การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลเพื่อผลักดันการดำเนินงานของธนาคาร
ฺBao Ngoc - Vinh phong -  
(VOVWORLD) - รัฐบาลเวียดนามกำหนดว่า การสร้างสรรค์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล สังคมดิจิทัลและระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในช่วงปี 2016 - 2020 สร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลอย่างรอบด้านในระยะปี 2021 - 2030 ส่วนกระแสเงินถือเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นหน่วยงานการเงินและธนาคารมีบทบาทสำคัญในยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลแห่งชาติ การผลักดันกระบวนการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลของระบบธนาคารให้รวดเร็วปลอดภัยและยั่งยืน คือหนึ่งในเป้าหมายชี้ขาดเพื่อมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต
นาย เจิ่นท้ายบิ่งห์ ผู้อำนวยการแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคาร Sacombank ( tuoitre.vn) |
ตามข้อมูลสถิติของธนาคารชาติเวียดนาม มีธนาคารร้อยละ 95 ที่จัดทำยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งในนั้นมีร้อยละ 39 ได้อนุมัติยุทธศาสตร์หรือสอดแทรกในแนวทางพัฒนาการประกอบธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อเร็วๆนี้ แผนการของธนาคารชาติเวียดนามเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลของหน่วยงานธนาคารถึงปี 2025 กำหนดแนวทางถึงปี 2030 ได้กำหนดเป้าหมายที่ต้องบรรลุเพื่อมุ่งสู่ปี 2025 ที่จะค้ำประกันให้องค์กรสินเชื่อร้อยละ 60 มีส่วนแบ่งกำไรประมาณกว่าร้อยละ 30 ซึ่งการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลของหน่วยงานธนาคารไม่เพียงแต่เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่เท่านั้น เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บล็อคเชนและระบบอัตโนมัติในระดับไมโคร หากยังมีการปรับเปลี่ยนในรูปแบบ ยุทธศาสตร์และวัฒนธรรมในการประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงใหม่ของเทคโนโลยีอีกด้วย นาย หวอเติ๊นลอง รองผู้อำนวยการใหญ่บริษัท PWC เวียดนามเผยว่า "ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานของธนาคาร มีอาทิค่าเช่าสถานที่และเงินเดือนของพนักงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนั้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวต้องเพิ่มทักษะความสามารถในการดำเนินงานผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ระบบดิจิทัล ระบบบริการตนเองและลดการใช้บริการที่สาขา"
แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลในปัจจุบันยังมีความท้าทายต่างๆ ซึ่งก่อนอื่นคือกรอบทางนิตินัยที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคแรกในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายการค้าอิเล็กทรอนิกส์ การรับรองลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ลายเซ็นดิจิทัล สัญญาอิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรมทางการเงิน นอกจากนี้ก็มีอุปสรรคในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ต้องมีความพร้อม สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล การรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยด้านข้อมูล เป็นต้น ความร่วมมือของบริษัทเทคโนโลยีการเงิน เช่น Fintech กับธนาคารได้สร้างปัญหาต่างๆ เช่น การรักษาความปลอดภัยและความลับด้านข้อมูล แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมเทคโนโลยีขั้นสูง นาย เจิ่นท้ายบิ่งห์ ผู้อำนวยการแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคาร Sacombank แสดงความคิดเห็นว่า ธนาคารต่างๆต้องตามให้ทันกระแสการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในเวลาที่จะถึงให้ได้ "การระบุรายชื่อลูกค้าร้อยละ 90 ในช่องทางดิจิทัล ผมคิดว่า ทุกธนาคารสามารถทำได้ โดยเฉพาะหลังวิกฤตโควิด -19 ลูกค้าส่วนใหญ่อยากทำธุรกรรมทางไกลมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือ การนำระบบดิจิทัลมาใช้ภายในธนาคาร ซึ่งต้องมีการใช้ในทุกส่วนงาน"
ส่วนบรรดาผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า ถึงปี 2025 จำนวนธนาคารและสาขาในเวียดนามจะลดลง แต่ลูกค้าและรายได้จะเพิ่มขึ้น ซึ่งธนาคารจะร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีการเงินสร้างระบบนิเวศเพื่อให้บริการในรูปแบบต่างๆ ที่มีการพัฒนามากกว่าในปัจจุบัน ส่วนบริษัทเทคโนโลยีของเวียดนามก็อาจเป็นคู่ค้าของธนาคารเวียดนามรวมถึงเป็นคู่ค้าของธนาคารระดับภูมิภาคและโลกอีกด้วย นาย บุ่ยดิ่งย้าป ผู้ริเริ่มและผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร Akabot ประเมินว่า "ธนาคารต่างๆจะร่วมมือกับ fintech ให้บริการในรูปแบบต่างๆ เช่น กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิก การให้บริการกู้เงิน เป็นต้น นี่จะเป็นแนวทางพัฒนาอย่างรวดเร็วใน 3 ปีข้างหน้า ผมเชื่อว่า จากการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลอย่างเข้มแข็งด้วยวิสัยทัศน์ของธนาคารต่างๆในเวียดนาม เราจะเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในระบบธนาคารและด้านอื่นๆ"
อาจกล่าวได้ว่า การแข่งขันในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างธนาคารกำลังมีขึ้นอย่างเข้มแข็ง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนและแน่นอนว่า จะเข้มแข็งมากขึ้นในปีต่อๆไป การพัฒนาสู่ธนาคารดิจิทัลของเวียดนามกำลังเดินถูกทิศทางตามแนวโน้มของโลกและแนวทางการไม่ใช้เงินสดของธนาคารแห่งชาติเวียดนาม ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้หน่วยงานธนาคารพัฒนาอย่างเข้มแข็งเท่านั้น หากยังเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าที่จะสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย.
ฺBao Ngoc - Vinh phong