สถานการณ์ตึงเครียดระลอกใหม่ในตะวันออกกลาง

(VOVworld) – การที่ซาอุดิอาระเบียประหารชีวิตนักโทษฐานก่อการร้าย 47 คน รวมทั้งซิคนิมร์ อัลนิมร์ ผู้นำศาสนาคนสำคัญของนิกายชีอะห์กำลังถูกตำหนิอย่างรุนแรงจากประชาคมโลกและได้ทำให้เกิดการประท้วงในชุมชนชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะทำให้ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียรุนแรงมากขึ้นซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ได้เตือนว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในทางลบที่รุนแรงต่อภูมิภาค

(VOVworld)การที่ซาอุดิอาระเบียประหารชีวิตนักโทษฐานก่อการร้าย 47 คน รวมทั้งซิคนิมร์ อัลนิมร์ ผู้นำศาสนาคนสำคัญของนิกายชีอะห์กำลังถูกตำหนิอย่างรุนแรงจากประชาคมโลกและได้ทำให้เกิดการประท้วงในชุมชนชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะทำให้ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียรุนแรงมากขึ้นซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ได้เตือนว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในทางลบที่รุนแรงต่อภูมิภาค

สถานการณ์ตึงเครียดระลอกใหม่ในตะวันออกกลาง - ảnh 1
กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงการประหารชีวิตซิคนิมร์ อัลนิมร์


การประหารชีวิตซิค นิมร์ อัล-นิมร์พร้อมนักโทษ 46 คนได้สร้างความแตกแยกที่รุนแรงมากขึ้นในตะวันออกกลางซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งและความรุนแรงเนื่องจากปัญหาศาสนาอย่างต่อเนื่อง การชุมนุมประท้วงได้เกิดขึ้นตามถนนสายต่างๆซึ่งสร้างความแตกร้าวที่รุนแรงในความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค
การเคลื่อนไหวที่ตึงเครียด

ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 มกราคม ซาอุดิอาระเบียได้ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า พร้อมทั้งประกาศคำขีดเส้นตายให้บรรดานักการทูตของอิหร่านต้องเดินทางออกจากประเทศนี้ภายในเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากซาอุดิอาระเบียออกคำประกาศดังกล่าวไม่กี่ชั่วโมง ประเทศบาห์เรน ซูดานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตซึ่งเป็นพันธมิตรของซาอุดิอาระเบียและอยู่ภายใต้การนำของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ก็ได้ออกมาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตและลดระดับความสัมพันธ์กับอิหร่าน การประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตได้มีขึ้นหลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมอิหร่านบุกเผาสถานทูตซาอุดิอาระเบีย ณ กรุงเตหะรานเพื่อคัดค้านการที่ซาอุดิอาระเบียประหารชีวิตซิค นิมร์ อัล-นิมร์ ผู้นำศาสนาคนสำคัญของนิกายชีอะห์
การประหารชีวิตซิค นิมร์ อัล-นิมร์ ผู้นำศาสนาคนสำคัญนิกายชีอะห์ถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากประชาคมโลก โดยเฉพาะชุมชนชาวมุสลิมโดยนาย อาลี คาเมไน ผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณของอิหร่านได้ประกาศว่า ซาอุดิอาระเบียจะต้องเผชิญกับการแก้แค้นศักดิ์สิทธิ์ ส่วนกองกำลังพิเศษปฏิวัติอิหร่านได้ประกาศยืนยันถึงการเสียชีวิตของซิค นิมร์ อัล-นิมร์และสาบานว่า จะโค่นล้มราชวงศ์ซาอุดิอาระเบีย นอกจากนั้นก็ได้เกิดการชุมนุมประท้วงในประเทศต่างๆในภูมิภาคซึ่งมีชาวมุสลิมนิกายชีอะห์อาศัยเป็นจำนวนมากโดยที่อิรัก กลุ่มผู้ชุมนุมนับร้อยคนได้เดินขบวนประท้วง ณ เมืองศักดิ์สิทธิ์ Karbala ของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ส่วนนายKhalaf Abdelsamad ซึ่งเป็นนักวางกฎหมายได้เรียกร้องให้ปิดสถานทูตของซาอุดิอาระเบียในกรุงแบกแดดและเร่งรัดให้รัฐบาลเนรเทศเอกอัครราชทูตของซาอุดิอาระเบีย ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้และประณามการประหารชีวิตว่าเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม พร้อมทั้งเร่งรัดให้บรรดาผู้นำในตะวันออกกลางพยายามลดความตึงเครียดในภูมิภาค ส่วนนาย บันคีมูน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในภูมิภาคต้องอดทนอดกลั้นและแสวงหาทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สถานการณ์ทางศาสนามีความตึงเครียดมากขึ้น

สถานการณ์ตึงเครียดระลอกใหม่ในตะวันออกกลาง - ảnh 2
ผู้ชุมนุมยกภาพถ่ายซิคนิมร์ อัลนิมร์ (AP)

สานต่อการปะทะในอดีต
ซิค นิมร์ อัล-นิมร์ ผู้นำศาสนานิกายชีอะห์ที่มีเสียงพูดที่มีน้ำหนักในซาอุดิอาระเบียโดยเคยติติงพระราชวงศ์ซาอุดิอาระเบียหลายครั้งและเรียกร้องให้จัดการชุมนุมเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตย เมื่อปี 2012 นาย ซิคนิมร์ อัล-นิมร์ ถูกกล่าวหาว่า อยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีใส่กองกำลังตำรวจและถูกจับกุมตัว เมื่อเดือนตุลาคมปี 2015 ศาลสูงสุดของซาอุดิอาระเบียได้ปฏิเสธคำอุทธรณ์โทษประหารชีวิตของนาย ซิค นิมร์ อัล-นิมร์
ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นสองประเทศมหาอำนาจในตะวันออกกลางถือว่ามีความซับซ้อนและมีความขัดแย้งกันมานานในปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะความแตกต่างกันด้านศาสนาพร้อมกับความขัดแย้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองโดยที่ซาอุดิอาระเบียมีระบอบราชาธิปไตยสุหนี่ในขณะที่ในอิหร่านเป็นศูนย์กลางของศาสนานิกายชีอะห์ ภายหลังการปฏิวัติอิสลามเมื่อปี 1979 ในอิหร่าน ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้กลายเป็นรูปแบบที่มีการแข่งขันที่ตึงเครียดในภูมิภาค นอกจากนั้นความขัดแย้งด้านแนวความคิด ปัจจัยด้านชาติพันธุ์และศาสนา ตลอดจนภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ประสบอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียได้เลวร้ายลงอย่างเห็นได้ชัดจากการปฏิวัติสังคม-การเมืองครั้งใหญ่ในภูมิภาคเมื่อปี 2011 ที่มีชื่อว่า “อาหรับสปริง” รวมถึงซีเรียก็กลายเป็น “แนวรบใหม่” ในการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่าน ในขณะเดียวกัน ทัศนะของริยาดและเตหะรานก็ไม่เหมือนกันโดยอิหร่านให้การสนับสนุนประธานาธิบดี บาซาร์ อัลอัสซาด ส่วนซาอุดิอาระเบียให้การสนับสนุนกองกำลังฝ่ายค้าน มีอีกปัจจัยที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้นก็คือสถานการณ์ในเยเมนซึ่งกองกำลังลุกขึ้นสู้ฮูธิซึ่งเป็นนิกายชีอะห์ได้ขึ้นครองอำนาจหลังจากโค่นล้มรัฐบาลที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับซาอุดิอาระเบียโดยทางการริยาดได้แสดงความเห็นว่า อิหร่านได้ให้การสนับสนุนกลุ่มลุกขึ้นสู้ฮูธิในเยเมน
ในสภาวการณ์ดังกล่าว การประหารชีวิตซิค นิมร์ อัล-นิมร์ ผู้นำศาสนานิกายชีอะห์จึงมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมนิกายชีอะห์กับสุหนี่จนบรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่า ถ้าหากประชาคมโลกไม่รีบดำเนินกระบวนการทางการทูตใหม่เพื่อนำซาอุดิอาระเบียและอิหร่านกลับเข้าร่วมการเจรจา ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศนี้จะทำให้การปะทะในตะวันออกกลางทวีมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด