ประกาศรายงานเศรษฐกิจประจำปีของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปี 2020

(VOVWORLD) - เมื่อเช้าวันที่ 14 ธันวาคม ณ นครเกิ่นเทอ หอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามหรือวีซีซีไอได้จัดพิธีประกาศรายงานเศรษฐกิจประจำปี 2020 ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง 
ประกาศรายงานเศรษฐกิจประจำปีของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปี 2020 - ảnh 1 รายงานเศรษฐกิจประจำปีของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปี 2020 (tienphong.vn)

นี่คือผลการวิจัยร่วมกันระหว่างวีซีซีไอกับสถาบันนโยบายสาธารณะและการบริหาร Fulbright หรือ FSPPM ที่มีขึ้นเป็นเวลากว่า 1 ปีและเป็นรายงานวิจัยในด้านเศรษฐกิจฉบับแรกในระดับทั่วประเทศและเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่ได้รับการคัดเลือกเหมือนเพื่อมุ่งสู่การจัดตั้งกลไกเขตเศรษฐกิจในอนาคต

เนื้อหาของรายงานมี 5 บรรพ  โดยเน้นประเด็นสำคัญ เช่น ภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนาม ทบทวน 10 ปีของการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงผ่านการวิเคราะห์ศักยภาพของสภาพธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรมนุษย์ ขีดความสามารถในการแข่งขันของท้องถิ่น จุดแข็งและศักยภาพของเขต เช่น การเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูป พลังงานและโลจิสติกส์ รายงานเน้นวิเคราะห์ถึงปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ ระบุความท้าทายและอุปสรรคต่อการพัฒนาของเขตเพื่อมีข้อเสนอแนะและนโยบายที่เหมาะสม

ที่น่าสนใจที่ได้ถอดจากการวิจัยคือ บทบาททางเศรษฐกิจของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังลดลงเมื่อเทียบกับเขตอื่นๆของประเทศ โดยส่วนร่วมของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต่อจีดีพีใน 3 ทศวรรษที่ผ่านมาได้ลดลงเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้น อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจในรายงานฉบับนี้คือปัญหาอพยพ ซึ่งเป็นปัญหาที่ร้อนระอุของเขตนี้ในเวลาที่ผ่านมา โดยจำนวนชาวท้องถิ่นที่อพยพออกจากเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในศตวรรษที่ผ่านมาอยู่ที่เกือบ 1.1 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าจำนวนประชากรของจังหวัดในเขตและเท่ากับการเพิ่มจำนวนประชากรของทั้งเขต ดังนั้น เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน จำนวนประชากรของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงแทบจะไม่เปลี่ยนแปลง

ควบคู่กันนั้น ผลการวิจัยในรายงานยังระบุว่า สถานการณ์โรคระบาด ภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานนับวันรุนแรงมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ สังคมของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

นอกจากนั้น กิจกรรมการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงคือการแปรรูปสัตว์น้ำ แต่มีการขยายตัวไม่สูงนักและปัจจัยอื่นๆได้ทำให้อุตสหกรรมของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยากที่จะพัฒนาได้..

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด