สื่อมวลชนต่างประเทศตำหนิจีนที่นำแท่นจุดเจาะ ไหหยาง 981เข้าไปในเขตอธิปไตยของเวียดนาม

(VOVworld) –  ความผันผวนใหม่ในทะเลตะวันออกกำลังกลายเป็นปัญหาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนต่างประเทศในหลายวันที่ผ่านมา
สื่อมวลชนต่างประเทศตำหนิจีนที่นำแท่นจุดเจาะ ไหหยาง    981เข้าไปในเขตอธิปไตยของเวียดนาม - ảnh 1
จุดที่จีนนำแท่นขุดเจาะเข้าไปเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม(Photo: Hanoimoi.com)

(VOVworld) –  ความผันผวนใหม่ในทะเลตะวันออกกำลังกลายเป็นปัญหาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนต่างประเทศในหลายวันที่ผ่านมา

สำนักข่าวใหญ่ๆ เช่น AP AFP Reuters Deutsch Welles  วอชิงตันโพสต์ และDPA ต่างให้ข้อสังเกตุว่า การที่จีนนำแท่นจุดเจาะไหหยาง    981เข้าไปในเขตทะเลสังกัดอธิปไตยของเวียดนามทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคมีความตึงเครียดยิ่งขึ้นและ“เป็นหนึ่งในก้าวเดินที่ยั่วยุที่สุด”

ส่วนNew York Times และWall Street Journal ย้ำว่า นี่คือเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดระหว่างสองประเทศในหลายปีที่ผ่านมาและอาจนำไปสู่การพิพาทที่รุนแรง  หนังสือพิมพ์ อิโคโนมิกส์ ไทมส์ของอินเดียฉบับวันที่๗เดือนนี้ ได้ลงบทความของนักข่าวอินเดียDipanjan Roy Chaudhury ที่เขียนว่า การที่จีนนำแท่นจุดเจาะไหหยาง    981เข้าไปในเขตทะเลของเวียดนามก็เพื่อหาทางสร้างแรงกดดัน อันที่เรียกว่า แถลงการณ์เกี่ยวกับอธิปไตยของจีนถูกตำหนิจากนานาชาติและเป็นอุปสรรคต่อความพยายามแก้ไขการพิพาทในภูมิภาค เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า จีนขาดหลักฐานทางนิตินัยและเดินสวนทางกับกฎหมายสากล รวมทั้งUNCLOS ปี๑๙๘๒

ในขณะเดียวกันสื่อต่างๆของญี่ปุ่นก็ได้ลงข่าวเกี่ยวกับปัญหาความตึงเครียดในทะเลตะวันออกโดยมีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ฝ่ายจีนได้เสนอในการแถลงข่าวเมื่อวันที่8ที่ผ่านมา ณ กรุงปักกิ่ง สำนักข่าวจีจิและสำนักข่าวเกียวโดได้ลงความเห็นว่า จีนไม่สามารถแสดงหลักฐานเหมือนเวียดนามที่มีภาพเรือจีนพุ่งชนเรือของเวียดนามพร้อมทั้งไม่ยอมตอบตรงประเด็นที่นักข่าวถามเกี่ยวกับจำนวนเรือของจีนที่ปรากฎในเขตนี้ ส่วนหนังสือพิมพ์โตเกียวได้รายงานว่าแท่นขุดเจาะไหหยาง    -981เพิ่งนำเข้าใช้งานเมื่อปี2012เท่านั้น ดังนั้นคำแถลงของบริษัทปิโตรเลี่ยมไหหยางที่ว่ากิจกรรมการสำรวจปิโตรเลี่ยมในเขตนี้ได้ดำเนินมานาน10ปีแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ไร้มูลความจริง  หนังสือพิมพ์ซันเกย์ได้ลงบทวิเคราะห์ที่พาดหัวว่า “จีนและทะเลตะวันออก การใช้กำลังเพื่อมุ่งปรับเปลี่ยนสภาพ” โดยได้ย้ำว่าความพยายามใช้กำลังของจีนเพื่อเปลี่ยนสภาพทางทะเลปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้และสถานการณ์ความตึงเครียดทวีความรุนแรงขึ้นก็เพราะท่าทีที่ไม่ให้ความร่วมมืออย่างจริงจังในการปฏิบัติตามหลักการณ์ว่าด้วยการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออก./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด