(VOVWORLD) - บรรดาผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศกำลังเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมายของจีนในทะเลตะวันออกเมื่อเร็วๆนี้อย่างใกล้ชิด เพราะการกระทำที่ไม่ถูกต้องของจีนได้ทำให้ประชาคมโลกผิดหวัง สร้างความโดดเดี่ยวให้แก่ตนเองและทำให้ความไว้วางใจของภูมิภาคต่อประเทศจีนลดลง
เกาะฟู้เจิมสังกัดหมู่เกาะหว่างซาของเวียดนามถูกจีนยึดครองอย่างผิดกฎหมาย (CSIS/AMTI) |
การที่กระทรวงกิจการพลเรือนของจีนประกาศตั้งชื่อให้แก่เกาะและโขดหินนับสิบแห่งในทะเลตะวันออก รวมทั้งโครงสร้างกายภาพที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามและประกาศสิ่งที่เรียกว่า “เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” สังกัด “นครซานซา” เพื่อบริหารหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์สังกัดอธิปไตยของเวียดนามในทะเลตะวันออก ไม่เพียงแต่ถูกคัดค้านจากประชามติภายในประเทศเท่านั้น หากยังถูกประชาคมโลกประท้วงอย่างรุนแรงอีกด้วย
ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์และนักวิเคราะห์ระหว่างประเทศ การกระทำนี้ของจีนแสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานในการขยายอิทธิพล เพิกเฉยต่อกฎหมายสากลและสร้างภัยคุกคามต่อความมั่นคง สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ซึ่งการกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวที่ไม่เหมือนใครนี่ของจีนอาจทำให้จีนถูกโดดเดี่ยวตนเองจากประชาคมโลก
เหล้าเก่าในขวดใหม่
ในทางเป็นจริง การที่จีนเสนอ “ยุทธศาสตร์ซื่อซา”เป็นวิธีการใหม่เพื่อทดแทนยุทธศาสตร์แผนที่เส้นประ 9 เส้นที่ถูกศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศปฏิเสธเมื่อปี 2016 ซึ่งประเทศต่างๆได้รู้ทันถึงแผนการนี้ของจีน แต่การที่จีนจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” ในเขตทะเลสังกัดอธิปไตยของเวียดนามแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จีนจะมีการวางแผนอย่างรอบคอบ แต่ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลอย่างยิ่ง
ไม่มีโครงสร้างกายภาพใดในสิ่งที่เรียกว่า “ซานซา” ที่ถือว่าเป็นเกาะอาศัยตามคำวินิจฉัยปี 2016 ของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่จัดตั้งตามภาคผนวกที่ 7 ในคดีฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนในปีเดียวกัน และก็เหมือนกับโครงสร้างกายภาพอื่นๆในเขตที่จีนเรียกว่า ชูซาและตุงซา ก็ไม่สามารถถือว่าเป็นเกาะเช่นกัน ตัวอย่างเช่นชูซาหรือ Macclesfield Bank เป็นแนวปะการังใต้ทะเล ส่วนสำหรับจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีไหล่ทวีปนั้น การประกาศอธิปไตยต่อสิทธิที่พึงมีในทะเล รวมทั้งเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปและวาดเส้นฐานหรือ Baseline รอบโครงสร้างกายภาพใน “ซื่อซา” ไม่สามารถสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นแก่ตนเองได้ ในขณะที่โครงสร้างกายภาพบางแห่งซึ่งอาจถือว่าเป็นหินหรือปรากฏโครงสร้างเมื่อน้ำทะเลลดระดับ อาจอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศริมฝั่งทะเลเพื่อนบ้าน ดังนั้น การตัดสินใจเมื่อเร็วๆนี้ของจีนไม่สามารถเสริมสร้างพื้นฐานที่ไม่แน่นอนไม่มีอะไรรองรับและความทะเยอทะยานเกี่ยวกับคำประกาศอธิปไตยที่ไม่มีน้ำหนักในทะเลตะวันออกได้
ดังนั้นที่แท้คือ “ยุทธศาสตร์ซื่อซา” เป็นแผนขยายเส้นประ 9 เส้นที่จีนวาดขึ้นเองในทะเลตะวันออกเพื่อมุ่งครอบครองทะเลตะวันออกแต่เพียงผู้เดียว แต่ในทางเป็นจริง จีนเองได้สร้างช่องโหว่หลายช่องทางด้านนิตินัยเมื่อประกาศอธิปไตย
โดดเดี่ยวตนเองและสร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค
สิ่งที่น่ากล่าวถึงคือในขณะที่ทุกประเทศ ทุกภูมิภาคและประชาคมโลกกำลังต้องพยายามรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางการปักกิ่งกลับฉกฉวยโอกาสนี้เพื่อเดินหน้าแนวทางควบคุมโครงสร้างกายภาพและเขตทะเลต่างๆในทะเลตะวันออก ซึ่งการกระทำนี้กำลังสร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค ส่งผลกระทบในทางลบต่อกระบวนการเจรจาหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี และที่สำคัญกว่าคือ การกระทำนี้ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศใหญ่อย่างจีนในสายตาของประเทศต่างๆในภูมิภาคและโลก
บรรดานักวิเคราะห์และผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศแสดงความเห็นว่า การที่จีนฉกฉวย “โอกาสเชิงยุทศาสตร์และสร้างโครงสร้างกายภาพใหม่ในทะเลตะวันออก” แสดงให้เห็นอีกครั้งว่า จีนไม่ให้ความเคารพกฎหมายสากล มีเป้าประสงค์เพิ่มแรงกดดันและกลั่นแกล้ง โดยไม่สนใจถึงกฎหมายสากลและคำเรียกร้องที่ชอบธรรมของประเทศต่างๆในภูมิภาค
ด้วยการเคลื่อนไหวที่ละเมิดกฎหมายกาย จีนกำลังทำให้ชื่อเสียงและสถานะของการเป็นประเทศใหญ่แย่ลง ส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจและวิธีการมองของรัฐบาลต่างๆต่อทางการปักกิ่ง เพราะในฐานะประเทศใหญ่และเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จีนควรมีการกระทำที่เหมาะสม มีส่วนร่วมอย่างมีความรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกตามกฎหมายสากล แต่น่าเสียดายที่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ดูเหมือนว่ายังอยู่ไกลเอื้อมและประชามติโลกยังคงต้องรอการแสดงเจตนาที่ดีจากจีนต่อไป.