รายการ “ศึกษาค้นคว้าเทศกาลตรุษเต๊ตของเวียดนาม” ณ พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม
Minh Ngoc- VOV5 -  
(VOVWorld)-การศึกษาเกี่ยวกับประเพณีการตั้งเสาตุงในช่วงตรุษเต๊ต การห่อขนมข้าวต้นมัดใหญ่ การจัดการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ เช่น การเล่นประทัดดิน การรำลาวกระทบไม้และการเดินขาหยั่งเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวและเด็กๆได้สัมผัสด้วยตัวเองเมื่อเข้าร่วมรายการ“ศึกษาค้นคว้าเทศกาลตรุษเต๊ตของเวียดนาม” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดโดยพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามในโอกาสเทศกาลปีระกา๒๐๑๗นี้ ผ่านกิจกรรมดังกล่าว นักท่องเที่ยวจะมีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับขนมธรรมเนียมประเพณีของชาวเวียดนามในช่วงตรุษเต๊ต
(VOVWorld)-การศึกษาเกี่ยวกับประเพณีการตั้งเสาตุงในช่วงตรุษเต๊ต การห่อขนมข้าวต้นมัดใหญ่ การจัดการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ เช่น การเล่นประทัดดิน การรำลาวกระทบไม้และการเดินขาหยั่ง เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวและเด็กๆได้สัมผัสด้วยตัวเองเมื่อเข้าร่วมรายการ “ศึกษาค้นคว้าเทศกาลตรุษเต๊ตของเวียดนาม” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดโดยพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามในโอกาสเทศกาลปีระกา๒๐๑๗นี้ ผ่านกิจกรรมดังกล่าว นักท่องเที่ยวจะมีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับขนมธรรมเนียมประเพณีของชาวเวียดนามในช่วงตรุษเต๊ต
เสาตุง
|
ในบริเวณบ้านเวียดที่ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม ผู้เข้าร่วมงาน๒๐-๓๐คนกำลังยืนเป็นรูปครึ่งวงกลมแล้วมองไปที่ลานกว้างด้านหน้า ซึ่งเป็นจุดที่ตั้งเสาตุง คุณ เหงวียนซวนด่วาน นักวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมเวียดนามในชุดเสื้อยาวสีดำกำลังเตรียมพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งสิ่งของเซ่นไหว้ประกอบด้วย ขนมข้าวต้นมัดใหญ่ ข้าวเหนียว๑จานและหมูยอ๑จานที่ถูกวางไว้บนโต๊ะปูด้วยผ้าสีขาว นี่เป็นพิธีกรรมที่สำคัญของชาวเวียดนามในช่วงตรุษเต๊ต เพื่อเตรียมให้แก่พิธีการตั้งเสาตุง อันดับแรกคือต้องเลือกต้นใผ่ โดยผู้ที่รับผิดชอบตัดต้นไผ่ต้องเป็นผู้ที่มีครอบครัวที่สมบูรณ์และมีความสุขตามความเชื่อของคนเวียดนามคือมีทั้งลูกชายและลูกสาวและถ้าหากเป็นปีคี่ บ้องไม้ไผ่ก็ต้องมีจำนวนเป็นเลขคี่ นาย เหงวียนซวนดว่านเล่าถึงความหมายของการตั้งเสาตุงและการแขวนสิ่งของที่มีความหมายบนเสาตุ้งว่า “บนเสาตุงจะมีการแขวนใบสับปะรดและระฆังที่ทำจากดินเพื่อไล่ผี ขนมข้าวต้มมัดใหญ่๒อัน คำกลอนคู่ตรุษเต๊ต ซึ่งเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับช่วงตรุษเต๊ต มีธัญพืช๕ชนิดในตะกร้าเพื่อสื่อถึงความผูกพันธ์กับอาชีพเกษตรกรรม ”
ภายหลังพิธีเซ่นไหว้ นาย ด่วานพร้อมเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์๒-๓คนได้ทำการตั้งเสาตุง โดยนายดว่านได้โปรยปูนขาวรอบๆเสาตุง ซึ่งมีความหมายว่า จุดที่ตั้งเสาตุงมีเจ้าของแล้ว
“นี่เป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้รับชมพิธีการตั้งเสาตุง ดิฉันรู้มาว่า ในวันที่๒๓เดือน๑๒ตามจันทรคติทุกปี เทพเจ้าจะกลับขึ้นสวรรค์ ไม่มีผู้ดูแลมนุษย์ ดังนั้น ประชาชนจึงตั้งเสาตุงเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจ ไม่ให้ผีเข้าบ้าน”
“นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีเพื่อพาลูกๆมาศึกษาเกี่ยวกับขนมธรรมเนียมประเพณีของชาวเวียดนาม เช่น พิธีตั้งเสาตุง พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าในช่วงตรุษเต๊ต มาที่นี่ ลูกๆได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดของบนหิ้งบูชาบรรพบุรุษ ปกติ ลูกๆไม่สนใจต่อเรื่องนี้แต่เมื่อมาที่นี่ ลูกได้ตั้งคำถามต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้ให้แก่พวกเขา”
การสอนวิธีการห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่
|
เสียงประกอบ การแนะนำวิธีการห่อข้าวต้มมัดใหญ่
“หลานๆนำข้าวเหนียวที่คลุกไว้ใส่ในใบตองจิงครึ่งถ้วย ต่อจากนั้นใส่ถั่วเขียวบดที่ปั้นเป็นก้อนขนาดประมาณครึ่งกำมือ แล้วตามด้วยเนื้อหมูสามชั้นที่เตรียมไว้ ๑-๒ ชิ้น”
กลิ่นหอมจากหม้อขนาดใหญ่ที่ตั้งบนเตาไฟก็ได้ดึงดูดความสนใจของผู้ที่มาชมงาน นาง เจิ่นถิลาน ผู้ที่มีประสบการณ์๕๐ปีในการทำขนมข้าวต้มมัดใหญ่กำลังแนะนำวิธีการทำขนมข้าวต้มมัดใหญ่ นาง ลานนั่งบนเสื่อสีแดง ข้างๆนั้นมีตะกร้าข้าวเหนียวและถั่วเขียว หม้อเนื้อหมูสามชั้นและใบตองจิง มีเด็ก๙-๑๐คนและผู้ชมหลายคนนั่งรอบๆนางลาน อันดับแรกในการห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่คือการเลือกใบตอง
“หลานๆต้องเลือกใบตองที่มีสีเขียวเพราะหลังต้มเสร็จ ขนมข้าวต้มมัดใหญ่จะมีสีเขียวเข้ม แต่ถ้าใช้ใบตองมีสีเหลืองจะทำให้ขนมข้าวต้มมัดใหญ่มีสีเหลืองและสีแดง ดูไม่อร่อย”
“วันนี้ หนูดีใจมากที่คุณยายสอนวิธีการห่อขนมข้าวต้มมัดใหญ่ ตอนแรกดูคุณยายทำ หนูก็รู้สึกว่ายากมาก แต่เมื่อคุณยายทำใหม่ก็รู้สึกว่า ง่ายขึ้น ในช่วงตรุษเต๊ต หนูชอบกินขนมข้าวต้มมัดใหญ่มาก หนูจะพยายามห่อขนมให้ได้เพื่อมอบให้แก่แม่ของหนู”
“ผมไม่เคยห่อข้าวต้มมัดใหญ่ ตอนแรก ผมรู้ลึกตื่นเต้นมากแต่เมื่อเห็นข้าวต้มมัดใหญ่ที่ผมทำเอง ก็รู้สึกภูมิใจว่า ผมก็สามารถทำได้”
การเล่นประทัดดิน
|
เสียง“บุบบุบ”จากประทัดดินในบริเวณด้านหน้าอาคารใหญ่รูปว่าวของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามก็ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การเล่นประทัดดินเป็นการละเล่นพื้นเมืองของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ ประทัดดินทำจากดินเหนียวที่ปั่นให้เป็นรูปวงรีหรือวงกลม เมื่อเล่น ผู้เล่นจะโยนประทัดดินไปไกลๆ ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังเมื่อกระทบพื้น ตอนนี้ ที่พิพิธภัณฑ์ฯ นาย เจืองหงอกเถือง ผู้ที่ได้รับรางวัลที่๑ในการแข่งขันประทัดดินของหมู่บ้านเหียบหลึก ตำบลติ๋งยาง จังหวัดหายเยืองเมื่อปี๒๐๑๖กำลังยกประทัดดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง๖๐ซ.มและเขวี้ยงทิ้งอย่างสุดแรงจนทำให้เกิดเสียงดังมาก
“การเล่นประทัดดินก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน มีคนสามารถยกประทัดดินที่มีน้ำหนัก๒๐ถึง-๔๐กิโลกรัมได้ ส่วนผมเองสามารถยกประทัดดินที่มีน้ำหนัก๓๐กิโลกรัม ไม่จำเป็นเสมอว่า ประทัดดินลูกใหญ่ต้องมีเสียงดังเพราะมันขึ้นอยู่กับเทคนิคการเล่นของแต่ละคนและขั้นตอนการทำประทัดดิน ในหมู่บ้านของผม ถ้าอยากมีปีใหม่ที่ดี เสียงประทัดดินต้องดัง”
นาง บาร์บาร่า นักท่องเที่ยวจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐได้แสดงความสนใจต่อการละเล่นดังกล่าว
“การละเล่นนี้น่าสนใจมากและดิฉันจะแนะนำการละเล่นนี้ให้แก่นักเรียนของดิฉัน ดิฉันรักเวียดนามเพราะวัฒนธรรมของเวียดนามมีความหลากหลาย”
ในโอกาสเทศกาลตรุษเต๊ตนี้ พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามจะจัดกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆในวันที่๘และ๙เดือนอ้ายตามจันทรคติซึ่งตรงกับวันที่๔-๕กุมภาพันธ์ ซึ่งถ้าคุณผู้ฟังมีโอกาสมาเยือนฮานอยในช่วงเวลาดังกล่าว ก็อย่าลืมแวะเยือน พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามนะคะ.
Minh Ngoc- VOV5