กระบวนการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือRCEPเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี2017และจะเสร็จสิ้นลงในปลายปีนี้ตามกำหนดการ ปัจจุบันทุกฝ่ายสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเจาะตลาดของสินค้าและการบริหารร้อยละ80ได้โดยพื้นฐาน แต่เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์โอกาสที่ได้จากข้อตกลงนี้ อาเซียนจะต้องมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าภายในกลุ่มก่อน เพื่อค้ำประกันให้ทั้งภูมิภาคสามารถได้รับประโยชน์ จากความร่วมมือและการผสมผสานทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างเต็มที่
ลดกำแพงกีดกันทางการค้าภายในกลุ่ม
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat)ครั้งนี้ บรรดารัฐมนตรีอาเซียนได้ลงนามข้อตกลงสำคัญ2ฉบับคือ ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าและการบริการอาเซียน(ATISA)และพิธีสารฉบับที่4เกี่ยวกับการแก้ไขข้อตกลงการลงทุนในทุกด้านอาเซียน (ACIA) โดยข้อตกลง ATISA มีเป้าหมายปรับปรุงมาตรฐานด้านการบริการในภูมิภาค ลดการกีดกันที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและการบริหารในอาเซียน ซึ่งจะเอื้อให้แก่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว การดูแลสุขภาพ โรงแรม ร้านอาหาร การก่อสร้าง การจัดนิทรรศการและการประชุม ส่วนพิธีสาร ACIA จะช่วยแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขต่างๆต่อนักลงทุนต่างชาติเพื่อกระตุ้นการลงทุนในภูมิภาค
นอกจากนั้นที่ประชุมยังเห็นพ้องผลักดันการปฏิบัติระบบวันสต็อปเซอร์วิสอาเซียนเพื่อเอื้อให้การทำระเบียบการด้านศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดนอย่างรวดเร็ว ระบบวันสต็อปเซอร์วิสอาเซียนหรือASWจะช่วยผลักดันการค้าผ่านแดนด้วยการอนุญาตให้ทำระเบียบการด้านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งทำให้เวลาที่สินค้าต้องเข้าคลังรอ ณ ด่านชายแดนลดลงจาก10วันเหลือแค่3วัน ซึ่งปัจจุบันประเทศอาเซียนกำลังเร่งปฏิบัติระบบนี้เพื่อทดลองการใช้แบบฟอร์มรับส่งข้อมูลการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศอาเซียน นางวิกตอเรีย รองประธานธนาคารโลกย่านเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกประเมินว่า
“ต้องชื่นชมรัฐบาลของประเทศอาเซียนที่ได้มีความพยายามในการปฏิบัติระบบวันสต็อปเซอร์วิสอาเซียนเพราะนี่คือพื้นฐานที่สำคัญ ถึงแม้จะยังต้องปรับปรุงกลไกนี้ให้สมบูรณ์ต่อไปแต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ส่วนรัฐบาลประเทศต่างๆต้องวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติกลไกดังกล่าวมีประสิทธิภาพและถูกต้องเพื่อกระตุ้นการค้าระหว่างประเทศ”
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับเป้าหมายการผสมผสาน
ในปีที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ไทยได้กำหนด13เป้าหมายทางเศรษฐกิจเพื่อเร่งผลักดันการผสมผสานของภูมิภาคตาม3เสาหลักสำคัญคือ สนับสนุนอาเซียนเตรียมพร้อมให้แก่การปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0 การผลักดันให้อาเซียนเชื่อมโยงกันผ่านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และเสาหลักอันดับ3คือการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน
ปัจจุบันอาเซียนเป็นองค์กรแห่งภูมิภาคที่มีข้อตกลงการค้าเสรีมากที่สุด ซึ่งในวิสัยทัศน์ปี2025 ท่ามกลางแนวโน้มการต่อต้านโลกาภิวัตน์ และการคุ้มครองการค้านั้นอาเซียนก็ยังคงธำรงการปฏิบัตินโยบายภูมิภาคเปิดต่อไป อันจะเปิดโอกาสใหญ่ให้แก่การผสมผสานกับเศรษฐกิจโลกอย่างสมบูรณ์ของอาเซียน ในกระบวนการนั้น เวียดนามจึงมีแนวทางผลักดันความร่วมมือในกลุ่ม พร้อมกับอาเซียนขยายความร่วมมือกับหุ้นส่วนนอกกลุ่มและข้อตกลง หุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือRCEPคือข้อตกลงที่ได้รับความรอคอย นายเหงวียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศ หัวหน้าซอมเวียดนามแสดงความเห็นว่า
“พวกเราอยากผลักดันการค้าภายในกลุ่ม ซึ่งเวียดนามไม่เพียงแต่ผสมผสานในอาเซียนเท่านั้นหากยังผสมผสานกับอีกหลายประเทศในโลก เมื่อเวียดนามผลักดันการผสมผสานกับเศรษฐกิจโลกก็จะมุ่งเพิ่มมูลค่าการค้ากับอาเซียนให้สูงขึ้น”
ขณะนี้ เวียดนามเป็นหนึ่งใน5ประเทศอาเซียนที่มีการแลกเปลี่ยนแบบฟอร์มรับส่งข้อมูลการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบวันสต็อปเซอร์วิสอาเซียน โดยตามข้อตกลงการค้าอาเซียนเวียดนามได้ยกเลิกการเก็บภาษีร้อยละ98 และเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีประธานอาเซียน2020 เวียดนามได้ประสานกับประเทศสมาชิกต่างๆในการปฏิบัติแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์เออีซี2025อย่างเข้มแข็ง พยายามนำอาเซียนพัฒนาให้อยู่ในกลุ่ม10เศรษฐกิจที่เข้มแข็งที่สุดของโลกในเวลาข้างหน้า.