เวียดนามต้องปฏิบัติเพื่อแปรความปรารถนาเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองให้เป็นจริง
(VOVWORLD) - ท่ามกลางแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน เวียดนามได้ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางพัฒนานวัตกรรม ประยุกต์ใช้ผลสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ในด้านเศรษฐกิจสังคมและการบริหารภาครัฐ รัฐบาล กระทรวงและท้องถิ่นต่างๆได้พยายามและตั้งใจผลักดันการเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยเฉพาะปรับปรุงระเบียบการ ประกาศใช้กลไกและนโยบายต่างๆเพื่อผลักดันการพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อให้แก่การทำธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งได้ประสบผลที่น่ายินดีต่างๆ
ภาพฟอรั่ม (tuoitre.vn) |
แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ โดยในฟอรั่มการปฏิรูปและพัฒนาเวียดนาม 2019 เมื่อวันที่ 19 กันยายน นาย เหงวียนชี้หยุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนามได้ย้ำว่า“การผันผวนของตลาดโลก การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้าในโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งทำให้วิธีการประกอบธุรกิจ การบริหารเศรษฐกิจและสถานประกอบการต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปันและเศรษฐกิจหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวได้สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเวียดนาม โดยประเทศเหล่านี้ต้องใช้ประโยชน์จากโอกาสต่างๆเพื่อฟันฝ่าความท้าทาย พัฒนาให้ทัดเทียมกับยุคสมัย ซึ่งการหลุดพ้นจากปัญหากับดักรายได้ปานกลางถือเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา รวมถึงเวียดนาม ซึ่งความพยายามเปลี่ยนแปลงใหม่แนวความคิด เป็นฝ่ายรุกในการสร้างสรรค์วิธีการพัฒนาเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงใหม่ระเบียบ กลไกและนโยบายอย่างมีความคิดสร้างสรรค์คือแนวทางการปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จ”
ส่วนบรรดาผู้แทนทั้งภายในและต่างประเทศได้เผยว่า เพื่อปฏิบัติความปรารถนาเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรือง เวียดนามต้องปรับปรุงกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสร้างสรรค์รัฐที่บริหารด้วยอำนาจกฎหมายสังคมนิยม พัฒนานวัตกรรม ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารภาครัฐ เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศเพื่อการส่งออกเพื่อมุ่งสู่การเข้าร่วมห่วงโซ่คุณค่าโลก ศ. Pinelopi Koujianou Goldberg ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลกได้ย้ำว่า เวียดนามต้องผลักดันการเข้าร่วมห่วงโซ่คุณค่าโลก ยกระดับทักษะความสามารถแหล่งบุคลากร พัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมความร่วมมือและการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งเผยว่า มูลค่าสินค้าที่เวียดนามผลิตอยู่ที่เพียงร้อยละ 18 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ต้องบรรลุในการเข้าร่วมห่วงโซ่การผลิตโลก ซึ่งคุณภาพแรงงานคือหนึ่งในสาเหตุของปัญหาดังกล่าว ดังนั้น เวียดนามต้องยกระดับคุณภาพแห่งบุคลากรและลงทุนด้านการศึกษามากขึ้น
ส่วนายกรัฐมนตรีเหงวียนซวนฟุกได้ชื่นชมข้อเสนอดังกล่าวของศ. Pinelopi Koujianou Goldberg พร้อมทั้งเผยว่า เวียดนามต้องพยายามพัฒนาแหล่งบุคลากรที่คล่องตัว มีความคิดสร้างสรรค์ ผลักดันการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อยกระดับทักษะความสามารถเพื่อให้มีสถานประกอบการเวียดนามที่สามารถเข้าร่วมห่วงโซ่คุณค่าโลกมากขึ้น.