นิมิตหมายของเวียดนามในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน

(VOVWORLD) - เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมปี 1995 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือ AMM ครั้งที่ 28 ณ ประเทศบรูไน  ในตลอด 28 ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ปรับตัวและเข้าร่วมความร่วมมือในทุกด้านของอาเซียนอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง และมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อการธำรงความสามัคคีภายในกลุ่ม ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก การพัฒนาและความสำเร็จของอาเซียน
นิมิตหมายของเวียดนามในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน - ảnh 1นาย เก้า กึมฮอน เลขาธิการอาเซียน (VNA)

 

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมปี 1967 โดยมีสมาชิกดั้งเดิม 5 ประเทศ และค่อยๆ พัฒนาเป็นองค์กรความร่วมมือที่ใกล้ชิดและครอบคลุม รวม 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลายเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 ด้วยแนวทาง “มีความกระตือรือร้น เป็นฝ่ายรุกและมีความรับผิดชอบ” เวียดนามได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อความเป็นเอกภาพ ความสามัคคี ความมั่นคงและการพัฒนาของอาเซียน มีเสียงพูดในภูมิภาค และได้รับการยอมรับจากประเทศใหญ่ๆของโลก

 มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อการพัฒนาของอาเซียน                      

หลังจากเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน เวียดนามส่งเสริมให้อาเซียนรับประเทศลาว เมียนมาร์และกัมพูชาเข้าป็นสมาชิก อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นมหาสมุทรเพื่อให้จนถึงปี 1999 ความฝันเกี่ยวกับครอบครัวใหญ่อาเซียนที่ประกอบด้วย 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นจริง เวียดนามมีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา กำหนดการตัดสินใจที่สำคัญของอาเซียน เช่น สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 และแผนการปฏิบัติวิสัยทัศน์ เช่น แผนปฏิบัติการฮานอย  แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่สอง กฎบัตรอาเซียน แผนกระบวนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 แผนปฏิบัติงานในแต่ละเสาหลัก และข้อตกลงสำคัญๆ หลายฉบับ เช่น แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงอาเซียนหรือ MPAC และความคิดริเริ่มเพื่อการรวมตัวกันของอาเซียนหรือ IAI เพื่อลดช่องว่างระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกใหม่ นาย เก้ากึมฮอน เลขาธิการอาเซียนได้ย้ำถึงส่วนร่วมของเวียดนามในอาเซียนว่า

“นับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เวียดนามได้เป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นและมีส่วนร่วมที่สำคัญต่ออาเซียน ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ปฏิบัติหน้าที่ในคณะเลขาธิการอาเซียนหรือเป็นประเทศประสานงานกับหุ้นส่วนสนทนาก็ตาม เวียดนามเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นอยู่เสมอ และในฟอรั่มระหว่างประเทศ เวียดนามยังส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศอาเซียน อาจกล่าวได้ว่า เวียดนามเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้น เป็นฝ่ายรุกและมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในอาเซียนมาโดยตลอด”

เวียดนามไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมในการจัดทำและอนุมัติการตัดสินใจเท่านั้น หากในแต่ละระยะการพัฒนาของอาเซียน  เวียดนามได้ร่วมมือกับอาเซียนอย่างเข้มแข็งและจริงจังอยู่เสมอเพื่อแปรการตัดสินใจเข้าภาคปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติวิสัยทัศน์อย่างเป็นรูปธรรมและนำกฎบัตรอาเซียนเข้าสู่การปฏิบัติจริง ปัจจุบัน เวียดนามกำลังร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน ปฏิบัติตามคำมั่นและเสนอข้อคิดริเริ่มในหลายด้าน ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และแผนแบบบูรณาการใน 3 เสาหลักของประชาคม เวียดนามยังร่วมมือกับอาเซียนในทุกด้านด้วยขอบเขตและระดับที่กว้างลึกมากขึ้น ที่น่าสนใจคือ เวียดนามเป็นหนึ่งใน 2 ประเทศที่มีอัตราการปฏิบัติตามมาตรการที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในแผนแบบบูรณาการเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากที่สุด  รองจากสิงคโปร์

นิมิตหมายของเวียดนามในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน - ảnh 2นาย วีรามัลลา อันจายาห์ จากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาหรือ CSEAS 

พยายามยกระดับสถานะและบทบาทของอาเซียนบนเวทีระหว่างประเทศ

เวียดนามได้มีส่วนร่วมที่สำคัญมากมายในการขยายความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆ โดยเมื่อปี 2010 ในฐานะประธานอาเซียน เวียดนามได้ส่งเสริมการขยายการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรือ EAS เพื่อให้รัสเซียและสหรัฐเข้าร่วม เวียดนามยังประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน สหภาพยุโรปหรือ EU กับอินเดีย และกับญี่ปุ่น การมีส่วนร่วมของเวียดนามในประชาคมอาเซียนยังสะท้อนให้เห็นถึงจากความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมและการประชุมที่สำคัญๆของอาเซียน ซึ่งมีส่วนร่วมส่งเสริมความสามัคคีและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในอาเซียน ยกระดับชื่อเสียงของอาเซียนและสร้างนิมิตหมายในการเป็นประเทศเจ้าภาพผ่านความคิดริเริ่มที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น บทบาทการเป็นผู้นำของประธานหมุนเวียนอาเซียน

ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกได้รับผลกระทบจากการผันผวนอย่างซับซ้อนที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความมั่นคงและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามได้มีส่วนร่วมต่อกระบวนการจัดทำหลักการและ “กฎของเกม” เพื่อร่วมกับอาเซียนเพื่อรับมือความเสี่ยงที่คุกคามต่อสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันการสนทนา ความร่วมมือภายในกลุ่มและกับหุ้นส่วนต่างๆของอาเซียน นาย วีรามัลลา อันจายาห์ จากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาหรือ CSEAS ได้แสดงความเห็นว่า

“เวียดนามกำลังร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพกับประเทศสมาชิกเพื่อรับมือภัยคุกคามต่อสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค อีกทั้ง ส่งเสริมการเจรจาและความร่วมมือ เวียดนามได้มีบทบาทสำคัญในวิสัยทัศน์อาเซียนเกี่ยวกับอินโดแปซิฟิกหรือ AOIP เมื่อปี 2019 แถลงการณ์ว่าด้วยการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทะเลตะวันออกปี 2002 ปัจจุบัน เวียดนามกับประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังเจรจากับจีนเพื่อจัดทำหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือ COC อีกทั้ง สามัคคีกับอาเซียนในทุกโอกาสเพื่อมีส่วนร่วมต่อความสำเร็จของกลุ่ม และกำลังพยายามร่วมมือเพื่อสันติภาพ การพัฒนา และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค”

ด้วยแนวทางเป็นฝ่ายรุก มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบและยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการของอาเซียน  เวียดนามได้ร่วมกับประเทศสมาชิกพยายามนำขบวนเรือแห่งอาเซียนฟันฝ่าอุปสรรค เป็นฝ่ายรุกในการรับมือสถานการณ์ใหม่ ธำรงความร่วมมือและความเชื่อมโยงในภูมิภาค ยืนยันถึงบทบาทการเป็นศูนย์กลางและยกระดับสถานะของอาเซียนบนเวทีโลก ในอาเซียน เวียดนามได้ปรับตัวอย่างมั่นใจและกระตือรือร้นในเชิงรุกมากขึ้น ส่งเสริมบทบาทการเป็นหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือและสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของประชาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งชุมชนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไม่หยุดยั่ง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด