จิตสำนึกเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือต้องอาศัยผลประโยชน์ร่วม

เพื่อรักษาความมั่นคง อธิปไตยของประเทศและมีส่วนร่วมต่อการรักษาบรรยากาศที่สันติภาพ เสถียรภาพและมั่นคงของภูมิภาค ทุกประเทศต้องมีวิธีการเข้าถึงที่สมบูรณ์และมีลักษณะสร้างสรรค์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือทั้งในระดับชาติและภูมิภาค

จิตสำนึกเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือต้องอาศัยผลประโยชน์ร่วม - ảnh 1
กองทัพเรือฟิลิปปินส์ (Internet)

วันที่ 13 พฤศจิกายน กองทัพเรืออินโดนีเซียได้จัดการสัมมนานาชาติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือภายใต้หัวข้อ “สร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือบนพื้นฐานผลประโยชน์ของชาติเพื่อความสำเร็จของภารกิจการสร้างสรรค์ประเทศ” โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงจากกองทัพเรืออินโดนีเซีย ตัวแทนจากกองทัพเรือ หัวหน้าตัวแทนผู้ช่วยฑูตฝ่ายทหารของประเทศต่างๆประจำอินโดนีเซียพร้อมนักวิชาการด้านความปลอดภัยในการเดินเรือเข้าร่วม ที่สัมมนาได้ประเมินเกี่ยวกับบรรยากาศความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคต่างๆที่กำลังได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อความมั่นคง เช่น ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย โจรสลัด การขนส่งอาวุธ การลักลอบจับปลา ความเสี่ยงในการแข่งขันอาวุธ การปะทะทางทหารในทะเลและการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออก บรรดาผู้แทนได้แสดงความเห็นว่า เพื่อรักษาความมั่นคง อธิปไตยของประเทศและมีส่วนร่วมต่อการรักษาบรรยากาศที่สันติภาพ เสถียรภาพและมั่นคงของภูมิภาค ทุกประเทศต้องมีวิธีการเข้าถึงที่สมบูรณ์และมีลักษณะสร้างสรรค์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือทั้งในระดับชาติและภูมิภาค สำหรับในระดับภูมิภาค ประเทศต่างๆต้องประสานงานเพื่อธำรงความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทะเลบนพื้นฐานการให้ความเคารพกฏหมายสากล อนุญาติให้ประเทศต่างๆเดินหน้าและพัฒนาแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำที่ชอบด้วยกฏหมายอย่างยั่งยืน การสร้างสรรค์และธำรงความมั่นคงในทะเลมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดสงคราม โจรสลัด การก่อการร้ายและอาชญากรรมทางทะเล

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว บรรดาผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ย้ำถึงความสำคัญต่อมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การประสานงานในการฝึกอบรม การซ้อมรบ การลาดตระเวนร่วมและการประสานกองกำลังระหว่างประเทศในด้านต่างๆ เช่นการต่อต้านโจรสลัด การกู้ภัยและการลดภัยธรรมชาติ รวมทั้งการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพใน “โครงการปฏิบัติการอาเซียนเกี่ยวกับการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ” หรือ อาเซียน- PACTC แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเขตทับซ้อนทางทะเล การพิพาทด้านอธิปไตยเหนือหมู่เกาะระหว่างประเทศต่างๆและการแข่งขันของประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคยากที่จะแก้ไขได้ ดังนั้น ประเทศต่างๆต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฏหมายสากล รวมทั้ง อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี 1982 อย่างเคร่งครัดและสมบูรณ์./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด