การปลูกถ่ายอวัยวะ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของวงการแพทย์เวียดนาม

(VOVworld)- ถึงแม้การปลูกถ่ายอวัยวะในเวียดนามจะพัฒนาตามหลังประเทศอื่น20ปีแต่จนถึงปัจจุบันนี้ ความสามารถในการปลูกถ่ายอวัยวะของเวียดนามได้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศโดยเฉพาะเทคนิกในการปลูกถ่ายตับ ไตและหัวใจ ซึ่งได้ช่วยยืนยันความสำเร็จของวงการแพทย์เวียดนามบนเวทีการแพทย์โลก


(VOVworld)- ถึงแม้การปลูกถ่ายอวัยวะในเวียดนามจะพัฒนาตามหลังประเทศอื่น20ปีแต่จนถึงปัจจุบันนี้ ความสามารถในการปลูกถ่ายอวัยวะของเวียดนามได้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศโดยเฉพาะเทคนิกในการปลูกถ่ายตับ ไตและหัวใจ ซึ่งได้ช่วยยืนยันความสำเร็จของวงการแพทย์เวียดนามบนเวทีการแพทย์โลก
การปลูกถ่ายอวัยวะ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของวงการแพทย์เวียดนาม  - ảnh 1
คณะแพทย์โรงพยาบาล เวียดนาม-เยอรมนีทำการปลูกถ่ายอวัยวะ(Photo internet)
ภายหลัง20ปีนับตั้งแต่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะครั้งแรก ปัจจุบันการปลูกถ่ายอวัยวะในเวียดนามได้มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดและได้รับการเผยแพร่ใน12โรงพยาบาลและสถานีอนามัย12แห่งทั่วประเทศ ซึ่งโรงพยาบาลเสนารักษ์103 โรงพยาบาล Viet Duc โรงพยาบาลHue เป็น3โรงพยาบาลแรกของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายอวัยวะที่ได้จากผู้ป่วยสมองตาย โดยเมื่อเดือนมิถุนายนปี1992 ทีมแพทย์โรงพยาบาล103ได้ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตเป็นครั้งแรก ต่อจากนั้นก็ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายตับในปี2004และจนถึงปี2010ก็ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายหัวใจในปี2010 ซึ่งความสำเร็จนั้นได้วางพื้นฐานพัฒนาวงการแพทย์เวียดนามในยุคใหม่คือ การปลูกถ่ายอวัยวะ และได้ช่วยสร้างความหวังให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องการปลูกถ่ายอวัยวะ นอกจากนี้โรงพยาบาล103ยังสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อทำการปลูกถ่ายตับอ่อนและอวัยวะส่วนอื่นๆที่มีความซับซ้อนกว่า โดยก่อนหน้านี้การปลูกถ่ายอวัยวะแต่ละครั้งต้องใช้เวลาครึ่งวันแต่ปัจจุบันใช้เวลาประมาณ2ชั่วโมงครึ่งเท่านั้นและอัตราความสำเร็จก็อยู่ในระดับสูง รองศ.พันเอก Le Trung Hai รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล103เผยว่า การปลูกถ่ายไตได้กลายเป็นงานประจำของคณะแพทย์โรงพยาบาล103 โดยสามารถทำการปลูกถ่ายไตได้สองรอบต่อวัน ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่คณะแพทย์ในการรับมือกับกรณีฉุกเฉิน และในเกือบ19ปีที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลสามารถทำการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยกว่า70ราย ซึ่งในนั้นมี19รายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตในรอบ10เดือนที่ผ่านมาและผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายนั้นก็มีสุขภาพเป็นปกติ 

สำหรับเทคนิกการรักษาซีสต์ในท่อน้ำดีผ่านการผ่าตัดด้วยกล้องให้แก่ผู้ป่วยเด็กนั้นยังถือว่าทำได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งรายการผ่าตัดดังกล่าวก็ยังไม่ถูกระบุเป็นรายการผ่าตัดหลักของศูนย์การแพทย์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในทั่วโลกแต่ที่โรงพยาบาลเด็กส่วนกลางเวียดนาม ก็ได้ประสบความสำเร็จในการรักษาซีสต์ท่อน้ำดีผ่านการผ่าตัดด้วยกล้องให้แก่เด็ก500คนซึ่งในนั้นผู้ป่วยที่อายุน้อยที่สุดคือเด็กทารกอายุสองเดือน และก็มีศ.นายแพทย์ของหลายประเทศได้เดินทางมาศึกษาเทคนิกการผ่าตัดดังกล่าวของเวียดนาม ซึ่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็กส่วนกลาง Nguyen Thanh Liem เผยว่า นี่เป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อนและอันตรายเพราะอาจจะทำให้เส้นเลือดฉีกขาดได้ นอกจากต้องประยุกต์ใช้เทคนิกการผ่าตัดที่ทันสมัยของโลกแล้ว เวียดนามยังทำการวิจัยปรับปรุงเทคนิกใหม่ในการเชื่อมท่อตับกลางกับลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งใช้เวลาผ่าตัดสั้นกว่าแต่ผลการรักษาก็มีเปอร์เซ็นสำเร็จเท่ากับเทคนิกที่ประเทศอื่นๆกำลังทำอยู่

การปลูกถ่ายอวัยวะ ผลสำเร็จที่โดดเด่นของวงการแพทย์เวียดนาม  - ảnh 2
ผู้ป่วยหลังจากได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ(Photo internet)

ผลสำเร็จต่างๆในการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะได้ช่วยสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาวิธีการรักษาโรคของวงการแพทย์เวียดนามและได้กลายเป็นงานประจำในโรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่งที่มีอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยแต่มีค่าใช้จ่ายเพียง1/3ของการผ่าตัดในต่างประเทศ นายแพทย์ Nguyen Tien Quyet ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมิตรภาพเวียดนาม-เยอรมนี เผยว่า เจ้าหน้าที่การแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆที่กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์และเว้สามารถทำการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ไตและหัวใจเองได้ และมีโรงพยาบาลบางแห่งเช่นโรงพยาบาลของเราก็ได้เริ่มทำการปลูกถ่ายอวัยวะส่วนอื่นๆเช่น ปอดและตับอ่อนด้วยเทคนิกการแพทย์ที่ไม่แพ้ศูนย์การแพทย์ที่มีชื่อเสียงของโลกและจากการปฏิบัติจริงเห็นว่าใช้เวลาผ่าตัดเร็วกว่าด้วย.

 ส่วนนาง Nguyen Thi Kim Tien รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า  การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่หน่วยงานสาธารณสุขให้ความสนใจก่อนโดยทางกระทรวงกำลังลงทุนพัฒนาแหล่งบุคลากรทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ ตลอดจนให้ความสนใจลงทุนด้านอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อให้ทัดเทียมกับภูมิภาคและโลก ซึ่งพัฒนาการต่างๆของหน่วยงานสาธารณสุขเวียดนามก็ได้ช่วยสร้างความหวังให้แก่ผู้ป่วยในการรักษาโรคร้ายแรง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มั่นคงยิ่งขึ้น./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด