เวียดนามและอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒

(VOVworld) –   ปีนี้ สหประชาชาติและประเทศสมาชิกจะรำลึกครบรอบ๓๐ปีอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลหรือUNCLOSปี๑๙๘๒ซึ่งในปัจจุบันอนุสัญญาฉบับนี้ได้รับการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงท่ามกลางสภาวการณ์ที่มนุษย์นับวันยิ่งแสวงหาผลประโยชน์จากทะเลจนนำไปสู่การพิพาทระหว่างประเทศต่างๆ ดังนั้นอนุสัญญาฉบับนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญและถือเป็นกฏบัตรของโลกเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร ส่วนเวียดนามนับตั้งแต่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ก็ได้มีทัศนะที่เสมอต้นเสมอปลายคือ ให้ความเคารพและปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาในการแก้ไขการพิพาททางทะเล

(VOVworld) –   ปีนี้ สหประชาชาติและประเทศสมาชิกจะรำลึกครบรอบ๓๐ปีอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลหรือUNCLOSปี๑๙๘๒ซึ่งในปัจจุบันอนุสัญญาฉบับนี้ได้รับการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงท่ามกลางสภาวการณ์ที่มนุษย์นับวันยิ่งแสวงหาผลประโยชน์จากทะเลจนนำไปสู่การพิพาทระหว่างประเทศต่างๆ ดังนั้นอนุสัญญาฉบับนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญและถือเป็นกฏบัตรของโลกเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร ส่วนเวียดนามนับตั้งแต่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ก็ได้มีทัศนะที่เสมอต้นเสมอปลายคือ ให้ความเคารพและปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาในการแก้ไขการพิพาททางทะเล

เวียดนามและอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ - ảnh 1
ตัวแทนประเทศต่างๆเข้าร่วมการลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒(Photo:Internet)

อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒มีทั้งหมด๓๒๐มาตราและ๙ภาคผนวกโดยกำหนดระเบียบทางนิตินัยของเขตทะเลต่างๆภายใต้อธิปไตยของประเทศริมฝั่งทะเลและเขตน่านน้ำสากลพร้อมทั้งกำหนดให้จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทะเล เช่น ศาลระหว่างประเทศเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเล  สำนักงานบริหารอำนาจระหว่างประเทศเกี่ยวกับท้องมหาสมุทร และคณะกรรมการจำกัดพรมแดนบริเวณไหล่ทวีป โดยเฉพาะคือ เกี่ยวกับการพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิก อนุสัญญาฉบับนี้ยังเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกแก้ไขการพิพาทอย่างสันติตามข้อกำหนดของกฏบัตรสหประชาชาติซึ่งจนถึงปัจจุบันมี๑๖๒ประเทศได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้          จากการเป็นประเทศริมฝั่งทะเล  เวียดนามได้เข้าร่วมกระบวนการเจรจาเกี่ยวกับร่างอนุสัญญาฉบับนี้และหลังจากที่ร่างอนุสัญญาได้รับการอนุมัติ เวียดนามเป็นประเทศแรกๆที่ได้ลงนามอนุสัญญาและเมื่อวันที่๒๓มิถุนายนปี๑๙๙๔ รัฐสภาเวียดนามได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้อย่างเป็นทางการ นายLê Hoài Trung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะตัวแทนเวียดนามประจำสหประชาชาติได้กล่าวถึงการลงนามอนุสัญญาฉบับนี้ว่า“สหประชาชาติเป็นฟอรั่มระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเนื่องจากมีแทบทุกประเทศเข้าร่วมซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนไหวและปัญหาในระดับสากล รวมทั้งในระดับประเทศ  สหประชาชาติเป็นฟอรั่มที่สำคัญเพื่อปฏิบัติความต้องการของเวียดนามในการแก้ไขการพิพาทและความแตกต่างอย่างสันติซึ่งเจตนารมณ์ของอนุสัญญาฉบับนี้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเวียดนามนั่นคือเชิดชูแนวทางแก้ไขการพิพาทอย่างสันติ”    

เวียดนามและอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ - ảnh 2
นายLê Hoài Trung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หัวหน้าคณะตัวแทนเวียดนามประจำสหประชาชาติ(Photo:Internet)

จากแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายนี้ ในตลอด๑๘ปีที่เป็นสมาชิก เวียดนามได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆอย่างแข็งขันในกรอบขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆที่ได้ระบุในอนุสัญญา  เวียดนามได้รับเลือกเป็นรองประธานสมัชชาใหญ่สำนักงานอำนาจสากลเกี่ยวกับท้องทะเลและสมาชิกของสภาสำนักงานอำนาจ   ณ ฟอรั่มที่เกี่ยวข้อง เวียดนามยืนยันอยู่เสมอว่า ในกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทะเล ประเทศต่างๆต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ปฏิบัติสิทธิและภาระหน้าที่ตามอนุสัญญาและยังได้ยืนยันหลายครั้งว่า  จากการเป็นประเทศในเขตริมฝั่งทะเลตะวันออก เวียดนามได้มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากเขตทะเลต่างๆที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของตนเพื่อพัฒนาประเทศซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาและให้ความเคารพสิทธิ์ของประเทศอื่นๆที่ได้ระบุในอนุสัญญาพร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศริมฝั่งทะเลตะวันออกและประเทศอื่นๆให้ความเคารพสิทธิผลประโยชน์อันชอบธรรมของเวียดนามในทะเลตะวันออก สำหรับกรณีละเมิดอำนาจอธิปไตยเหนือไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม เวียดนามได้ยืนหยัดต่อสู้ในทุกระดับผ่านการทูตเพื่อปกป้องอำนาจอธิปไตยตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฉบับนี้ จนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้ทำการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการแก้ไขการพิพาทในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปที่ทับซ้อนซึ่งที่เป็นรูปธรรมคือ เมื่อปี๑๙๙๗ เวียดนามและไทยได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปในอ่าวไทย  เมื่อปี๒๐๐๐ เวียดนามและจีนได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนน่านน้ำ เขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปในอ่าวทะเลตะวันออก  เมื่อปี๒๐๐๓ เวียดนามและอินโดนีเซียได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนไหล่ทวีปในทะเลตะวันออกตอนใต้ซึ่งเอกสารข้อตกลงเหล่านี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่สหประชาชาติตามข้อกำหนดของกฏบัตรสหประชาชาติ นาย Lê Hoài Trung เผยว่า“เวียดนามได้แสดงออกถึงทัศนะ นโยบายและความพยายามของตนที่จะร่วมกับประเทศต่างๆปฏิบัติกฏหมายสากล อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลและข้อตกลงที่ได้บรรลุในการร่วมมือแก้ไขการพิพาท  กำหนดเส้นแบ่งพรมแดนทางทะเลและเขตทับซ้อนอย่างเคร่งครัดและมีความประสงค์ว่า เวียดนามและประเทศต่างๆจะร่วมกันแก้ไจความแตกต่างที่เหลือบนพื้นฐานของกฏหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเล”   การแก้ไขการพิพาททางทะเลอย่างสันติเป็นภาระหน้าที่ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติตามข้อกำหนดของกฏบัตรและอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ บนเจตนารมณ์ดังกล่าว เวียดนามจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญฉบับนี้อย่างเคร่งครัดต่อไปพร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่างๆก็ปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับนี้ซึ่งจุดยืนนี้ของเวียดนามกำลังได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ./.



ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด