การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง

(VOVworld) - ในหลายปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการผลิตและชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ดังนั้น การแสวงหามาตรการแก้ไขและปฏิบัติโครงการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่นํ้าใหญ่ของประเทศ
(VOVworld) - ในหลายปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการผลิตและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ดังนั้น การแสวงหามาตรการแก้ไขและปฏิบัติโครงการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่นํ้าใหญ่ของประเทศ
การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง - ảnh 1
ปัญหาภัยแล้งในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง
เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้งและปัญหาดินเค็ม ซึ่งมาตรการแก้ไขที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพืชให้เหมาะกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทำการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้แก่เกษตรกรเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว คาดว่า ในฤดูปลูกข้าวนี้ เกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงจะปลูกข้าวในพื้นที่เกือบ 1.67 ล้านเฮกต้า โดยชาวบ้านจะต้องอาศัยแหล่งนํ้าจืดที่มีและสถานการณ์นํ้าทะเลซึมเข้าพื้นที่ต่างๆเพื่อวางแผนการผลิตที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย  รองศ.ดร.มายแถ่งฝุงจากศูนย์ส่งเสริมการเกษตรแห่งชาติได้ให้ข้อสังเกตว่า“ต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพันธุ์พืชและสัตว์ให้สอดคล้องกับแหล่งนํ้าจืดที่จำกัดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วางแผนการและแนะนำให้ชาวบ้านไม่ปลูกข้าวในช่วงที่นํ้าขาดแคลน อีกทั้งเลื่อนการปลูกข้าวในเดือนเมษายนออกไปเนื่องจากเป็นช่วงที่ไม่มีฝนตก โดยเน้นการปลูกข้าวในเขตที่ไม่มีปัญหาดินเค็ม  ส่วนเขตที่อยู่ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 80 กิโลเมตรนั้น ก็ต้องเลื่อนการปลูกข้าวออกไปจนกว่าจะมีฝนตก”
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อชีวิตความเป็นอยู่และการผลิตข้าวของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ดังนั้น การประยุกต์ใช้รูปแบบการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยนอกเหนือจากการผลักดันการประชาสัมพันธ์แล้ว จังหวัดต่างๆได้ส่งเสริมการปฏิบัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น โครงการจัดการขยะอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยเกิ่นเทอที่ได้รับการปฏิบัติในตำบลอานฟุก อำเภอดงหาย จังหวัดบากเลียว  คุณ เหงวียนวันเหียว นักศึกษามหาวิทยาลัยเกิ่นเทอได้เผยว่า“ผมได้แนะนำวิธีการจัดการขยะอินทรีย์ให้แก่ 30 ครอบครัวและโรงเรียนประถมศึกษา โดยก่อนอื่นต้องแยกประเภทขยะ แล้วนำขยะอินทรีย์ไปเผาที่หลุมใกล้บ้านเพื่อทำปุ๋ยหมัก ซึ่งหลังจากปฏิบัติโครงการดังกล่าวมาเป็นเวลาเกือบ 1 เดือน ชาวบ้านก็สามารถผลิตปุ๋ยไว้ใช้ในการเกษตรได้ดี”
คาดว่า จนถึงปลายศตวรรษที่ 21  อุณหภูมิของเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงอาจเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1-3องศาเซลเซียส ส่วนระดับนํ้าทะเลอาจจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 66 – 99 ซม. ซึ่งเมื่อระดับนํ้าทะเลเพิ่มขึ้น 1 เมตร ก็จะท่วมพื้นที่ร้อยละ 39 ของเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงและส่งผลกระทบต่อประชากรร้อยละ 35  ดังนั้น การยกระดับความรับผิดชอบและการปฏิบัติรูปแบบต่างๆเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะมีส่วนร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน อีกทั้งมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่อนาคตแห่งสีเขียวในเวียดนาม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด