(VOVWORLD) - ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นเป็นเวลานานระหว่างตะวันตกกับรัสเซียยังคง "ร้อนแรง" อย่างต่อเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรใหม่ ๆ ของสหรัฐและสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ต่อมอสโคว์
ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน (New York Times) |
ด้วยข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับนาย Alexei Navalny นักการเมืองฝ่ายค้านชื่อดังของรัสเซีย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ทางการสหรัฐได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย 7 คน ซึ่งเป็นการคว่ำบาตรครั้งแรกของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่อรัสเซีย แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ มาตรการคว่ำบาตรนี้มีผลบังคับใช้หลังจากอียูประกาศคำสั่งห้ามเดินทางและอายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ระดับสูง 4 คนของรัฐบาลรัสเซีย 1 วัน ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ มาตรการคว่ำบาตรที่ตามมาของสหรัฐนี้มีนัยยะบางอย่างที่ต้องการส่งถึงพระราชวังเครมลิน
การคว่ำบาตรร่วมระหว่างฝ่ายต่างๆ
ที่น่าสนใจคือ ในรายชื่อเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐมีนาย Alexander Bortnikov ผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงแห่งสหพันธรัฐรัสเซียหรือ FSB รวมอยู่ด้วย โดยนอกจากการใช้มาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่รัสเซียแล้ว ทางการสหรัฐยังเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการส่งออกต่อบริษัทบางแห่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารเคมีของรัสเซีย โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเพิ่ม 14 กลุ่มในรายชื่อนิติบุคคลที่ถูกคว่ำบาตรเนื่องจากผลิตสารชีวภาพและสารเคมี รวมถึงองค์กรการค้า 9 แห่งในรัสเซีย องค์การ 3 แห่งในเยอรมนีและองค์การ 1 แห่งในสวิตเซอร์แลนด์ การตัดสินใจคว่ำบาตรเกิดขึ้นภายหลังจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐมีข้อสรุปว่า "มีความเป็นไปได้สูงที่นาย Navalny ถูกสารพิษ Novichok โดยฝีมือของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานความมั่นคงแห่งสหพันธรัฐรัสเซียหรือ FSB ซึ่งนี่เป็นมาตรการคว่ำบาตรครั้งแรกของสหรัฐต่อบุคคลและนิติบุคคลของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีบุคคลสำคัญ 2 คนในรายชื่อคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปด้วยคือประธานคณะกรรมการสอบสวนของสหพันธรัฐรัสเซีย Alexander Bastrykin และอัยการสูงสุด Igor Krasnov ในขณะที่ประธานสภาสภายุโรปหรืออีซี ชาร์ลส์ มิเชล ได้ประกาศว่า มาตรการคว่ำบาตรแสดงให้เห็นว่า อียูสามารถเป็นหนึ่งเดียวกันในการปกป้องคุณค่าและผลประโยชน์ของตน
บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้แสดงความเห็นว่า ในแง่ของเวลา เป้าหมายและเนื้อหาของการคว่ำบาตร นี่เป็นการกดดันร่วมกันของฝ่ายตะวันตกต่อรัสเซีย ในทางเป็นจริง เมื่อวันที่ 2 มีนาคม สำนักข่าวรอยเตอร์ของอังกฤษได้อ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่สหรัฐโดยยืนยันว่า มาตรการคว่ำบาตรของทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน นั้นได้รับการปฏิบัติจากการประสานงานของสหภาพยุโรป
นาย Alexei Navalny นักการเมืองฝ่ายค้านชื่อดังของรัสเซีย (Reuters) |
สารที่อยากสื่อ
ในทางเป็นจริง ได้มีการคาดการณ์กันว่า สหรัฐจะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเพราะมีสัญญาณที่บ่งบอกมาตั้งแต่นาย โจ ไบเดน เข้าร่วมศึกชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ดังนั้น การคว่ำบาตรรัสเซียถือเป็นสิ่งแรกที่ประธานาธิบดีคนใหม่ปฏิบัติเพราะเป็นนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายในการรับมือนโยบายที่แข็งกร้าวจากทางการมอสโคว์ที่มีต่อทางการวอชิงตันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยการคว่ำบาตรนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเป้าไปยังรัสเซียเท่านั้น หากยังเป็นสัญญาณเตือนต่อทุกคู่แข่งของสหรัฐทั้งในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงภายในสหรัฐด้วย
ประการที่สองคือ สหรัฐต้องการสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรทั่วโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปว่า วอชิงตันยังคงอยู่เคียงข้างกับพันธมิตรในทุกด้าน รวมถึงการรับมือมอสโคว์
แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ของขอบเขตและเป้าหมายที่ถูกคว่ำบาตร รวมถึงการไม่ระบุถึงประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน หรือบุคคลสำคัญของรัฐบาลรัสเซีย เป็นที่ชัดเจนว่า รัฐบาลสหรัฐไม่ต้องการเพิ่มความตึงเครียดกับรัสเซียในขณะนี้ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐยังคงธำรงการเจรจากับรัสเซียเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศหลายประเด็น เช่น ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ การต่อต้านการก่อการร้ายและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการรับมือจีน นอกจากนั้น แนวทางนี้ยังเพื่อสร้างความสมดุลกับท่าทีของอียูต่อรัสเซีย นั่นคือถือรัสเซียทั้งเป็นหุ้นส่วนและคู่แข่ง
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามองในแง่ไหน การคว่ำบาตรใหม่ของตะวันตก โดยเฉพาะของทางการสหรัฐต่อรัสเซียก็เป็นก้าวเดินที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น ไม่นำผลประโยชน์มาให้แก่บรรยากาศของความร่วมมือและการปรองดองระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการผลักให้คู่แข่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงปัญหานี้มีการปฏิบัติที่แข็งกร้าวมากขึ้น.