(VOVworld)-เป็นครั้งแรกในรอบ5ปีเศษๆที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ลดลงต่ำสุดคือไม่ถึง60เหรียญสหรัฐต่อ1บาร์เรล ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของราคาเดิมและที่น่าสนใจคือแนวโน้มนี้ยังไม่มีสัญญาณที่จะยุติ การที่ราคาน้ำมันดิบปรับลดในช่วงปลายปี2014ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกแต่ในขณะเดียวกันก็มีทั้งความเสี่ยงที่จะต้องรับมือ
(VOVworld)-เป็นครั้งแรกในรอบ5ปีเศษๆที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ลดลงต่ำสุดคือไม่ถึง60เหรียญสหรัฐต่อ1บาร์เรล ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของราคาเดิมและที่น่าสนใจคือแนวโน้มนี้ยังไม่มีสัญญาณที่จะยุติ การที่ราคาน้ำมันดิบปรับลดในช่วงปลายปี2014ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกแต่ในขณะเดียวกันก็มีทั้งความเสี่ยงที่จะต้องรับมือ
น้ำมันและก๊าซคือสินค้ายุทธศาสตร์ของทุกประเทศดังนั้นความผันผวนขึ้นลงด้านราคาในตลาดจึงส่งผลกระทบทั้งในด้านภูมิยุทธศาสตร์และภูมิเศรษฐกิจต่อทุกประเทศ ซึ่งการที่ราคาน้ำมันได้ปรับลดต่ำสุดในรอบกว่า4ปีที่ผ่านมาหลังจากที่คงไว้ในระดับ100เหรียญสหรัฐต่อ1บาร์เรลก็ได้สร้างกระแสประชามติที่แตกต่างกัน
สาเหตุ
ตลาดน้ำมันโลกเริ่มเห็นถึงแนวโน้มการการปรับลดราคาน้ำมันดิบหลังจากที่เมื่อวันที่28พฤศจิกายนที่ผ่านมา องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปกที่ควบคุมส่วนแบ่งตลาดน้ำมันโลกเกือบร้อยละ40ได้ตัดสิลงของราคาน้ำมันโลก ในขณะเดียวกันต้นเหตุของปัญหามาจากความไม่สมดุลย์ของอุปสงค์และอุปทานรวมถึงปัญหาราคาถ่านหินลดลงเนื่องจากปริมาณการผลิตในสหรัฐเพิ่มขึ้นและการแข่งขันที่ดุเดือดด้านก๊าซธรรมชาติ
แต่ถึงอย่างไรก็ดีเลขาธิการองค์การโอเปก อัปดัลเลาะห์ ซาเลม เอล บาดรี ได้แสดงความเห็นว่า จากตัวเลขความสมดุลย์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มอุปสงค์นั้นก็ไม่มากจึงไม่อาจนำไปสู่การปรับลดราคาน้ำมันถึงร้อยละ50เหมือนปัจจุบัน ดังนั้นเหตุผลอาจจะมาจากเรื่องการกักตุนมากกว่า
อีกคนร้องไห้ อีกฝ่ายหัวเราะ
ในแง่เศรษฐกิจ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือประเทศนำเข้าน้ำมันและก๊าซเช่นจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและสหรัฐ รวมถึงการช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอีกร้อยละ0.5 แต่ในขณะเดียวกันการปรับลดราคาน้ำมันครั้งประวัติศาสตร์ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานวันก็ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจของหลายชาติ โดยตามการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ รัสเซียคือประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะน้ำมันคือสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ80ของยอดมูลค่าการส่งออกและมีส่วนแบ่งในรายรับงบประมาณของรัสเซียถึงร้อยละ50 โดยถ้าหากราคาน้ำมันลดลง1เหรียญ รัสเซียจะสูญเสียรายรับงบประมาณกว่า1แสนล้านเหรียญสหรัฐ ควบคู่กันนั้น เมื่อบ่ายวันที่15ธันวาคมตามเวลามอสโคว์ ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียก็อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์คือที่60.49รูเบิลต่อ1เหรียญสหรัฐเพราะราคาน้ำมันลดลง
ประเทศต่อไปที่ได้รับผลกระทบคืออิหร่าน โดยประเทศนี้สามารถปรับดุลงบประมาณได้เมื่อราคาน้ำมันอยู่ที่136เหรียญสหรัฐต่อ1บาร์เรล ส่วนเวเนซูเอลาและไนจีเรียก็อยู่ในภาวะเดียวกันคือจะสามารถรักษาความสมดุลย์ของรายรับรายจ่ายงบได้เมื่อราคาน้ำมันอยู่ที่120เหรียญสหรัฐต่อ1บาร์เรล
นอกจากนี้ การที่ราคาน้ำมันโลกลดลงก็ทำให้นักลงทุนและประเทศที่เพิ่งค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ต้องระมัดระวังมากขึ้นเพราะพวกเขาไม่อยากลงทุนในด้านที่ขาดประสิทธิภาพ ส่วนภายในประเทศสหรัฐเองบริษัทค้าน้ำมันต่างๆได้ระงับการดำเนินกิจกรรมของแท่นขุดเจาะ29แห่งซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในรอบ2ปีที่ผ่านมาและขณะนี้เหลือแท่นขุดเจาะน้ำมันเพียง1546แห่งที่กำลังเดินเครื่องเท่านั้น
ในด้านหลักทรัพย์ ตลาดหุ้นของประเทศสหรัฐก็ตกอยู่ในภาวะร้อนแรงหลายรอบเนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีดาวโจนห์ของกลุ่มบริษัทใหญ่30แห่งลดเฉลี่ย204จุดหรือคิดเป็นร้อยละ1.2 ส่วนนับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมมาจนถึงปัจจุบัน ดัชนีสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์500ก็ลดลงถึงร้อยละ4.9 และดัชนีหุ้นของยุโรปก็ถูกผลกระทบด้วยเช่นกัน
คาดการณ์เรื่องราคาน้ำมันในอนาคต
ในสภาวการณ์ที่ราคาน้ำมันยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัว สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศหรือไออีเอได้มีการพยากรณ์ที่ไม่สดใสเกี่ยวกับปัญหานี้คือความต้องการน้ำมันของโลกในปี2015อาจจะลดลงตั้งแต่2แสน3หมื่น-9แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนโอเปกก็มีความเห็นว่า ความต้องการน้ำมันดิบในปี2015จะอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี2004คือที่28.15ล้านบาร์เรลต่อวัน
ขณะเดียวกันตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ถ้าหากโอเปกไม่ยื่นมือเข้าแทรกแซงและปรับลดปริมาณการผลิต ราคาน้ำมันดิบอาจจะลดลงในระดับ50-55เหรียญสหรัฐหรือแม้กระทั่งเป็น40เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ในประกาศล่าสุดเมื่อวันที่15ธันวาคมโอเปกก็ยังยืนหยัดทัศนะเดิมคือจะไม่มีการปรับลดการผลิต
จากความผันผวนของราคาน้ำมัน รัฐบาลเวียดนามได้มีมาตรการรับมือในเชิงรุกเพื่อค้ำประกันการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาต่างๆโดยเวียดนามจะเพิ่มปริมาณการสำรองน้ำมันดิบและกระชับงานด้านการวิจัยพยากรณ์เพื่อปรับแผนการผลิตให้เหมาะสม ./.