ผลักดันนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคทางเพศ
Hong Van/VOV5 -  
(VOVWORLD) - การค้ำประกันสวัสดิการสังคมให้แก่การประชาชน รวมทั้งสตรีและเด็กหญิงคือนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนาม นี่คือหน้าที่สำคัญ ควบคู่กับหน้าที่พัฒนาเศรษฐกิจ โดยความพยายามผลักดันความเสมอภาคทางเพศผ่านนโยบายสวัสดิการสังคมของเวียดนามกำลังได้รับการผลักดันอย่างเข้มแข็งเพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ
นาง เหงียนถิห่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคม (molisa.gov.vn) |
ความเสมอภาคทางเพศคือการยืนยันว่าทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีสถานะและบทบาทที่เท่าเทียมกัน ได้รับการอำนวยความสะดวกและโอกาสเพื่อส่งเสริมความสามารถของตนในการพัฒนาครอบครัวและได้รับประโยชน์จากผลสำเร็จของการพัฒนาดังกล่าว โดยองค์กรระหว่างประเทศต่างๆได้ประเมินว่า เวียดนามคือประเทศที่สามารถขจัดช่องว่างระหว่างเพศได้อย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
การรับทราบถึงความคืบหน้า
การจัดทำและปรับปรุงกรอบกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศคือหนึ่งในเนื้อหาสำคัญที่พรรคและรัฐเวียดนามให้ความสนใจเพื่ออำนวยความสะดวกให้สตรีมีโอกาสเข้าถึงและเข้าร่วมด้านต่างๆของชีวิตสังคมมากขึ้น ช่องว่างด้านความเสมอภาคทางเพศใน 8 ด้านของชีวิตการเมือง เศรษฐกิจ วัฒธรรมและสังคมที่ถูกระบุในกฎหมายความเสมอภาคทางเพศเมื่อปี 2006 ได้รับการปรับลดเป็นอย่างมาก เป้าหมายหลายประเด็นของยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในช่วงปี 2011-2020 โดยเฉพาะเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ แรงงานและงานทำได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ของแผนการดังกล่าว
เวียดนามยังมีปฏิบัติการที่เข้มแข็งในการปฏิบัตินโยบาย กฎหมายเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ โดยเน้นถึงการจัดทำระบบสวัสดิการสังคมที่หลากหลายและรอบด้าน ซึ่งสิ่งนี้ถูกระบุในมติ 15 ของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 11 เกี่ยวกับ “ปัญหาบางประเด็นเกี่ยวกับนโยบายสังคมในช่วงปี 2012-2020” โดยยืนยันว่า จนถึงปี 2020 สามารถจัดทำระบบสวัสดิการสังคมที่เข้าถึงประชาชนทุกชั้นชน และเพื่อปฏิบัติมตินี้ รัฐบาลเวียดนามกำลังเน้นพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมให้สอดคล้องกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางและมาตรฐานสากลเพื่อค้ำประกันให้สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์นับวันดีขึ้น รวมทั้งสิทธิของสตรีและเด็ก ทุกปี รัฐบาลจัดงบร้อยละ 2.6 ของจีดีพีให้แก่นโยบายและโครงการช่วยเหลือด้านสังคม รวมทั้งสตรีและเด็กหญิง นาง เหงียนถิห่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้เผยว่า “ด้วยความพยายามและความมุ่งมั่นดังกล่าว บวกกับการสนับสนุนและการเข้าร่วมขององค์การระหว่างประเทศต่างๆและชุมชน เวียดนามได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้ามากมายในการปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศและเสร็จสิ้นเป้าหมายแห่งสหัสวรรษเกี่ยวกับการผลักดันความเสมอภาคทางเพศและยกระดับสถานะให้แก่สตรี ปี 2018 เวียดนามยังคงธำรงอัตราเจ้าของสถานประกอบการซึ่งเป็นสตรีอยู่ที่ร้อยละ 31.3 ในจำนวนเจ้าของสถานประกอบการทั้งหมดและอยู่อันดับที่ 6 จากจำนวนทั้งหมด 57 ประเทศในตารางการจัดอันดับดังกล่าวและเวียดนามเป็นประเทศเดียวของเอเชียที่อยู่ในกลุ่ม 10 ประเทศที่มีดัชนีดังกล่าวสูงสุดในโลกสามารถรักษาอันดับดัชนีเกี่ยวกับโอกาสและการเข้าร่วมเศรษฐกิจโลกของสตรี เวียดนามยังเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่ปฏิบัติเป้าหมายลำดับที่ 5 ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกี่ยวกับการผลักดันความเสมอภาคทางเพศและมอบสิทธิให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคนของสหประชาชาติ”
ปรับปรุงนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคทางเพศต่อไป
ถึงแม้เวียดนามได้ลดช่องว่างเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ แต่ในสภาวการณ์แห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก ตลอดจนการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 นี่คือช่วงเวลาเพื่อให้เวียดนามปฏิบัติก้าวเดินที่ดีขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่อาศัยผลิตภาพแรงงานในระดับสูงและการสร้างงานทำที่เหมาะสม ในสภาวการณ์ดังกล่าว เพื่อผลักดันการปฏิบัติเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศและปรับปรุงระบบสวัสดิการสังคมให้มีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะมุ่งสู่สตรีและเด็ก รัฐมนตรีช่วย เหงียนถิห่า แสดงความเห็นว่า “หนึ่งในเนื้อหาสำคัญของสวัสดิการสังคมคือผลักดันงานทำอย่างยั่งยืนและพัฒนาตลาดแรงงาน ดังนั้น การสร้างงานทำ รายได้สูงและมั่นคงผ่านการฝึกสอนอาชีพ เงินกู้เพื่อสร้างงานทำ เข้าถึงข้อมูลตลาดแรงงาน ยกระดับคุณภาพบริการภาครัฐให้แก่แรงงานสตรีคือมาตรการแก้ปัญหาความยากจนและค้ำประกันการมีงานทำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน”
นอกจากนั้น เวียดนามกำลังส่งเสริมการแก้ไขประมวลกฎหมายแรงงานฉบับปัจจุบันซึ่งจะยื่นเสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณาในเดือนพฤษภาคมปี 2019 นี่คือโอกาสเพื่อเพิ่มเติมกลไกนโยบายผลักดันความเสมอภาคทางเพศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ โดยเฉพาะวิธีการเข้าถึง “การปกป้องแรงงานสตรี” ของข้อกำหนดในปัจจุบันให้เป็นวิธีการเข้าถึง “การผลักดันความเสมอภาคทางเพศ” เพื่อช่วยให้เวียดนามสามารถกลายเป็นประเทศนำหน้าในภูมิภาคในการให้ความเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน สร้างพื้นฐานให้แก่การผลักดันผลผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ
ในกระบวนการพัฒนาประเทศ นอกจากการค้ำประกันอันตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การตระหนักได้ดีเกี่ยวกับความต้องการของการผลักดันความก้าวหน้าและความยุติธรรมทางสังคม โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงสตรีและเด็กหญิงคือปัจจัยที่มีส่วนรวมค้ำประกันสิทธิมนุษยชนและยกระดับคุณภาพการขยายตัวของเวียดนาม.
Hong Van/VOV5