เปิดการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยที่ 14

(VOVworld) – การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยที่ 14 จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ เช่น การเตรียมความพร้อมให้แก่การประชุมครั้งที่ 2 เพื่อยื่นเสนอให้รัฐสภาปรับปรุงร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่รัฐสภาสมัยที่ 13 ได้แสดงความคิดเห็น

เปิดการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยที่ 14 - ảnh 1
เปิดการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยที่ 14 (vietnamplus)

(VOVworld) – เช้าวันที่ 12 กันยายน ณ กรุงฮานอย ได้มีการเปิดการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยที่ 14 ในการกล่าวปราศรัยเปิดการประชุม นาง เหงียนถิกิมเงิน ประธานรัฐสภาได้เผยว่า เพื่อเตรียมพร้อมให้แก่การประชุมรัฐสภาครั้งที่ 2 สมัยที่ 14 ซึ่งจะเปิดขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยที่ 14 จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ เช่น การเตรียมความพร้อมให้แก่การประชุมครั้งที่ 2 เพื่อยื่นเสนอให้รัฐสภาปรับปรุงร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่รัฐสภาสมัยที่ 13 ได้แสดงความคิดเห็นคือ ร่างกฎหมายเกี่ยวกับสมาคม ร่างกฎหมายความเลื่อมใสและการนับถือศาสนา ร่างกฎหมายการประมูลทรัพย์สิน คณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภายังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย 10 ฉบับและร่างมติ 1 ฉบับเพื่อยื่นเสนอให้รัฐสภาครั้งที่ 2 อนุมัติ ประกอบด้วย กฎหมายชลประทาน กฎหมายการรถไฟฉบับแก้ไข กฎหมายการถ่ายทอดเทคโนโลยีฉบับแก้ไข กฎหมายการบริหารการค้าต่างประเทศ กฎหมายการบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐฉบับแก้ไข กฎหมายการวางแผน กฎหมายการควบคุมอาวุธ วัตถุระเบิดและอุปกรณ์ และกฎหมายการช่วยเหลือด้านตุลาการฉบับแก้ไข เป็นต้น

เช้าวันเดียวกัน คณะกรรมาธิการสมัญแห่งรัฐสภาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายชลประทาน
ส่วนในช่วงบ่าย ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายการรถไฟฉบับแก้ไข นาย เหงียนหงอกดง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมขนส่งได้เผยว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ตามแนวทางสร้างก้าวกระโดดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างบรรยากาศการประกอบธุรกิจที่สะดวก โดยเฉพาะในการขนส่ง ผลักดันการเชื่อมโยงกับรูปแบบการขนส่งอื่นๆ รวมทั้งสร้างกลไกเพื่อดึงดูดการลงทุนประกอบธุรกิจด้านการรถไฟ ลดค่าใช้จ่ายของงบประมาณ พัฒนาระบบรถไฟเวียดนามตามแนวทางที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมได้เห็นด้วยถึงความจำเป็นที่ต้องแก้ไขกฎหมายการรถไฟฉบับแก้ไขให้มีความสมบูรณ์เพื่อสนับสนุนการลงทุน การบริหาร การใช้และพัฒนาการเดินทางและขนส่งด้วยรถไฟตามแนวทางที่ทันสมัย และให้กลายเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจหลักของประเทศในยุคพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด