วิกฤตในนากอร์นี-คาราบาคห์เสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันที่ยืดเยื้อ

(VOVWORLD) - วิกฤตในนากอร์นี-คาราบาคห์ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอาเซอร์ไบจานแต่กลับเป็นพื้นที่ที่เกิดการพิพาทกับอาร์เมเนียมาเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษกำลังตกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน ในขณะที่ความพยายามเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ประสบความล้มเหลว ประชาชนเกือบทั้งหมดในภูมิภาคนี้กำลังลี้ภัยไปยังอาร์เมเนีย
วิกฤตในนากอร์นี-คาราบาคห์เสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันที่ยืดเยื้อ - ảnh 1ทหารอาเซอร์ไบจานลาดตระเวน ณ จุดตรวจผ่านแดนในเมือง Shusha หลังจากเกิดการปะทะกับทหารอาร์เมเนียในภูมิภาค Nagorno-Karabakh (AFP)

นากอร์นี-คาราบาคห์ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศว่า เป็นดินแดนของอาเซอร์ไบจาน แต่ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวอาร์เมเนียส่วนใหญ่ ทำให้ในตลอดกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นากอร์นี-คาราบาคห์เป็นจุดร้อนในภูมิภาคคอเคซัสใต้ หลังจากเกิดการปะทะเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พื้นที่แห่งนี้ได้ตกเข้าสู่ความไร้เสถียรภาพครั้งใหม่

ความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติด้านมนุษยธรรม

ในช่วงปีต้นๆยุค90  หลังความผันผวนทางการเมืองในยุโรป รวมทั้งภูมิภาคคอเคซัส กองกำลังแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนอาร์เมเนียในนากอร์นี-คาราบาคห์ได้ประกาศแยกภูมิภาคนี้ออกจากอาเซอร์ไบจานซึ่งทำให้อาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียเกิดการปะทะตลอดเวลาจนนำไปสู่การเกิดสงครามเมื่อปี 2020 และเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา กองทัพอาเซอร์ไบจานได้ทำการรบแบบสายฟ้าแลบและสามารถยึดคืนอำนาจการควบคุมนากอร์นี-คาราบาคห์ภายในเวลาเพียง1วัน ซึ่งการปะทะครั้งนี้กำลังสร้างความผันผวนในภูมิภาค โดยในประกาศเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ทางการอาร์เมเนียเผยว่า ประชาชนในนากอร์นี-คาราบาคห์ กว่า 100,000 คน จากทั้งหมด 120,000 คน ได้อพยพหนีไปยังอาร์เมเนียหลังจากที่ทางการปกครองเขตนากอร์นี-คาราบาคห์ประกาศยอมแพ้ต่อกองทัพอาเซอร์ไบจาน ส่วนทางด้านประชาคมระหว่างประเทศ เนื่องด้วยความกังวลต่อสถานการณ์โกลาหลในนากอร์นี-คาราบาคห์ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี สหประชาชาติได้ส่งคณะเฉพาะกิจมาตรวจสอบสถานการณ์ของเขตพิพาทนี้

จากการประเมินเบื้องต้นของคณะเฉพาะกิจของสหประชาชาติเมื่อต้นสัปดาห์นี้ เมืองสเตปานาเคิร์ตซึ่งเป็นเมืองเอกของนากอร์นี-คาราบาคห์ และเมืองอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายมากนักจากการสู้รบเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา แต่เกือบจะกลายเป็น “ดินแดนที่ตายแล้ว” เพราะประชาชนที่นี่ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายอาร์เมเนียได้อพยพออกจากเมืองเนื่องจากมีความวิตกกังวลด้านความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความมั่นคง นาย Marco Succi ผู้นำคณะกรรมการกาชาดสากลหรือ ICRC เผยว่า กิจกรรมทั้งหมดในนากอร์นี-คาราบาคห์ใกล้เข้าสู่ภาวะหยุดชะงัก

“นับตั้งแต่ที่เรามาถึงที่นี่ เมืองนี้ก็ถูกทิ้งร้างโดยสิ้นเชิง โรงพยาบาลไม่มีคนมาทำงาน ส่วนสำนักงานภาครัฐก็หยุดดำเนินการ บรรยากาศที่นี่เงียบกริบแบบเมืองร้างอย่างไม่น่าเชื่อ”

กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตกเข้าสู่ภาวะหยุดชะงักในนากอร์นี-คาราบาคห์กำลังเพิ่มความเสี่ยงด้านวิกฤตมนุษยธรรม องค์การอนามัยโลกหรือ WHO เตือนว่า ปัจจุบัน ประชาชนที่เหลือในพื้นที่นากอร์นี-คาราบาคห์กำลังตกเข้าสู่ภาวะที่เป็นอันตรายเนื่องจากขาดแคลนยารักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง รวมถึงปัญหาคุณภาพน้ำที่ไม่สะอาดก็อาจทำให้เกิดปัญหาโรคระบาดที่ซับซ้อน

สถานการณ์ความตึงเครียดกำลังบานปลายไปยังอาร์เมเนียเนื่องจากความใกล้ชิดทางชาติพันธุ์  โดยปัจจุบัน อาร์เมเนียเป็นจุดหมายปลายทางเพียงแห่งเดียวสำหรับผู้ลี้ภัยจากนากอร์นี-คาราบาคห์ แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สังเกตการณ์แสดงความเห็นว่า การแก้ไขปัญหาเกิดจากกระแสผู้อพยพกว่า 100,000 คนเป็นภาระทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงต่อรัฐบาลอาร์เมเนีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรไม่ถึง 2.8 ล้านคน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้การช่วยเหลืออาร์เมเนียโดยด่วนเนื่องจากระบบสาธารณสุขของประเทศนี้ต้องการพยาบาล 2,000 คนและแพทย์ 2,200 นายเพื่อรับมือกระแสผู้ลี้ภัยที่มีอาการป่วยเป็นจำนวนมาก

วิกฤตในนากอร์นี-คาราบาคห์เสี่ยงที่จะตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันที่ยืดเยื้อ - ảnh 2นาย อิลฮัม  แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน (azernews.az)

การเจรจาตกเข้าสู่ภาวะหยุดชะงัก

ในสภาวการณ์ที่วิกฤตด้านมนุษยธรรมกำลังมีความร้ายแรงมากขึ้นนั้นความพยายามในการแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาทางการเมืองเพื่อปรับเสถียรภาพในนากอร์นี-คาราบาคห์ก็ตกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นาย อิลฮัม  แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานได้ประกาศยกเลิกการเจรจากับนาย นิโคล พาชิเนียน นายกรัฐมนตรีอาร์เมเนีย ที่ประเทศสเปน นอกรอบการประชุมสุดยอดประชาคมการเมืองยุโรป นี่คือการประชุม 5 ฝ่าย ซึ่งจัดโดยสภายุโรปหรือ EU และ 2 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนีและฝรั่งเศส ด้วยเป้าหมายแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างสันติระยะยาวให้แก่เขตนากอร์นี-คาราบาคห์

ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ หนึ่งในเหตุผลที่อาเซอร์ไบจานยกเลิกการพบปะครั้งนี้ก็เนื่องจากอาเซอร์ไบจานเสนอให้ตุรกีซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของอาเซอร์ไบจานเข้าร่วมการเจรจาด้วย แต่ถูกฝ่ายยุโรปปฏิเสธ นาย Olesya Vartanyan นักวิเคราะห์ปัญหาภูมิภาคคอเคซัสใต้ขององค์กรวิจัยวิกฤตระหว่างประเทศได้แสดงความเห็นว่า ความขัดแย้งที่เกิดจากปัญหาแรกๆคือวิธีการเจรจาถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงที่ความขัดแย้งในเขตนากอร์นี-คาราบาคห์จะมีความรุนแรงมากขึ้น

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นาย โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับนาย อิลฮัม  แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน โดยผู้นำรัฐบาลเยอรมนีได้แสดงความเห็นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตในนากอร์นี-คาราบาคห์ต้องทำทุกอย่างเพื่อฟื้นฟูการเจรจาระหว่างอาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนีย ป้องกันการเผชิญหน้าทางทหาร และส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ นอกจากสภายุโรป ฝรั่งเศสและเยอรมนีแล้ว ก็มีประเทศอื่นๆ ที่ออกมาสนับสนุนการแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาทางการเมืองให้แก่นากอร์นี-คาราบาคห์ โดยทางการอิหร่านเสนอกลไกการเจรจา 3+3 ที่มี3 ประเทศในคอเคซัสใต้ ได้แก่ อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจานและจอร์เจีย และ 3 ประเทศเพื่อนบ้าน คือตุรกี อิหร่านและรัสเซีย

ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ แม้กลไกนี้สามารถค้ำประกันความสมดุลทางผลประโยชน์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค แต่ก็ต้องเผชิญกับข้อจำกัดต่างๆ เนื่องจากไม่มีการเข้าร่วมของประเทศมหาอำนาจจากภายนอก เช่น สหภาพยุโรปและสหรัฐ ซึ่งปัจจัยนี้อาจทำให้วิกฤติในนากอร์นี-คาราบาคห์ยืดเยื้อออกไป เนื่องจากภูมิภาคคอเคซัสใต้นับวันกลายเป็นพื้นที่ที่สำคัญในการแย่งชิงอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด