วิกฤต์การเมืองระลอกใหม่ในประเทศไทย

(VOVworld) - ตามที่บรรดานักวิเคราะห์ได้เตือนก่อนหน้านี้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้นจะจุดชนวนให้ความตึงเครียดและความไม่สงบทางการเมืองในไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งคำเตือนดังกล่าวได้เกิดขึ้นจริงแล้วโดยในหลายวันที่ผ่านมา สถานการณ์ได้มีความรุนแรงมากขึ้นจนอาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้
(VOVworld) - ตามที่บรรดานักวิเคราะห์ได้เตือนก่อนหน้านี้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้นจะจุดชนวนให้ความตึงเครียดและความไม่สงบทางการเมืองในไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งคำเตือนดังกล่าวได้เกิดขึ้นจริงแล้วโดยในหลายวันที่ผ่านมา สถานการณ์ได้มีความรุนแรงมากขึ้นจนอาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้
วิกฤต์การเมืองระลอกใหม่ในประเทศไทย - ảnh 1
เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง (Photo AP)

เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง

            จากท่าทีที่ถือว่า “เพิ่มความตึงเครียดยิ่งขึ้น” เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ศาลอาญาของไทยได้อนุมัติออกหมายจับแกนนำกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรวงเป็นประมุขหรือกปปส. 30 คนในฐานความผิดรวม 8 ข้อหา ซึ่งหลังจากนั้นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส.ก็ได้ออกแถลงทันทีว่า ถ้าหากวุฒิสภาไม่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนกลาง ทางกลุ่มก็จะทำการยึดอำนาจและจัดตั้งสภาประชาชนเพื่อบริหารประเทศ
            นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมกปปส.นับร้อยคนได้ปิดล้อมโรงเรียนนายเรืออากาศ ซึ่งนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีกำลังประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้งจนทำให้การประชุมล่มกลางคันและยังเกิดการปะทะระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและได้รับบาดเจ็บ 22 คน  ในสภาวการณ์ดังกล่าว นาย ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งไทยได้เรียกร้องให้เลื่อนเวลาจัดการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ออกไป
ความขัดแย้งและความแตกแยก
ปัญหาความขัดแย้งในขณะนี้คือรัฐบาลรักษาการต้องการให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ดีที่สุดเพื่อแก้ไขวิกฤตและหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง แต่กลุ่มกปปส.ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นแกนนำกลับยืนยันจุดยืนคือ ต้องยุติบทบาทของครม.ชุดปัจจุบันทั้งหมดโดยอ้างว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่มีความชอบธรรมและต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลางขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่
            แม้จะยอมรับว่า การที่รักษาการนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัติถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้นเป็นชัยชนะแรกในแผนการยุติระบอบทักษิณบนเวทีการเมืองไทยแต่กลุ่มกปปส.ยังคงถือว่าไม่เพียงพอเพราะครม.ของพรรคเพื่อไทยของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังคงทำหน้าที่รักษาการและเดินหน้าจัดการเลือกตั้งในวันที่ 20 กรกฎาคมต่อไป
            ในขณะเดียวกัน กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลได้กล่าวหาว่า กลุ่มกปปส.พร้อมกับพรรคการเมืองและองค์กรอิสระบางองค์กรกำลังวางแผนทำลายระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งอย่างสุดขีดโดยพรรคเพื่อไทยได้กล่าวหาว่า กลุ่มนี้ได้ใช้วิธีเดิมที่เคยปฏิบัติมาหลายปีคือยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทยโดยมุ่งเป้าไปยังนายกรัฐมนตรีจากทั้งสามพรรคดังกล่าว และเป้าหมายสุดท้ายคือกีดขวางการเลือกตั้งที่ถูกกำหนดไว้แล้วเพื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
            ข้อกล่าวหาของพรรคเพื่อไทยได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผร็จการหรือนปช. ซึ่งให้การสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี หลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี กลุ่มนปช.ได้แถลงว่า จะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยนี้โดยจะเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพฯเพื่อประท้วง และที่น่ากังวลมากกว่านี้ก็คือ กลุ่มที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นที่มั่นของกลุ่มนปช.ก็แสดงท่าทีที่แข็งกร้าวและขู่ว่า จะเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพฯเพื่อต่อสู้ครั้งสุดท้าย
วิกฤต์การเมืองระลอกใหม่ในประเทศไทย - ảnh 2
กองทัพอาจต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูความสงบ (Photo Reuters)

วิกฤต์ระลอกใหม่แต่บทเก่า

            การเลือกตั้งทั่วไปแม้จะมีขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคมศกนี้หรือในวันไหนก็ตามก็ยากที่จะปฏิบัติได้เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลประกาศจะขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้เกิดขึ้นมาแล้วในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพราะกลุ่มกปปส.ได้ปิดล้อมสถานที่เลือกตั้งและขัดขวางผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจนทำให้ต้องปิดจุดเลือกตั้งหลายแห่ง
            จากสถานการณ์ปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองในไทยยังคงซับซ้อนต่อไป จนยากที่คาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและมีความเป็นไปได้สูงที่ความตึงเครียดจะรุนแรงมากขึ้นถ้าหากทุกฝ่ายไม่มีความอดกลั้นโดยชนวนอาจจะมาจากการปะทะระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาล ซึ่งอาจเกิดความสูญเสียและอาจกลายเป็นสงครามกลางเมือง ขณะนี้ยังไม่เห็นมาตรการใดที่สามารถปลดชนวนความตึงเครียดในไทยได้ บรรดานักวิเคราะห์ยังแสดงความกังวัลว่า กองทัพอาจต้องเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์เพราะเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ผู้บัญชาการทหารบกได้เตือนว่า “ถ้าหากการใช้ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นต่อไป กองทัพอาจต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองให้กลับคืนมา โดยอาจต้องใช้อาวุธเพื่อแก้ไขสถานการณ์” ซึ่งถ้าหากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง การเมืองไทยก็ต้องรับมือกับอนาคตที่ไร้เสถียรภาพอย่างหนัก ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด