การเสริมสร้างความสามัคคีและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของอาเซียนมีความหมายเชิงยุทธศาสตร์ในสภาวการณ์ใหม่

(VOVWORLD) - ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำประเทศไทยรายงานว่า ในกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้อง วันที่ 2 พฤศจิกายน ณ กรุงเทพฯ  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝ่ามบิ่งมิงและรัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศสมาชิกอาซียนได้เข้าร่วมการประชุมสภาประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน หรือ APSC ครั้งที่ 20 และการประชุมสภาประสานงานอาเซียน หรือ ACC ครั้งที่ 24
การเสริมสร้างความสามัคคีและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของอาเซียนมีความหมายเชิงยุทธศาสตร์ในสภาวการณ์ใหม่ - ảnh 1บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม 

ในการนี้ นาย ฝ่ามบิ่งมิงได้กล่าวชื่นชมผลงานต่างๆที่อาเซียนได้บรรลุหลังการปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2025 ในตลอด 4ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งยืนยันว่า อาเซียนควรจัดการประชุมประเมินผลการปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2025 กึ่งวาระ เพื่อหารือถึงปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ วางมาตรการและแนวทางปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2025 ให้ประสบความสำเร็จควบคู่กับการวางแนวทางใหม่เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติกลไกความร่วมมือที่อาเซียนเป็นผู้ริเริ่ม พร้อมทั้งเผยว่า ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์โลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน การเสริมสร้างความสามัคคีและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของอาเซียนมีความหมายเชิงยุทธศาสตร์ เป็นพื้นฐานให้แก่ความสำเร็จของอาเซียนในกว่า 50 ปีที่ผ่านมาและในอนาคต อาเซียนควรเสริมสร้างศักยภาพในการใช้โอกาสและรับมือความท้าทายใหม่ รวมทั้งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0

ส่วนเสาหลักด้านการเมือง-ความมั่นคง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝ่ามบิ่งมิงได้เผยว่า ควรส่งเสริมความพยายามประชาสัมพันธ์คุณค่าและหลักปฏิบัติต่อกันที่ได้รับการรับรองในภูมิภาคควบคู่กับการผลักดันการสนทนาเพื่อสร้างความไว้วางใจ สร้างบรรยากาศที่เอื้อให้แก่การเจรจาเกี่ยวกับหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีให้สอดคล้องกับกฎหมายสากล รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982.

กวางจุง-จ่องดาษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด