(VOVWORLD) - เมื่อค่ำวันที่ 13 พฤศจิกายน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีการเปิดการประชุมสุดยอดแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 9 โดยมีผู้นำของกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนามและญี่ปุ่นเข้าร่วม
นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุกกับผู้นำของกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนามและญี่ปุ่น (VGP) |
ในการนี้ บรรดาผู้นำได้เห็นพ้องกันว่า จะผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศแม่โขงตามแนวทางที่ถูกระบุในเอกสาร “พัฒนาอุตสาหกรรมแม่โขงเพื่อการเชื่อมโยง” ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 9 ผลักดันการประสานงานความร่วมมือระหว่างแม่โขง-ญี่ปุ่นกับองค์การต่างๆในภูมิภาคและโลก เช่นธนาคารพัฒนาเอเชีย ศูนย์ญี่ปุ่น-อาเซียน คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ให้การช่วยเหลือประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงปฏิบัติเป้าหมายการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติโครงการรับมือปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และยืนยันอีกครั้งถึงความหมายที่สำคัญของการบริหารจัดการและใช้แหล่งน้ำอย่างยั่งยืนและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของแม่น้ำโขง
ที่ประชุมยังย้ำถึงการผลักดันการบังคับใช้กฎหมายของประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยมีการสนับสนุนของญี่ปุ่น รวมทั้งการยกระดับความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลและการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนผลักดันการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและประชาชนระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกได้ย้ำถึงความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น โดยต้องเน้นการช่วยเหลือประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พัฒนาอุตสาหกรรมและการเกษตรที่ทันสมัย ยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากร ความสามารถในการวิจัยการพัฒนา การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงและผลักดันการเชื่อมโยงภูมิภาค รวมทั้งเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศและระบบโลจิสติกส์ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาตามแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน พร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริหารจัดการและใช้แหล่งน้ำของแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
ในการปิดการประชุม บรรดาผู้นำได้ออกแถลงการณ์ร่วมและเห็นพ้องที่จะจัดการประชุมสุดยอดแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 10 ณ ประเทศญี่ปุ่น
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติครั้งที่ 9 บรรดาผู้นำได้เห็นพ้องที่จะผลักดันการปฏิบัติแผนปฏิบัติการอาเซียน-สหประชาชาติวาระปี 2016-2020 ตลอดจนประสานงานระเบียบวาระการประชุม 2030 เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 ด้วยเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ประกอบด้วย การรักษาสันติภาพ การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น
นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ยืนยันถึงคำมั่นผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้านอาเซียน-สหประชาชาติตามแนวทางให้การช่วยเหลืออาเซียนในการปฏิบัติวิสัยทัศน์ประชาคม 2025 และเป้าหมายของระเบียบวาระการประชุม 2030 เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายต้องผลักดันการทาบทามความคิดเห็น ประสานงานเพื่อผลักดันโครงการร่วมมืออาเซียน-สหประชาชาติเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและปรับปรุงสวัสดิการสังคม นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องผลักดันการแลกเปลี่ยนและผลักดันผลประโยชน์ร่วมกัน ให้การช่วยเหลือกันในการรับมือกับความท้าทายต่างๆในภูมิภาคและโลก
เช้าวันเดียวกัน บรรดาผู้นำอาเซียนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนบวก 3 กับผู้นำจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ตลอดจนการประชุมสุดยอดฉลองครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา และการประชุมสุดยอดฉลอง 40 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-อียู.