ชนเผ่า บานาและโอกาสร้างฐานะจากรูปแบบการเลี้ยงหมูป่าแบบธรรมชาติ

(VOVWORLD) - การเปลี่ยนจากการเลี้ยงปศุสัตว์แบบทั่วไปมาเป็นการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการผลิตครั้งใหญ่ของชนเผ่าบานาที่อาศัยในเทือบเขาเจื่องเซินในตำบลยากจน ดั๊ก ทาง อำเภอ กงชอ จังหวัดยาลาย จากการช่วยเหลือของทางการทุกระดับ ในตลอด 1 ปีมานี้ ชนเผ่าบานาได้ทำการเลี้ยงหมูป่าตามรูปแบบธรรมชาติ ซึ่งคาดว่า จะเกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง
ชนเผ่า บานาและโอกาสร้างฐานะจากรูปแบบการเลี้ยงหมูป่าแบบธรรมชาติ - ảnh 1ชนเผ่า บานาและโอกาสร้างฐานะจากรูปแบบการเลี้ยงหมูป่าแบบธรรมชาติ (หนังสือพิมพ์เยาวชน) 

ที่หมู่บ้าน กาเปียว ในตำบล ดั๊กทาง อำเภอ กงชอ มี 10 ครอบครัวของชนเผ่าบานาที่กำลังพัฒนาฟาร์มกึ่งป่าเพื่อเลี้ยงหมูป่าแบบธรรมชาติของหมู่บ้าน ฟาร์มนี้มีพื้นที่เกือบ 2 พันตารางเมตร และได้รับการล้อมรอบด้วยลวดตาข่าย B40 ในพื้นที่ท้ายสุดของป่า ฝูงหมูป่า 22 ตัวเป็นหมูป่าที่ได้รับการช่วยเหลือพันธุ์หมูจากโครงการแก้ปัญหาความยากจนในเขตเตยเงวียน ในการเข้าร่วมการพัฒนาฟาร์มนี้ ครอบครัวแต่ละครอบครัวได้ทำการดูแลฟาร์มอย่างเคร่งครัด โดยการเลี้ยงหมูป่าได้รับการปฏิบัติตามรูปแบบรวมศูนย์ เมื่อหมูป่าโตก็จะแบ่งบางส่วนให้แต่ละครัวเรือนเลี้ยง ในช่วงตรุษเต๊ตที่ผ่านมา ราคาหมูเพิ่มสูงขึ้น ชาวบ้านขายหมูป่า 3 ตัวให้แก่พ่อค้า มีรายได้เกือบ 20 ล้านด่ง ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีตรุษเต๊ตที่อิ่มหนำผาสุก

นอกจากหมู่บ้านกาเปียว ยังมีหมู่บ้านอีก 4 แห่งในตำบล ดั๊กทาง ที่ได้รับการช่วยเหลือในการเลี้ยงหมูป่าแบบธรรมชาติจากโครงการแก้ปัญหาความยากจนในเขตเตยเงวียน จนถึงปัจจุบัน มี 82 ครอบครัวในตำบลที่มีชนเผ่าบานาร้อยละ 95 ปฏิบัติรูปแบบใหม่นี้ โดยเฉลี่ยแต่ละครอบครัวได้รับการสนับสนุนพันธุ์หมูป่า 2-3 ตัวในช่วงเริ่มต้น อีกทั้งได้รับการดูแลและแนะนำเทคนิคเป็นประจำจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ถึงแม้ยังเป็นรูปแบบใหม่ แต่แนวทางนี้กำลังพิสูจน์ให้เห็นว่า มีศักยภาพสูงผ่านผลงานที่ได้บรรลุในเบื้องต้น คุณ ดิงถิเชย หนึ่งในผู้เดินหน้าในการปฏิบัติรูปแบบนี้เผยว่า “เงื่อนไขที่นี่เหมาะสมกับการเลี้ยงหมูป่าพันธุ์ผสม การเลี้ยงหมูป่าค่อนข้างง่าย ขายได้ราคาดี ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้ดีขึ้นและแก้ปัญหาความยากจน”

การเลี้ยงหมูป่าตามรูปแบบธรรมชาติในตำบล ดั๊กทาง มีความสะดวกมากมายเพราะสามารถใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์เกษตรที่เหลือใช้ เช่น ฟักทองและข้าวโพด และแหล่งอาหารธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ผักป่าและวัชพืช นอกจากนั้น ตำบล ดั๊กทาง ยังมีความได้เปรียบคือมีพื้นที่ปลูกป่าอันกว้างใหญ่ การใช้พื้นที่อันกว้างใหญ่นี้ตามรูปแบบวนเกษตรจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง

นาย เจิ่นหงอกเกื่อง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบล ดั๊กทาง อำเภอกงชอ เผยว่า เมื่อก่อน ชนเผ่าบานาเลี้ยงหมูป่าไม่กี่ตัวโดยเลี้ยงแบบทั่วไป แต่เมื่อเลี้ยงหมูป่าตามรูปแบบของโครงการนี้ ชาวบ้านสามารถเพิ่มจำนวนหมูป่าที่เลี้ยงและจัดสรรให้แก่ตลาด โดยเฉพาะเนื้อหมูป่าสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะและได้รับความนิยมจากตลาด และช่วยให้ชาวบ้านสร้างฐานะ “รูปแบบนี้ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการปฏิบัติของชาวบ้านและนำประสิทธิภาพมาให้แก่หน่วยงานเลี้ยงปศุสัตว์ ทางการตำบลกำลังมีแนวทางสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูป่าพันธุ์ผสม รูปแบบนี้จะได้รับการขยายผลและทางการตำบลมีความเชื่อมั่นในการระบุผลิตภัณฑ์นี้ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือOCOP ของตำบล”

ถึงแม้ไม่มีความสะดวกทางภูมิศาสตร์และไม่ค่อยมีโอกาสเข้าถึงวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ แต่จากการช่วยเหลือของโครงการแก้ปัญหาความยากจนในเขตเตยเงวียน โดยเฉพาะความมุ่งมั่นประยุกต์ใช้รูปแบบการเลี้ยงปศุสัตว์ใหม่ ชนเผ่าบานาในตำบล ดั๊กทาง อำเภอ กงชอ จังหวัดยาลาย มีโอกาสที่ยิ่งใหญ่เพื่อก้าวรุดหน้าไปและสร้างความร่ำรวยบนผืนแผ่นดินบ้านเกิด.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด