเป็นคำสั่งที่เร่งรัดให้ทั้งโลกร่วมกันปฏิบัติ เพราะว่า แม้ว่า โลกได้บรรลุเป้าหมายขจัดความยากจนซึ่งเป็นเป้าหมายแรกในเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ๘ประการที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้อนุมัติเมื่อปี๒๐๐๐ ก่อนกำหนด๕ปี แต่วิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้เกิดความท้าทายใหม่ คุกคามดอกผลในการขจัดความยากจนของหลายประเทศและทำให้การขจัดความยากจนประสบความลำบากยากเข็ญยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมด
(VOVworld) – หัวข้อของวันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศ๑๗ตุลาคมปีนี้ที่สหประชาชาติเสนอคือ“ยุติความยากจน”ซึ่งถือเป็นคำสั่งที่เร่งรัดให้ทั้งโลกร่วมกันปฏิบัติ เพราะว่า แม้ว่า โลกได้บรรลุเป้าหมายขจัดความยากจนซึ่งเป็นเป้าหมายแรกในเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ๘ประการที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้อนุมัติเมื่อปี๒๐๐๐ ก่อนกำหนด๕ปี แต่วิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้เกิดความท้าทายใหม่ คุกคามดอกผลในการขจัดความยากจนของหลายประเทศและทำให้การขจัดความยากจนประสบความลำบากยากเข็ญยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมด
|
การขาดแคลนอาหาร( อินเตอร์เน็ต ) |
จากความพยายามของ ทั้งประชาคมระหว่างประเทศในหลายทศวรรษที่ผ่านมาทำให้การขจัดความยากจนได้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่ายินดีโดยได้บรรลุเป้าหมายก่อนกำหนด แต่วิกฤติการเงินและเศรษฐกิจโลกเมื่อปี๒๐๐๘ที่เริ่มเกิดขึ้น ณ ประเทศสหรัฐ แล้วลุกลามไปทั่วโลกได้ส่งผลในทางลบต่อผลสำเร็จในการขจัดความยากจนโลกซึ่งปัจจุบันในโลกมีผู้อดอยากยากจน๑พัน๓ร้อยล้านคน มีคนขาดโภชนาการ๙๐๐ล้านคน ขาดวิตามินและสารอาหาร๑พันล้านคน องค์การแรงงานระหว่างประเทศเผยว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อปี๒๐๐๘ ได้มีผู้ตกงานอีกกว่า๓๐ล้านคนซึ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานสูงถึง๒๒๐ล้านคนในปัจจุบันซึ่ง๑ใน๓เป็นเยาวชน และพยันตรายจากการว่างงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะว่า นโยบายรัดเข็มขัดของหลายประเทศที่กำลังส่งผลกระทบต่อปัญหาสวัสดิการสังคมโดยตรงและทำให้สภาวะการว่างงานมีความรุนแรงยิ่งขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผลงานของมวลมนุษย์ในการขจัดความยากจนกำลังถูกทำลายเนื่องจากความผันวนของราคาอาหารและพลังงาน ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่ปริมาณการผลิตอาหารไม่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้ ภัยธรรมชาติ การขาดความหลากหลายของธัญญาพืช และการใช้ดินเพาะปลูกและน้ำขาดประสิทธิภาพและ การปะทะที่เกิดขึ้นในหลายแห่งก็ทำให้ปริมาณการผลิตอาหารลดลง ตามประกาศขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่๑๖เดือนนี้ ปัจจุบันความต้องการอาหารของโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าอุปทานในขณะที่ปริมาณอาหารสำรองลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี๑๙๗๔ซึ่งถ้าหากปริมาณอาหารสำรองเมื่อก่อนนี้สามารถเลี้ยงคนทั้งโลกได้ภายในเวลา๑๐๗วัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง๗๔วัน ในขณะเดียวกัน โลกกำลังเผชิญกับปัญหาพลังงานยากที่จะแก้ไขได้ ปริมาณน้ำมัน ก๊าซและถ่านหินในใต้ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ในสมัยหนึ่งแต่ปัจจุบันกำลังลดน้อยลง ส่วนการคิดคำณวนของมนุษย์ทำให้โลกตกเข้าสู่วิกฤติพลังงานครั้งใหม่ ความพยายามของสหรัฐและประเทศตะวันตกในการบังคับให้อิหร่านยกเลิกโครงการนิวเคลียร์ได้นำมาซึ่งการจัดวางกองกำลังใหม่ในตลาดน้ำมันโลกโดยทางอ้อมและทำให้ขาดความสมดุลย์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานเนื่องจากภูมิศาสตร์การเมืองมีบทบาทสำคัญ
|
ความพยายามในการขจัดความยากจน(Photo:Internet) |
โลกต้องมีปฏิบัติการ ในสาส์นของสหประชาชาติในโอกาสรำลึกวันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศปีนี้ระบุว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกปัจจุบันกำลังสร้างโอกาสให้แก่การปฏิรูปในทุกด้าน โลกควรวางขั้นตอนใหม่เพื่อค้ำประกันความเสมอภาคในสังคมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลประเทศต่างๆควรมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในการสร้างกรอบการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารและพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ และสหประชาชาติได้เสนอ๕ด้านที่ต้องปรับปรุงในเศรษฐกิจโลกคือ ผลักดันความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายพัฒนาแห่งสหัสวรรษเกี่ยวกับการขจัดความยากจนในทั่วโลก ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศที่กำลังต้องการความช่วยเหลือที่สุด ยกเลิกเงื่อนไขกู้ยืม ขยายความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และพันธกรณีเกี่ยวกับความยั่งยืน แต่จากทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ดูเหมือนว่า ยากที่จะปฏิบัติเป้าหมายที่สหประชาชาติวางไว้ได้ ทุกปีโลกต้องจ่ายเงินประมาณ๗หมื่น๕พันล้านเหรียญสหรัฐให้แก่การขจัดความยากจนซึ่งในนั้นประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาสมทบครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลือมาจากงบประมาณของประเทศที่กำลังพัฒนา แต่วิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้หลายประเทศกำลังต้องแก้ไขปัญหาการขาดดุลย์งบประมาณและหนี้สาธารณะ จึงปล่อยปละละเลยความรับผิดชอบร่วม นอกจากนี้ การขาดความมุ่งมั่นทางการเมืองของประเทศใหญ่บางประเทศก็กำลังกีดขวางการประสานปฏิบัติการในการขจัดความยากจน ในโอกาสรำลึกวันอาหารโลกที่๑๖ตุลาคม เมื่อวันที่๑๖เดือนนี้ ฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้จัดการประชุมฉุกเฉินของฟอรั่มการรับมืออย่างทันการณ์หรือRRFซึ่งเป็นกลุ่มนักวางนโยบายการเกษตรโลกเพื่อยับยั้งวิกฤติการเกษตร โดยกลุ่มจี๒๐เพิ่งจัดตั้งเพื่อวางมาตรการแก้ไขวิกฤติอาหารในรอบ๔ปีที่จะถึงแต่การประชุมนี้ไม่มีขึ้นเพราะสหรัฐซึ่งเป็นประธานRRFไม่เห็นด้วยโดยอ้างเหตุผลว่าไม่จำเป็น คาดว่า ประชากรโลกจาก๗พันล้านคนในปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นเป็น๙พันล้านคนในปี๒๐๔๐ จนถึงปี๒๐๓๐ โลกจะต้องการอาหารอย่างน้อยอีกร้อยละ๕๐และพลังงานร้อยละ๔๕ เมื่อเทียบกับปัจจุบันในขณะที่สภาพสิ่งแวดล้อมกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางลบส่งผลให้ประชาชน๓พันล้านคนอาจจะตกเข้าสู่สภาวะอดอยากยากจน ในโลกแบนปัจจุบัน เพื่อสามารถขจัดความยากจนได้ ทุกประเทศในโลกต้องร่วมกันปฏิบัติการ อย่างไรก็ดี การขจัดความยากจนยังคงเป็นระยะทางอันยาวไกลที่เต็มไปด้วยความลำบากยากเข็ญข้างหน้า./.
Huyền - VOV5