ความสัมพันธ์อียู-ตุรกี: ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง

(VOVworld) – ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปหรืออียูกับตุรกีเคยมีความผันผวนที่ซับซ้อนมาอย่างยาวนาน และปัจจุบัน ความสัมพันธ์นี้ยิ่งทวีความตึงเครียดมากขึ้น  เพราะในหลายวันที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายมีการโต้ตอบกันในหลายปัญหา การขาดความไว้วางใจและความสงสัยต่อกันคือเหตุผลหลักที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายยากที่จะแสวงหาเสียงพูดเดียวกันเพื่อร่วมมือ ตลอดจนแก้ไขปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลกที่ต้องได้รับการลงมือแก้ไขจากทั้งสองฝ่าย


(VOVworld) – ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปหรืออียูกับตุรกีเคยมีความผันผวนที่ซับซ้อนมาอย่างยาวนาน และปัจจุบัน ความสัมพันธ์นี้ยิ่งทวีความตึงเครียดมากขึ้น  เพราะในหลายวันที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายมีการโต้ตอบกันในหลายปัญหา การขาดความไว้วางใจและความสงสัยต่อกันคือเหตุผลหลักที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายยากที่จะแสวงหาเสียงพูดเดียวกันเพื่อร่วมมือ ตลอดจนแก้ไขปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลกที่ต้องได้รับการลงมือแก้ไขจากทั้งสองฝ่าย

ความสัมพันธ์อียู-ตุรกี: ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง - ảnh 1

ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) ได้อนุมัติข้อเสนอเพื่อยุติการสนทนารับตุรกีเข้าเป็นสมาชิกของอียู เนื่องจากตุรกีได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน อียูก็ได้พิจารณามาตรการคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจต่อตุรกีเนื่องจากรัฐบาลตุรกีได้จับกุมสมาชิกของพรรคฝ่ายค้านหลังจากเกิดเหตุก่อกบฎเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
จุดชนวนระเบิด
ภายหลังท่าทีดังกล่าวของอียู ประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้เรียกร้องให้อียูต้องรู้ “ขอบเขตของตน” ทางการตุรกีมีความรับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ และอียูไม่มีสิทธิ์แทรกแซงกิจการภายในของตุรกี ตุรกีอาจจะพิจารณาการขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศนี้ต่อไป ซึ่งมีผลบังคับใช้หลังการก่อกบฎ ตลอดจนการกลับไปใช้โทษประหารชีวิตและการที่ตุรกีสามารถจัดการลงประชามติภายในปี 2017 เกี่ยวกับการจัดการเจรจาเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิกของอียูต่อไปหรือไม่ ก่อนหน้านั้น ประธานาธิบดี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ยังได้เตือนว่าจะเปิดชายแดนให้ผู้อพยพไปยังยุโรป ถ้าหากอียูยังคงสร้างแรงกดดันต่อประเทศนี้
ไม่ยากเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับท่าทีของตุรกีหลังการตัดสินใจระงับข้อตกลงของอียู ตุรกีได้ส่งเอกสารขอเข้าเป็นสมาชิกของอียูเมื่อปี 1987 แต่กระบวนการเจรจาได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2005 เท่านั้น ในตลอด 11 ปีที่ผ่านมา กระบวนการเจรจาเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิกของอียูของตุรกีได้ประสบอุปสรรคมากมาย และจนถึงขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายสามารถเห็นพ้องกันในไม่กี่เรื่องในหลายปัญหาที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ตุรกีเข้าเป็นสมาชิกของอียู
ความสัมพันธ์อียู-ตุรกี: ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง - ảnh 2
ประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน (AFP)

เหตุผลที่ตุรกีต้องการอียูเพราะอยากได้รับสิทธิพิเศษด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงินและการลงทุน ตลอดจนสวัสดิการสังคมจากอียู แต่ในเวลาที่ผ่านมา อียูไม่ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการรับตุรกีเข้าเป็นสมาชิก โดยหนึ่งในเหตุผลหลักคือตุรกีเป็นประเทศมุสลิม เพราะอียูมีความวิตกกังวลว่า การมีประเทศสมาชิกมุสลิมจะสร้างความไร้เสถียรภาพให้แก่การเชื่อมโยงด้านสังคมอื่นๆในสหภาพยุโรป ประชาคมชาวมุสลิมเคยถูกถือว่ามีแนวคิดที่แตกต่างกับชุมชนอื่นๆ และแนวคิดของชาวมุสลิมหัวรุนแรงทำให้ผู้นำอียูต้องระมัดระวัง จนทำให้อียูมีความวิตกกังวลในการรับตุรกีเป็นสมาชิก แต่เมื่อเกิดกระแสผู้อพยพเข้ายุโรป อียูต้องการให้ตุรกีช่วยแก้ไขปัญหา ในทางเป็นจริง ตุรกีได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพนับล้านคนจากตะวันออกกลาง และในทางกลับ ตุรกีมีความประสงที่จะใช้ปัญหาผู้อพยพผลักดันกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกของอียู แต่ก็ไม่เป็นไปตามความประสงค์เพราะอียูได้ตำหนินโยบายภายในประเทศของรัฐบาลตุรกีหลังเกิดเหตุก่อกบฎโดยกองทัพและระงับกระบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกอียู ซึ่งนี่ถือเป็นการจุดชนวนให้ตุรกีเกิดความไม่พอใจ

ความสัมพันธ์อียู-ตุรกี: ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง - ảnh 3
การประชุมของอีพีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนเพื่อหารือเกี่ยวกับการเจรจาเพื่อให้ตุรกีกลายเป็นสมาชิกของอียู (AFP)

ผลกระทบที่เป็นอันตราย
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดีตุรกี รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้กล่าวถึงเหตุผลว่า ทำไมถึงอยากหันหลังให้แก่การเป็นสมาชิกของอียูและหันไปขอเข้าเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือเซียงไฮ้หรือเอสซีโอแทน ซึ่งเป็นองค์การที่มี 6 ประเทศสมาชิก รวมทั้งรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นสองประเทศคู่แข่งของอียู ในทางเป็นจริง คำประกาศดังกล่าวมิได้เป็นแค่คำพูดแบบลอยๆเท่านั้น เพราะในปี 2017 ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสโมสรพลังงานของเอสซีโอ ซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่ไม่ใช่เป็นสมาชิกขององค์การนี้ที่เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมดังกล่าวและเป็นประธานสโมสรนี้ ในขณะที่อียูเพิกเฉยตุรกี ประเทศจีนก็ได้แสดงความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเมื่อเร็วๆนี้ นาย เกิ๋งชวาง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนได้ประกาศว่า พร้อมที่จะพิจารณาการขอเข้าเป็นสมาชิกเอสซีโอของตุรกี ตุรกีเป็นหุ้นส่วนสนทนาที่ยาวนาน และร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การนี้ และจีนให้ความสำคัญต่อความปรารถนาของตุรกีเกี่ยวกับการผลักดันความร่วมมือนี้
ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ การที่ตุรกีอาจยกเลิกแผนการขอเข้าเป็นสมาชิกของอียูและหันไปเข้าเป็นสมาชิกของเอสซีโอแทนจะทำให้ยุโรปรู้สึกไม่ปลอดภัย เนื่องจากตุรกีตั้งเป็นประเทศที่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์เนื่องจากติดกับอียู ซึ่งถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากตุรกี กระแสผู้อพยพจะเข้าไปอียูและทำให้อียูยากที่จะควบคุมความมั่นคงและความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ นอกจากนั้น ความสัมพันธ์ตุรกี-รัสเซียกำลังมีความอบอุ่นมากขึ้น รวมทั้งการที่ตุรกีซื้อระบบป้องกันขีปนาวุธ S-400 จากรัสเซียก็ยิ่งทำให้ยุโรปรู้สึกไม่ปลอดภัย ในขณะที่กลุ่มอียูกำลังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆที่ต้องแก้ไขอยู่แล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด