"ฝ่ายไหนกันแน่ที่ก่อปัญหาในทะเลตะวันออก"
(VOVworld)-หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่7กรกฎาคมได้ลงบทความของท่านเหงวียนเติ๊ดแถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทยเพื่อตอบโต้ความเห็นของนาย หนิงฟู่ขุย เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออก
(VOVworld)-หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่7กรกฎาคมได้ลงบทความของท่านเหงวียนเติ๊ดแถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทยเพื่อตอบโต้ความเห็นของนาย หนิงฟู่ขุย เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออก โดยพาดหัวเรื่องว่า “ฝ่ายไหนกันแน่ที่ก่อปัญหาในทะเลตะวันออก- ข้อเท็จจริงบางประการที่จะแลกเปลี่ยน กับท่านเอกอัครราชทูต หนิง ฟู่ขุย” โดยในบทเขียนได้มีการระบุว่า “ข้อเท็จจริงคือการปฏิบัติงานที่ผิดกฎหมายของแท่นขุดเจาะน้ำมันจีน เช่นเดียวกับการกระทำที่ก้าวร้าวและไร้มนุษยธรรมของกองเรือคุ้มครองแท่นขุดเจาะน้ำมันของจีนในน่านน้ำของเวียดนามมีสื่อต่างๆทั้งในและนอกภูมิภาคทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาผู้สื่อข่าวต่างประเทศนักวิชาการ และนักการเมืองระหว่างประเทศ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การกระทำฝ่ายเดียวและการยั่วยุของจีนที่ไม่เคารพและปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศ ละเมิดปฏิญญาว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้(DOC) เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดสถานการณ์ตึงเครียดในปัจจุบัน”
|
ท่านเหงวียนเติ๊ดแถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามได้คัดค้านทัศนะของเอกอัครราชทูตจีนที่ว่า “ทางการจีนได้มีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาที่ท่านทูตหนิงเรียกว่าซีซา อย่างต่อเนื่อง ถูกต้องตามกฎหมายและโดยสงบมาโดยตลอด โดยตั้งแต่กลางและปลายศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับประวัติศาสตร์และผิดพลาดทางกฎหมาย เวียดนามมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และกฎหมายอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์อำนาจอธิปไตยของตนเหนือหมู่เกาะหว่างซา” พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่างหลักฐานที่เป็นแผนที่โบราณต่างๆว่า “นักทำแผนที่ชั้นนำชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean BaptisteBourguignon d′Anville ได้แสดงให้เห็นเขตแดนของจีนในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (1736-1795) ถูกจำกัดไว้ที่เกาะไหหลำ ไม่รวมหมู่เกาะในทะเลตะวันออก เช่น หมู่เกาะหว่างซา ในแผนที่ที่ตีพิมพ์ในเยอรมนีในปี 1973 และในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเยอรมนี Angela Merkel ได้มอบแผนที่ฉบับนี้เป็นของฝากให้กับประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง เนื่องในโอกาสเยือนประเทศเยอรมนี ขณะที่เอกสารหลายฉบับของจีน เช่น หายวาย จิชิ (Haiwai Jishi) ในปี 1696 หรือหายหลู (Hailu) ในปี 1820 และเอกสารระหว่างประเทศ เช่น วารสารของสังคมเอเชียแห่งเบงกอล (Journal of the Asiatic Society of Bengal - 1837) และวารสารของสังคมภูมิศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน(Journal of the Geographical Society of London - 1849) ต่างก็ได้มีการยอมรับและแสดงหมู่เกาะหวงซาอยู่ในอาณาเขตของเวียดนาม”
ท่านเหงวียนเติ๊ดแถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามยังได้ยืนยันว่า “การที่จีนได้กำหนดเส้นเขตแดนเส้นฐานรอบหมู่เกาะหว่างซาเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายและไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลในปี 1982 ..การกระทำของจีนเป็นการละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลในปี 1982 ตรงข้ามกับความมุ่งมั่นและถ้อยคำของ DOC เช่นเดียวกับข้อตกลงระดับสูงระหว่างสองประเทศ การกระทำของจีนก่อให้เกิดปัญหาทวิภาคีระหว่างเวียดนามและจีน เป็นการคุกคามความมั่นคง ความปลอดภัย และเสรีภาพในการเดินเรือ สร้างความไม่สงบในภูมิภาค
ด้วยเหตุนี้ มิใช่เพียงแต่เวียดนามประเทศเดียวที่มีการต่อต้าน แต่ยังมีอีกหลายประเทศในโลกได้แสดงความกังวลและเรียกร้องให้ประเทศจีนยุติการยั่วยุของตน”
ในตอนท้ายของบทความท่านเหงวียนเติ๊ดแถ่ง เอกอัครราชทูตเวียดนามได้ย้ำว่า “สิ่งที่จีนควรทำในตอนนี้คือ ถอนแท่นขุดเจาะน้ำมัน Haiyang Shiyou 981 รวมทั้งกำลังคนกับกองเรือทั้งหมดออกจากน่านน้ำของเวียดนามและร่วมมือกับทางเวียดนามเพื่อแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”./.