นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 38 และ 39

(VOVWORLD) - เมื่อเช้าวันที่ 26 ตุลาคม นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้งได้นำคณะผู้แทนเวียดนามเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 38 และ 39 ผ่านระบบทางไกลตามคำเชิญของกษัตริย์แห่งบรูไน Hasanal Bolkiah ในฐานะประธานอาเซียนปี 2021
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 38 และ 39 - ảnh 1ภาพการประชุม

ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้งได้ย้ำว่า เวียดนามมีความประสงค์ที่จะร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนฟันฝ่าอุปสรรค เสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นเอกภาพ การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน การเชื่อมโยงในภูมิภาค การรับมือความท้าทายต่างๆและการส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลาง สถานะและเสียงพูดของอาเซียนในโลก พร้อมทั้งย้ำถึงประเด็นสำคัญ 2 ข้อว่า“ต้องเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเพื่อปรับตัวเข้ากับยุคชีวิตวิถีใหม่และร่วมแรงร่วมใจสู้ภัยโควิด-19 เพราะไม่มีประเทศใดปลอดภัยถ้าหากประเทศอื่นในภูมิภาคและโลกยังคงต้องรับมือการแพร่ระบาด ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่อาเซียนต้องปรับตัวในการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการผลักดันการฟื้นฟู อีกทั้งยกระดับประสิทธิภาพของกลไกการประสานงาน ศักยภาพของระบบสาธารณสุข วัคซีนและยารักษาโรค จากการผลักดันการวิจัยและผลิตวัคซีนในเชิงรุก เวียดนามเสนอให้ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตวัคซีน ยารักษาโรคโควิด-19 เพื่อจัดตั้งระบบห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค ซึ่งควรพิจราณาการใช้กองทุนรับมือโควิด-19 ของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายารักษา”

ส่วนในการกล่าวปราศรัยในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 39 นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้เผยว่า อัตลักษณ์และพลังที่เข้มแข็งของอาเซียนในตลอด 54ปีมากจากความสามัคคี ดังนั้น อาเซียนต้องส่งเสริมความสามัคคีและช่วยเหลือประชาชนเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แก้ไขปัญหาที่สำคัญๆของประชาคมและความสัมพันธ์กับประเทศคู่สนทนา สำหรับปัญหาทะเลตะวันออก นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้งได้ย้ำว่า“อาเซียนต้องแสดงความมุ่งมั่นและบทบาทในการรักษาสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกที่ประเทศสมาชิกมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ ยืนหยัดจุดยืน ผลักดันคำมั่นของประเทศต่างๆในการปฏิบัติตามกฎหมายสากล มีความรับผิดชอบ ใช้ความอดกลั้น ไม่มีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดและซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งกระชับความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล แก้ไขปัญหาการจับปลาอย่างผิดกฎหมายและช่วยเหลือชาวประมง ปฏิบัติดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการจัดทำร่างซีโอซีโดยเร็ว พยายามร่วมกับจีนเพื่อบรรลุซีโอซีที่สอดคล้องกับกฎหมายสากล รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด