ศูนย์ฝึกสอนการร้องเพลงกวานเหาะให้แก่เด็กๆ ในจังหวัดบั๊กนิงห์
(VOVWORLD) -ในตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา สโมสรร้องเพลงกวานเหาะสำหรับเด็กที่ชื่อว่า “กวานเหาะมังนอน” ได้ช่วยจุดประกายความรักศิลปะพื้นเมืองประเภทนี้ต่อชุมชนและมีส่วนร่วมอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ
สโมสร “กวานเหาะมังนอน” ของตำบลหว่านเซิน อำเภอเตียนยู จังหวัดบั๊กนิงห์ ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2015 โดยนาง เหงียนถิเงวียน นักร้องศิลปะทำนองกวางเหาะเป็นหัวหน้า จากการเรียนการสอนที่ขยันหมั่นเพียร ถึงขณะนี้ สมาชิกทุกคนในสโมสรฯ ต่างสามารถทำการแสดงเพลงกวานเหาะในชุมชนได้
นาง เหงียนถิเงวียน ชื่นชอบการร้องเพลงทำนองกวานเหาะเป็นอย่างมาก จึงสมัครเป็นสมาชิกของสโมสรการร้องเพลงกวานเหาะในหมู่บ้านและเห็นว่า เด็กๆ ก็ชอบการร้องเพลงทำนองกวานเหาะ แต่ยังไม่มีเวทีแสดง ดังนั้น เธอจึงตัดสินใจจัดตั้งสโมสรกวานเหาะมังนอนเพื่อสอนการร้องเพลงทำนองกวานเหาะให้แก่เด็กๆ ฟรี โดยตอนแรก สโมสรฯ มีสมาชิกแค่ 10 คนแต่หลังจากนั้น 10 ปี สมาชิกในสโมสรฯ ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30 คน โดยเป็นเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4 -17 ปี
ในตอนแรก ทางสโมสรฯ ประสบอุปสรรคเนื่องจากไม่มีเงินทุนและเด็กส่วนใหญ่ที่มาเรียนก็อายุยังน้อย การสอนจึงต้องใช้ความทุ่มเทเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความรักเด็กและเพลงทำนองกวานเหาะ เธอจึงพยายามหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อสอนให้เด็ก ๆ เข้าใจ นอกจากนี้ เธอก็เชิญครูอาจารย์ที่มากประสบการณ์มาสอนเด็กๆ ด้วย
เด็กๆ ในสโมสรฯ ฝึกร้องเพลงกวานเหาะ
นาง เหงียนถิเงวียน เตรียมชุดแต่งตัวให้แก่เด็กก่อนขึ้นเวทีแสดง
“เหม่ยเจ่า” หรือเชิญกินหมากคือเอกลักษณ์วัฒนธรรมในการร้องเพลงกวานเหาะ
การฝึกร้องเพลงจะฝึกกันสองวันต่อสัปดาห์ โดยในวันนั้น เด็ก ๆ จะได้ใส่ชุดแต่งกายสำหรับการแสดงร้องเพลงกวานเหาะ คือชุด “เม้อบา” “เม้อไบ๋”และ “อ๊าวแทคันเซป”
เด็กหญิง เหงียนบิ๊กหงอก สมาชิกสโมสรฯ บอกว่าสามารถร้องเพลงกวานเหาะได้นับสิบบท ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกของสโมสรฯ ได้ช่วยให้เธอมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการร้องเพลงกวานเหาะมากขึ้นและมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ
ส่วนเด็กหญิง เหงียนเหี่ยนฮวา จากหมู่บ้านด๋ายเซิน กล่าวว่า นอกจากเรียนในสโมสรฯ เธอก็เรียนตามรายการสอนการร้องเพลงกวางเหาะทางสถานีโทรทัศน์ โดยฝึกในช่วงเวลาว่าง ซึ่งทำให้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
ในเทศกาล “ลิม” ที่ผ่านมา การร้องเพลงกวานเหาะของสมาชิกในสโมสรมังนอนของตำบลหว่านเซิน อำเภอเตียนยู ได้รับคำชื่นชมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวจังหวัดบั๊กนิงห์ในช่วงเทศกาลนี้มากขึ้น
แม้คนรุ่นใหม่มักจะสนใจดนตรีสมัยใหม่ แต่การจัดตั้งสโมสรกวานเหาะมังนอนก็ถือเป็นการส่งเสริมความรักศิลปะนี้ต่อคนรุ่นใหม่ ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่การร้องเพลงกวานเหาะบั๊กนิงห์ในชุมชน.