ยุโรปกับวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเสาหลักความมั่นคงใหม่

(VOVWORLD) -  เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ในการกล่าวปราศรัยในการประชุมความมั่นคงมิวนิก นาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้กล่าวถึงกำหนดการวิสัยทัศน์เกี่ยวกับยุโรปที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารใหม่ ซึ่งหมายถึงการมีอิสระและการพึ่งพาตนเองมากขึ้นของยุโรปในปัญหาความมั่นคง ตลอดจนแผนการจัดตั้งกองทัพยุโรป วิสัยทัศน์เกี่ยวกับเสาหลักความมั่นคงใหม่ที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวถึงได้ทำให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้มีความกังวล
ยุโรปกับวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเสาหลักความมั่นคงใหม่ - ảnh 1นาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส (EPA)

 

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง เคยยืนยันว่า ยุโรปไม่สามารถพึ่งพาสหรัฐในปัญหาความมั่นคงได้อีกต่อไป พวกเราต้องพึ่งตนเอง และด้วยวิสัยทัศน์เกี่ยวกับยุโรปที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารใหม่ที่นาย เอ็มมานูเอล มาครง เสนอในการประชุมความมั่นคงมิวนิกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงแนวทางการพึ่งตนเองของยุโรปในปัญหาความมั่นคง

วิสัยทัศน์เกี่ยวกับยุโรปที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารใหม่

ในฐานะผู้นำของประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์เพียงหนึ่งเดียวในสหภาพยุโรปหรืออียู ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้กล่าวถึงปัญหานิวเคลียร์ของยุโรปและระบุถึงจุดแตกต่างหลักในยุคสงครามเย็นเมื่อระบบป้องกันขีปนาวุธของยุโรปส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยสหรัฐ นาย มาครง เชื่อมั่นว่า ยุโรปต้องมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในการป้องกันตนเอง การผลักดันการป้องกันตนเองคือสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากเหตุผลด้านอธิปไตย มิใช่โครงการต่อต้านหรือทดแทนนาโต้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเชื่อมั่นว่า ยุโรปเรียกร้อง “ความสามารถในการมีปฏิบัติการ” อย่างอิสระ ปัญหานิวเคลียร์ต้องได้รับการบริหารเมื่อร่วมมือกับนาโต้

บทสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นการสานต่อแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงยุโรปที่ประธานาธิบดีเยอรมนี ฟรังค์-วัลเทอร์ชไตน์ไมเออร์และรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี ไฮโคมาส ได้เสนอในการประชุมความมั่นคงมิวนิกก่อนหน้านั้นที่เรียกร้องให้สร้างสรรค์ “พันธมิตรความมั่นคงและกลาโหมยุโรป” ซึ่งถือเป็นเสาหลักที่เข้มแข็งของยุโรปในนาโต้ รัฐบาลเยอรมนีพร้อมเข้าร่วมอย่างเข้มแข็งมากขึ้น รวมทั้งการใช้ปฏิบัติการทางทหารผ่านนโยบายของยุโรป ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี อันเนเกรตครัมป์-คาร์เรนบาวเออร์ได้เรียกร้องให้ทางการเบอร์ลินต้องมีท่าทีที่เข้มแข็งมากขึ้นในนโยบายความมั่นคง

ความไม่พอใจของนาโต้

 แต่อย่างไรก็ตาม การที่ยุโรปที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารมากขึ้นคือแนวคิดที่ทำให้นาโต้ไม่พอใจ ซึ่งนับตั้งแต่ยุโรปมีแนวคิดก่อตั้งกองทัพร่วมกัน เลขาธิการองค์การนาโต้ เจนส์สโตลเทนเบิร์ก ก็เคยย้ำว่า การที่ยุโรปต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นในด้านความมั่นคง ไม่ได้หมายความว่า ยุโรปจะปฏิบัติความรับผิดชอบนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่มีสหรัฐ ตามความเห็นของนาย เจนส์สโตลเทนเบิร์ก ความพยายามที่เป็นฝ่ายรุกมากขึ้นในปัญหาความมั่นคงของยุโรปอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและทำให้นาโต้อ่อนแอลง และในครั้งนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้น ในการตอบคำถามของสื่อมวลชนนอกรอบการประชุมความมั่นคงมิวนิก เลขาธิการนาโต้ เจนส์สโตลเทนเบิร์ก ได้ให้ข้อสังเกตว่า ปัจจุบัน นาโต้มีระบบต่อต้านนิวเคลียร์ในยุโรป ซึ่งระบบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถและเป็นการค้ำประกันความมั่นคงสุดท้ายให้แก่ยุโรป

เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นาโต้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้ยืนยันว่า นี่ไม่ใช่โครงการต่อต้านนาโต้ หรือทดแทนนาโต้ หากยุโรปอยากสร้างเสาหลักความมั่นคงเพิ่มเติมนอกจากเสาหลักในปัจจุบันคือนาโต้ และ2 เสาหลักนี้ต่างมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันคือ “ค้ำประกันอธิปไตยของยุโรป” สำหรับยุโรป แม้ความรับผิดชอบด้านความมั่นคงจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม แต่นี่ก็ถือเป็นปัญหาที่เร่งด่วนและลดการพึ่งพาสหรัฐในด้านความมั่นคง

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ยุโรปนับวันอยากมีอิสระในด้านความมั่นคงด้วยการลดการพึ่งพาอิทธิพลของสหรัฐ ซึ่งสิ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างยุโรปกับสหรัฐซึ่งเป็น 2 หุ้นส่วนสำคัญที่ก่อตั้งนาโต้ ถึงแม้ยุโรปและสหรัฐจะเคยร่วมมือและเคยอยู่เคียงข้างกันในยุทธศาสตร์ใหญ่ๆ แต่ “2 หุ้นส่วนในชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก” ยังมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน จนนำไปสู่วิธีการเข้าถึงที่แตกต่างกันในหลายปัญหา โดยเฉพาะนับตั้งแต่ที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับยุโรปก็ได้ตกเข้าสู่ภาวะ “ไม่ราบรื่น” โดยสหรัฐได้สร้างแรงกดดันต่อยุโรปหลายครั้งเพื่อบังคับให้แบ่งเบาภาระในนาโต้มากขึ้น อีกทั้งการพบปะครั้งต่างๆของนาย โดนัลด์ ทรัมป์กับผู้นำของยุโรปในกรอบนาโต้ก็ประสบความล้มเหลว

ประเทศยุโรปยังแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการกดดันของสหรัฐหรือการที่ทางการของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ JCPOA ที่ทำกับอิหร่านและสนธิสัญญานิวเคลียร์พิสัยกลางหรือ INF ที่ทำกับรัสเซีย ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับลัทธิพหุภาคี และยุโรปก็มีความกังวลเป็นอย่างมากว่า สหรัฐจะยุติความรับผิดชอบด้านความมั่นคงต่อภูมิภาคนี้

ทั้งนี้ การที่ยุโรปเป็นฝ่ายรุกในการรักษาความมั่นคงและลดการพึ่งพาสหรัฐเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แม้ก็ยังไม่ชัดเจนว่า วิสัยทัศน์เกี่ยวกับยุโรปที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารใหม่จะกลายเป็นความจริงหรือไม่ แต่สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ยุโรป รวมทั้งประเทศชั้นนำที่มีบทบาทสำคัญในยุโรป อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนีกำลังมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในเชิงรุกต่อปัญหาด้านความมั่นคง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด