10 เหตุการณ์เด่นของโลกในปี 2011

เหตุการที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างลึกต่อโลกจัดโดยสถานีวิทยุเวียดนาม

1.ขบวนการวสันต์ฤดูอาหรับ”: จากการเดินขบวนของชาวตูนีเซียเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการเรียกร้องให้นาย ไซน์ เอล อาไบดีน เบน อาลี ประธานาธิบดีตูนีเซียลาออกจากตำแหน่งได้ลุกลามไปยังประเทศอียิปต์และกลายเป็นขบวนการวสันต์ฤดูอาหรับที่เรียกร้องประชาธิปไตยและโค่นล้มระบอบปกครองของประเทศต่างๆในตะวันออกกลางและอัฟฟริกาเหนือจนทำให้ผู้นำของประเทศตูนีเซีย อียิปต์และเยเมนถูกโค่นล้ม ส่วนนาย กาดาฟี ประธานาธิบดีลิเบียก็ถูกกองกำลังลุกขึ้นสู้จับกุมตัวและสังหาร ประเทศซีเรียตกเข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมืองในขณะที่ประเทศ        บาเรนห์ ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดนและคูเวตกำลังเผชิญกับความรุนแรงจากประท้วงซึ่งวสันต์ฤดูอาหรับได้เปิดระยะใหม่และช่วยให้พรรคการเมืองมุสลิมขึ้นมามีอำนาจในเขตนี้

 2.วิกฤติหนี้สาธารณะในเขตยูโรโซน: การที่เขตยูโรโซนตกเข้าสู่วิกฤติหนี้สาธารณะได้ทำให้ประชาคมโลกมีความกังวลว่า เขตนี้อาจจะต้องยุบตัวลงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศสมาชิกของเขต    ยูโรโซนต้องปฏิบัตินโยบายรัดเข็มขัดซึ่งได้ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงและนัดหยุดงานของประชาชนเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อปัญหาการว่างงานและการตัดลบงบประมาณแผ่นดินที่สาเหตุมาจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลกโดยที่ประเทศตุรกี นาย จอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีตุรกีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ต่อจากนั้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน นาย ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลีก็ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเช่นกัน นอกจากนี้ วิกฤติหนี้สาธารณะได้สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะ ตลอดจนการพิจารณาสนธิสัญญาลิสบอน

3.เหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น: เหตุแผ่นดินไหวที่มีแรงสั่นสะเทือน 9 ริกเตอร์ในเขตภาคตะวันตกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มเขตดังกล่าวซึ่งได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายประมาณ 2 หมื่น 8 พันคน อีกทั้งทำลายบ้านเรือนประชาชนและระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 1 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะหมายเลข 1ระเบิดขึ้นจนเกิดการรั่วไหลสารกัมมันตรังสี ตามการประเมินของธนาคารโลก เหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิได้ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเสียหาย 2 แสน 3 หมื่น 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 4 ของจีดีพีและทำให้ประเทศต่างๆพิจารณานโยบายการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของตน

 4.พายุถล่มฟิลิปปินส์และเหตุน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีในประเทศไทย: พายุวาซิถือเป็นพายุที่สร้างความเสียหายหนักที่สุดต่อฟิลิปปินส์ในรอบหลายปีที่ผ่านมาโดยพัดถล่มจังหวัดมินดานาว ทางภาคใต้ฟิลิปปินส์ซึ่งได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญเสียกว่า 1 พันคน ชาวฟิลิปปินส์ประมาณ 1 แสนคนต้องอพยพไปยังเขตที่ปลอดภัย ในขณะเดียวกัน เหตุน้ำท่วมในประเทศไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฏาคมถึงเดือนพฤศจิกายนใน 62 จังหวัดจากทั้งหมด 77 จังหวัดทั่วประเทศได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 533 คนและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 3 ล้าน 3 แสนคนจนทำให้รัฐบาลไทยต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่น้ำท่วม เหตุน้ำท่วมได้ก่อความเสียหายต่อเศรษฐกิจของไทยสูงถึง 3 หมื่น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ จีดีพีของไทยในปี 2011 อาจจะลดลงร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 1.7

5.การประชุม COP-17 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สร้างความสนใจเป็นอย่างมากต่อประชาคมโลก: การประชุมครั้งที่ 17 ของสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP17 ณ เมืองดอร์บาน อัฟริกาใต้ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่มีผลทางนิตินัยอย่างสมบูรณ์และเสมอภาคในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนในขณะที่ระยะที่ 1 ของพิธีสารเกียวโตจะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธันวาคมปี 2012 เนื่องจากความขัดแย้งในการแบ่งความรับผิดชอบต่อปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม

6.ปัญหาทะเลตะวันออกกลายเป็นเหตุการณ์ที่ร้อนแรงของโลก: ปัญหาในทะเลตะวันออกได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งประเทศในภูมิภาคและประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐและรัสเซีย ปัจจุบัน ความตึงเครียดในทะเลตะวันออกได้ลดลงแล้วเนื่องจากความพยายามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยจีนและอาเซียนได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการแนะนำการปฏิบัติแถลงการณ์ว่าด้วยการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีและเห็นพ้องที่จะร่างหลักการว่าด้วยการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่สำคัญในการแก้ไขการพิพาท การรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพในทะเลตะวันออก

7.นาย อุซามะห์ บินลาเดน ผู้นำเครือข่ายก่อการร้าย อัลกออิดะห์ ถูกสังหาร: หน่วยรบพิเศษของสหรัฐได้สังหารนาย บินลาเดนขณะที่หนีกบดานอยู่ที่เมือง อับโบตตาบาด ห่างจากกรุงอิสลามมาบัส ประเทศปากีสถานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 50 กิโลเมตรซึ่งหน่วยข่าวกรองสหรัฐต้องรวบรวมข้อมูลและสืบเสาะถึง 10 ปีก่อนที่จะนำไปสู่การสังหารดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม นี่เพียงเป็นชัยชนะเบื้องต้นของหน่วยข่าวกรองสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้ายที่กำลังมีขึ้นในหลายรูปแบบเท่านั้นและปฏิบัติการดังกล่าวก็ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์พันธมิตรระหว่างสหรัฐกับปากีสถาน

 8.ขบวนการยึดครองวอลสตรีทลุกลามไปยังประเทศต่างๆและเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ในสหรัฐ: ขบวนการยึดครองวอลสตรีทที่เริ่มด้วยการตั้งเต๊นท์ของกลุ่มเยาวชนที่หน้าสำนักงานหลักทรัพย์     นิวยอร์คเมื่อวันที่ 17 กันยายนเพื่อคัดค้านนโยบายการเงินของสหรัฐได้ลุกลามไปทั่วประเทศสหรัฐและบานปลายไปยังญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศในยุโรป ภายหลัง 2 เดือน กลุ่มผู้ชุมนุมในนครนิวยอร์คได้เปิดการรณรงค์ครั้งใหม่ที่มีชื่อว่า “ปิดทำการวอลสตรีท” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสการประท้วงครั้งใหม่ในสหรัฐเพื่อคัดค้านนโยบายที่ไม่มีความยุติธรรมที่เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มผู้บริหารธนาคารและคนรวยซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1 ของประชากรเท่านั้นในขณะที่ชาวสหรัฐส่วนใหญ่ต้องจ่ายภาษีและหนี้สาธารณะ

9.โลกมีประชากรครบ 7 พันล้านคนในวันที่ 31 ตุลาคม: เด็กหญิง ดานีกา คามาโช ที่เกิดเมื่อค่ำวันที่ 31 เดือนตุลาคม ณ ประเทศฟิลิปปินส์ถือเป็นประชากรคนที่ 7 พันล้านของโลกซึ่งถึงแม้ประชาคมโลกจะฉลองที่โลกมีประชากรครบ 7 พันล้านคน แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้สร้างความกังวลต่อผลกระทบที่จะตามมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก โดยเฉพาะ การรักษาความมั่นคงด้านอาหารและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ส่วนสหประชาชาติได้ถือวันที่ 31 ตุลาคมเป็นวันทั่วโลกฉลองประชากรมี 7 พันล้านคนและเรียกร้องให้ประเทศต่างๆร่วมกันเพื่อฟันฝ่าความท้าทายต่างๆ

10.รางวัลโนเบลสันติภาพปี 2011- การเชิดชูสดุดีสตรี: เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม สตรี 3 คนจากอัฟริกาที่ประกอบไปด้วย นาง เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ประธานาธิบดีไลเบีเรีย นาง เลย์มาห์ กโบวี นักรณรงค์สิทธิสตรีชาวไลบีเรียและนาง ตาวักกุล การ์เมน ผู้นำขบวนการประท้วงในเยเมน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2011 ร่วมกันโดยเป็นครั้งแรกที่รางวัลโนเบลได้มอบให้แก่สตรี 3 คนซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปราถนาของคณะกรรมการโนเบลที่ต้องการเชิดชูสดุดีผู้ที่มีส่วนร่วมต่อกระบวนการเรียกร้องสิทธิของสตรี อีกทั้งย้ำถึงบทบาทของสตรีในการสร้างสรรค์สันติภาพโลก./.


คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด