สหประชาชาติเรียกร้องให้มีปฏิบัติการที่เร่งด่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

(VOVWORLD) - ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs Summit เมื่อวันที่ 18 กันยายน ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ ผู้นำของสหประชาชาติและประเทศสมาชิกหลายประเทศได้ออกคำเตือนว่า โลกกำลังมีปฏิบัติการที่ล่าช้าเกินไปและมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่วางไว้เมื่อปี 2015
สหประชาชาติเรียกร้องให้มีปฏิบัติการที่เร่งด่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน - ảnh 1นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (Xinhua/Li Rui)

การประชุมสุดยอดเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs คือกิจกรรมสำคัญในการประชุมผู้นำสมัชชาใหญ่สหประชาชาติหรือ UNGA  สมัยที่ 78 ณ นครนิวยอร์ก เนื้อหาหลักของการประชุมคือการตรวจสอบความคืบหน้าในการปฏิบัติและการประเมินความสามารถในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติตามแผนการที่วางไว้ในปี 2030

เมื่อปี 2015 สหประชาชาติได้เผยแพร่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย โดยมุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นรูปธรรม 169 ข้อ รวมถึง การขจัดความยากจนรุนแรง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การศึกษาที่เท่าเทียมกันและความเสมอภาคทางเพศ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในการกล่าวปราศรัยเปิดการประชุม นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เตือนว่า ขณะนี้ มีเพียงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร้อยละ 15 เท่านั้นที่กำลังดำเนินไปถูกทิศทาง ส่วนเป้าหมายอื่น ๆ ยังคงไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร

สำหรับเป้าหมายความเสมอภาคทางเพศ นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติประเมินว่า ด้วยอัตราการปฏิบัติกรอบทางนิตินัยที่ล่าช้าในปัจจุบัน โลกจะต้องใช้เวลา 286 ปีเพื่อลดช่องว่างทางเพศ ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เรียกร้องให้ทั่วโลกดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในวันแรกของการประชุม ผู้นำของประเทศต่างๆ ได้อนุมัติแถลงการณ์ทางการเมืองโดยเสนอมาตรการต่างๆที่น่าสนใจ รวมทั้ง การเปิดตัวแพ็คเกจสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมมูลค่าอย่างน้อย 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี อีกทั้ง จัดทำกลไกแก้ไขปัญหน้าหนี้สินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่ประเทศยากจน  นาย เดนนิส ฟรานซิส ประธาน UNGA-78 กล่าวว่า ถ้าหากเราดำเนินการอย่างเคร่งครัดตั้งแต่บัดนี้ โลกจะสามารถช่วยเหลือประชากร 124 ล้านคนให้หลุดพ้นจากความยากจน และอีก 113 ล้านคนรอดพ้นจากภาวะทุพโภชนาการภายในปี 2030.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด