เทศกาล เฮ๊ตช้า เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าไทในจังหวัดเซินลา
Kim Ngan/VOV5 -  
(VOVworld) – ในจำนวน 54 กลุ่มชาติพันธุ์เวียดนาม มีชนกลุ่มน้อยหลายเผ่ายังคงอนุรักษ์พิธีขอพรให้ชีวิตมีความสงบสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี ซึ่งในนั้นมีเทศกาลเฮ๊ตช้าของชนกลุ่มน้อยไท ในช่วงปีใหม่ประเพณีที่ผ่านมา ที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม คณะรำ “แสว่ช้า” ชาวไทที่หมู่บ้านอ๊าง ตำบลดงซาง อำเภอหมกโจว จังหวัดเซินลาได้สาธิตเทศกาลเฮ๊ตช้าอย่างมีชีวิตชีวา ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ชมทั้งชาวเวียดนามและชาวต่างชาติ ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านสัมผัสกับบรรยากาศของเทศกาลนี้ผ่านสารคดีเรื่อง “เทศกาล เฮ๊ตช้า เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าไทในจังหวัดเซินลา"
(VOVworld) – ในจำนวน 54 กลุ่มชาติพันธุ์เวียดนาม มีชนกลุ่มน้อยหลายเผ่ายังคงอนุรักษ์พิธีขอพรให้ชีวิตมีความสงบสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี ซึ่งในนั้นมีเทศกาลเฮ๊ตช้าของชนกลุ่มน้อยไท ในช่วงปีใหม่ประเพณีที่ผ่านมา ที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม คณะรำ “แสว่ช้า” ชาวไทที่หมู่บ้านอ๊าง ตำบลดงซาง อำเภอหมกโจว จังหวัดเซินลาได้สาธิตเทศกาลเฮ๊ตช้าอย่างมีชีวิตชีวา ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ชมทั้งชาวเวียดนามและชาวต่างชาติ ต่อไปนี้ ขอเชิญท่านสัมผัสกับบรรยากาศของเทศกาลนี้ผ่านสารคดีเรื่อง “เทศกาล เฮ๊ตช้า เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าไทในจังหวัดเซินลา"
เทศกาล เฮ๊ตช้า เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าไทในจังหวัดเซินลา
|
9 โมงเช้า ที่ลานหญ้าในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม หมอผีชนกลุ่มน้อยเผ่าไทในชุดพื้นเมืองสีคราม ผ้าเปียวโพกศีรษะ และผ้าไหมคาดเอวสีแดง ถือพัดสีชมพูพัดเบาๆ และท่องคาถาเซ่นไหว้ในพิธีเชิญวิญญาณครูอาจารย์มาเข้าร่วมเทศกาล ครูเป็นหมอผีคนแรกที่รักษาโรคให้แก่ชาวบ้าน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคต่างถือหมอผีเป็นพ่อบุญธรรม และเทศกาลเฮ๊ดช้าคือโอกาสให้บุตรบุญธรรมมาแสดงความสำนึกในบุญคุณของหมอผี ส่วนหมอผีจะทำพิธีกรรมขอให้บุตรบุญธรรมและชาวบ้านมีสุขภาพแข็งแรง ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี
หมอผีถือดาบไม้ปักลงด้านหน้าของถาดอาหารเซ่นไหว้ ซึ่งมีชามข้าวเหนียว เหล้าหนึ่งขวด ผ้าสีแดง เทียนและดอกไม้ เป็นต้น หมอผีถอดเสื้อ ตบหน้าอกแสดงการเข้าทรงของครู ส่วนสาวไท 8 คนรำรอบๆพร้อมกับผ้าเปียวสีแดงท่ามกลางเสียงฆ้องเสียงกลองและเสียงตังบูอย่างสนุกสนาน ตังบูคือเครื่องเคาะพิเศษของชาวไทขาว ทำจากต้นไผ่ มีประมาณ 2-3 ปล้อง เคาะลงบนแผ่นไม้เพื่อสร้างจังหวะให้แก่การรำ
หมอผีถือดาบ เดินรอบๆเสาตุงที่ทำจากต้นไผ่สูงประมาณ 2 เมตร มีการวางไหเหล้าอุใต้เสาตุง ส่วนบนยอดมีการแขวนสิ่งของต่างๆ เช่น ลูกช่วง นกและดอกไม้ที่ทำจากไม้ไผ่หลากหลายสีสัน และมีคนเป่าขลุ่ย ผู้ช่วยสองคนและสาวไทที่กำลังรำ “แส่วช้า” เดินตามหลังหมอผี
ตอนนี้ มีผู้ชมกว่า 30 คนกำลังชมการแสดงอย่างตั้งใจ นายหวี่วันฟิง หัวหน้าคณะรำ “แซว่ช้า” ของหมู่บ้านอ๊าง ตำบลดงซาง อำเภอหมกโจว จังหวัดเซินลากำลังอธิบายเกี่ยวกับแหล่งที่มาและเนื้อหาของเทศกาลว่า “เมื่อก่อนนี้ มีหมอผีคนหนึ่งที่ใช้ยาสมุนไพรและเซ่นไหว้เพื่อรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วยในหมู่บ้าน ชาวบ้านที่ได้รับการการรักษาต่างขอเป็นบุตรบุญธรรมของหมอผีคนนั้น พอถึงวันที่ 28-29 เดือน 12 ตามจันทรคติ ก็จะนำอาหารต่างๆ เช่น ไก่ ปลา ขนมข้าวต้มมัดใหญ่และเหล้ามาให้เพื่อแสดงความสำนึกในบุณคุญของหมอผีและให้หมอผีจัดพิธีกรรมขอพรให้แก่ทุกคน แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่ยุ่งมาก หมอผีได้เลื่อนเวลาจัดพิธีกรรมถึงช่วงหลังตรุษเต๊ต นั่นคือเทศกาล “เฮ๊ตช้า” เพื่อขอให้บุตรบุญธรรมและชาวบ้านมีสุขภาพแข็งแรง ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี ในวันก่อนที่จะจัดงาน หมอผีจะเรียกบุตรบุญธรรมผู้ชาย 4 คนและผู้หญิง 4 คนที่ยังไม่มีครอบครัวมาช่วยทำอาหารและรำ “แซว่ช้า” ซึ่งถือเป็นโอกาสหาคู่ที่หมอผีจัดขึ้นให้บุตรบุญธรรมทั้ง 8 คน หลังเทศกาลที่มีขึ้น 4 วันคืน ก็มีหลายคนได้รักกัน”
เสียงดนตรีที่คึกคักเหมือนเชื้อเชิญผู้ชมมาชมงานมากขึ้น
|
เสียงดนตรีที่คึกคักเหมือนเชื้อเชิญผู้ชมมาชมงานมากขึ้น ผู้ชมยืนอยู่รอบๆ รวมทั้งชาวต่างชาติหลายคน “แม้ไม่ทราบแห่งที่มาของเทศกาลนี้แต่ดิฉันก็รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมากที่ได้มาชมกับเพื่อนๆ การรำแบบนี้แตกต่างกับวัฒนธรรมของฝ่ายตะวันตกมาก ที่บ้านเกิดของฉันคือประเทศอังกฤษ ในช่วงปีใหม่และคริสต์มาสไม่มีการรำพื้นเมืองที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากแบบนี้ แตกต่างมากและเป็นประสบการณ์ที่ดี”
“การรำนี้น่าสนใจมาก ผู้รำรำบนเสื่อแล้วรำรอบๆเสาตุง แปลกใหม่มาก”
“บรรยากาศที่นี่สนุกสนานมาก ทุกคนต่างรำกันและเชิญผู้ชมเข้ามารำด้วย”
“ดิฉันรู้สึกดีที่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าไท ดิฉันพาลูกมาด้วย เทศกาลนี้มีความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งช่วยให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าไท”
เสียงประกอบ\หลังจากเทศกาลดำเนินไป 1 ชั่วโมงกว่าๆ นายหวี่วันฟิงหัวหน้าคณะรำ “แซว่ช้า” กำลังอ่านบทกวีในงานเทศกาลที่มีเนื้อหาสอนให้ลูกหลานต้องสำนึกในบุญคุณของพ่อ แม่ และบรรพบุรุษ\สำหรับชาวไทยขาวที่จังหวัดเซินลา การรำ “แสว่ช้า” ก็เหมือนการรำวงของคนไทย แต่แตกต่างกับเทศกาลของชนกลุ่มน้อยอื่นๆที่มักจะจัดขึ้นตามปฏิทินจันทรคติแต่เทศกาลเฮ๊ตช้าจะจัดขึ้นในวันที่ 26 มีนาคมตามปฏิทินสากล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดอกกาหลงบานสะพรั่ง เทศกาลเฮ๊ตช้าถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการเปลี่ยนผ่านจากฤดูใบไม้ผลิไปสู่ฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ถึงปี 1963 เทศกาลก็ถูกงดจัด หลังจากนั้นกว่า 40 ปี คือปี 2005 คณะรำ “แสว่ช้า” ของหมู่บ้านอ๊าง ตำบลดงซาง อำเภอหมกโจว จังหวัดเซินลาได้ถูกจัดตั้งขึ้นอีกครั้งโดยมีสมาชิกประมาณ 50 คนหลากหลายวัย เพื่อเป็นการฟื้นฟูเทศกาลเฮ๊ตช้า อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆของเวียดนาม ถึงเดือนเมษายนปี 2006 นับเป็นครั้งแรกที่คณะรำ “แสว่ช้า” หมู่บ้านอ๊างได้จัดการแสดงให้ชาวบ้านได้รับชม นายหวี่วันฟิง หัวหน้าของคณะฯเผยว่า“พวกเราได้พยายามฟื้นฟูและเลือกสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ในเทศกาล เช่น คำสั่งสอนลูกหลานและชาวบ้านให้มีความสามัคคีช่วยเหลือจุนเจือกัน แต่มีแค่อำเภอหมกโจวเท่านั้นที่มีการรำ “แสว่ช้า” เมื่อเทศกาลเสร็จสิ้น ทุกคนต่างสนุกสนาน มีสุขภาพแข็งแรง ลูกหลานว่านอนสอนง่ายและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี”
การเก็บเกี่ยวได้ผลดีและมีสุขภาพแข็งแรงนั้นไม่เพียงแต่เป็นความปรารถนาของชาวไทเท่านั้นหากยังเป็นของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในชมรม 54 กลุ่มชาติพันธุ์ของเวียดนามที่สะท้อนผ่านเทศกาลในยามฤดูใบไม้ผลิ ถ้าหากเดินทางมาเที่ยวเวียดนามในช่วงฤดูใบไม้ผลิตต้นปีใหม่ประเพณี ท่านจะได้มีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ซึ่งน่าจะเป็นความทรงจำที่ยากจะลืมได้.
Kim Ngan/VOV5