ความสามัคคีและความร่วมมือคือกุญแจแก้ไขวิกฤตโลก

(VOVWORLD) -ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยากจะคาดเดาได้ของโรคโควิด – 19 บวกกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อนทำให้มาตรการแก้ไขของแต่ละประเทศแม้จะมีประสิทธิภาพแต่ก็อยู่ในกรอบที่จำกัด ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่โลกต้องสามัคคีและร่วมมือกันจริงจังมากขึ้นเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคนี้ไปให้ได้
ความสามัคคีและความร่วมมือคือกุญแจแก้ไขวิกฤตโลก - ảnh 1 การประชุมผู้นำอาเซียนนัดพิเศษและการประชุมอาเซียน +3 (Photo Vnplus)

ธนาคารโลกหรือ WB กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟและสถาบันการเงินต่างๆเตือนว่า โลกกำลังต้องรับมือวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่รุนแรง ซึ่งรุนแรงกว่าวิกฤตการเงินโลกช่วงปี 2008-2009 รวมทั้งมีคำเตือนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความเกิดวิกฤตด้านอาหารทั่วโลก โดยล่าสุดคือเมื่อวันที่ 20 เมษายน กองทุนพัฒนาการเกษตรแห่งชาติหรือ IFAD แห่งสหประชาชาติได้ออกคำเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศหาทางหลีกเลี่ยงวิกฤตอาหารเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในขณะที่สิ่งที่น่ากังวลอีกมากก็คือ โควิด 19 ยังคงระบาดอย่างรุนแรง และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะยุติเมื่อไหร่และมนุษย์ก็ไม่สามารถพยากรณ์ผลกระทบที่ตามมาหลังภาวะโควิด-19นี้ได้ จึงมีทางเดียวคือต้องร่วมมือและสามัคคีกันเพื่ฟันฝ่าวิกฤตนี้

การปฏิบัติแบบต่างคนต่างทำไม่ใช่มาตรการที่ดี

ตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกที่เกิดการระบาด ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยระหว่างประเทศหลายคนได้เตือนว่า การที่แต่ละประเทศต่างคนต่างทำจะช่วยชะลอการระบาดเท่านั้น โดยไม่สามารถป้องกันและควบคุมโรคโควิด -19 ได้อย่างมีประสิทธิผล ในการประกาศในโอกาสที่สหประชาชาติเสนอแผนรับมือมนุษยธรรมโลกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ย้ำว่า “โควิด -19 กำลังคุกคามต่อมนุษย์ ดังนั้น ทั่วโลกต้องร่วมมือเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดเพราะการที่ต่างฝ่ายต่างทำจะไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้” และสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในเวลาที่ผ่านมาก็เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความถูกต้องของคำเตือนเหล่านี้ โรคโควิด – 19 นับวันแพร่ระบาดรุนแรงมากขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนต่อวัน ในขณะที่โลกยังคงสะท้อนให้เห็นความแตกแยกและความถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องหาแหล่งที่มาของไวรัส SARS – CoV -2 ความโปร่งใสด้านข้อมูลและการแข่งขันในด้านแหล่งทรัพยากรเพื่อรับมือโรคระบาดนี้ เป็นต้น โดยการรับมือกับปัญหาโควิดในระดับโลกนั้นยังคงเป็นการปฏิบัติแบบตัวใครตัวมัน โดยยังไม่มีการประสานงานและความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อโรคโควิด – 19 ได้แพร่ระบาดมาเกือบครึ่งปีแล้วแต่ยังไม่การสัมมนาหรือการประชุมเชิงวิชาการระดับโลกเพื่อแสวงหามาตรการรับมือ

บทเรียนครั้งประวัติศาสตร์เมื่อศตวรรษก่อนเกี่ยวกับความร่วมมือในการรับมือกาฬโรคแมนจูเรีย

 ในสภาวการณ์ดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยกำลังกล่าวถึงบทเรียนเมื่อกว่า 100 ปีก่อนที่โลกได้ร่วมแรงร่วมใจรับมือกาฬโรคแมนจูเรียที่ได้แพร่ระบาดทั่วประเทศจีนและภัยคุกคามที่จะกลายเป็นโรคระบาดในทั่วโลก โดยนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาดตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1910 ไปจนถึงช่วงที่สามารถควบคุมได้ในต้นปี 1911 ได้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 63,000 คน แต่สิ่งที่ต้องพูดถึงในวิกฤตครั้งนั้นก็คือนับตั้งแต่ต้นปี 1911 จีนได้พยายามจัดการประชุมระหว่างประเทศเพื่อแสวงหามาตรการรับมือและแสวงหาสาเหตุของการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในขอบเขตที่กว้างขว้างแล้วปฏิบัติมาตรการควบคุมอย่างดีที่สุด ขณะนั้นแม้ยังมีความขัดแย้งด้านการเมือง แต่บรรดาประเทศใหญ่อย่างสหรัฐ ญี่ปุ่น รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศอื่นๆเช่น อิตาลี เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรียและฮังการีต่างได้ส่งผู้เชี่ยวชาญในสถาบันที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมการประชุม ณ เสิ่นหยาง ซึ่งการประชุมนี้ได้มีส่วนร่วมสำคัญในการยับยั้งการแพร่ระบาดของกาฬโรคแมนจูเรียไม่ให้กลายเป็นการระบาดในทั่วโลก ซึ่งถือเป็นบทเรียนอันล้ำค่าต่อมนุษยชาติเกี่ยวกับความร่วมมือและความมสามัคคีในการยับยั้งและรับมือกับวิกฤตของโลก

สำหรับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์หลายคนแสดงความเชื่อมั่นว่า การจัดการประชุมที่ไม่มีเป้าหมายทางการเมืองอย่างเช่นการประชุมที่เสิ่นหยางเมื่อปี 1911 ซึ่งเป็นการประชุมที่ผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุขชั้นนำของโลกต่างปรารถนาที่จะมีโอกาสเข้าร่วมนั้นอาจช่วยให้โลกยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ได้โดยเร็ว แต่น่าเสียดายว่า ถ้าหากเปรียบเทียบกับปี 1911 ปัจจุบันโลกกลับต้องเชิญความแตกแยกและการแบ่งขั่วอำนาจที่รุนแรงมากกว่า โดยองค์การอนามัยโลกำลังถูกตำหนิ สถานการณ์การเลือปฏิบัติด้านชาติพันธุ์ การตอบโต้ระหว่างบรรดาประเทศอำนาจ รวมทั้งการแข่งขันด้านทรัพยากร เพื่อควบคุมสถานการณ์ ในขณะที่ประเทศยากจนยังคงต้องพยายามแสวงหามาตรการปกป้องตนเอง ส่วนบรรดาประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญ เช่น สหรัฐ จีน บรรดาประเทศในสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังไม่ให้ความสนใจต่อการประสานงานเพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้อย่างจริงจัง ซึ่งหมายความว่า ความคืบหน้าเกี่ยวกับการประชุมระหว่างประเทศที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชั้นนำของโลกเข้าร่วมยังเป็นเรื่องที่ไกลมาก

แต่ว่า โลกยังมีความหวังและมีความเชื่อมั่นต่อความร่วมมือและความสามัคคีระหว่างประเทศในการรับมือวิกฤต ซึ่งเริ่มจากความคิดริเริ่ม ข้อเสนอและการปฏิบัติที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบของหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ อาเซียนได้จัดการประชุมผู้นำอาเซียนนัดพิเศษและการประชุมอาเซียน +3 กับหุ้นส่วนคือจีน สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่น ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เพื่อหารือมาตรการรับมือโรคโควิด -19 ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากประชาคมระหว่างประเทศและอาจเป็นการให้กำลังใจเพื่อกระตุ้นให้โลกขยายความร่วมมือและความสามัคคีเพื่อฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด