ตำบล กาวโบ่ พัฒนาอาชีพปลูกชาซานเตวี๊ยด

(VOVWORLD) - ตำบล กาวโบ่ อำเภอ หวิเซวียน เป็นหนึ่งในสถานที่ปลูกชาซานเตวี๊ยดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดห่ายาง ต้นชาได้กลายเป็นพืชสำคัญที่สร้างมูลค่าสูงด้านเศรษฐกิจ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ประชาชนและมีส่วนร่วมสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจนของท้องถิ่น
ตำบล กาวโบ่ พัฒนาอาชีพปลูกชาซานเตวี๊ยด - ảnh 1ซานเตวี๊ยด 

ตำบล กาวโบ่ มีหมู่บ้าน 11 แห่ง รวมประชากรกว่า 4 พันคน โดยชนเผ่าเย้าคิดเป็นร้อยละ 96 ของประชากร ที่นี่มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะแก่การปลูกต้นชา ดังนั้น ชาที่นี่จึงมีรสอร่อยกว่าที่อื่น

ชาซานเตวี๊ยดคือพันธุ์ชาที่มีค่าหายาก สามารถเติบโตได้ในเขตเขาเท่านั้น ลำต้นมีความสูงหลายเมตรและมีต้นชาที่มีอายุนับร้อยปี ยอดชามีขนาดใหญ่มีสีเทาขาว ใต้ใบชาปกคลุมด้วยขนนุ่มสีขาวจึงถูกเรียกว่า ชาเตวี๊ยดหรือชาหิมะ ชาซานเตวี๊ยดมีกลิ่นหอมอ่อนๆ น้ำชามีสีเหลืองเหมือนน้ำผึ้งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นเครื่องดื่มพิเศษของจังหวัดห่ายาง

ตำบลกาวโบ่มีพื้นที่ปลูกชาเกือบ 1 พันเฮกตาร์โดยแบ่งเป็น 2 เขตคือเขตปลูกชาในพื้นที่ต่ำที่มีหมู่บ้าน 7 แห่ง และเขตปลูกชาในพื้นที่สูงมีหมู่บ้าน 4 แห่ง ที่พิเศษคือชาชนิดนี้จะไม่ปลูกแบบพืชไร่ แต่จะปลูกปะปนไปกับต้นไม้ในป่าหรือพืชอื่นๆ ส่วนพื้นที่ปลูกชาจะคำนวณด้วยจำนวนต้นชาคือต้นชา 1,100 ต้นเท่ากับ 1 เฮกตาร์ นาย ลี้ก๊วกฮึง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลกาวโบ่เผยว่า “จุดเด่นของพวกเราคือชาออร์แกนิก เมื่อได้รับการรับรองเป็นชาออร์แกนิก ชาวบ้านขายชาดีขึ้น ต้นชามีมูลค่าสูงกว่าชาของเขตอื่นๆ ปัจจุบัน จากการปลูกชา หลายครอบครัวมีฐานะที่ดีขึ้น สามารถซื้อรถยนต์และของใช้ในครัวเรือนที่ทันสมัย ทางการตำบลฯกำหนดว่า ต้นชาคือพืชที่สร้างความร่ำรวยและพัฒนาเศรษฐกิจหลักของท้องถิ่นจึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านปลูกชาและขยายพื้นที่ปลูกชา พวกเราได้ประสานกับบริษัทหุ้นส่วนชาออร์แกนิกกาวโบ่ ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านไม่ใช้ยาและปุ๋ยเคมี”

ตำบล กาวโบ่ พัฒนาอาชีพปลูกชาซานเตวี๊ยด - ảnh 2การผลิตชาซานเตวี๊ยดของครอบครัวนาย หว่างติงเกียม 

จากความพยายามในการอนุรักษ์ป่าชาซานเตวี๊ตโบราณ การเก็บและแปรรูปแบบดั้งเดิม เมื่อปี 2011 ชาซานเตี๊ยดกาวโบ่ได้รับใบรับรองเป็นชาออร์แกนิกกาวโบ่จากสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติหรือ IFOAM จนถึงปี 2016 สมาคมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเวียดนามได้มอบ “ใบรับรองต้นมรดกเวียดนาม” ให้แก่กลุ่มต้นชาซานเตวี๊ยด 220 ต้นที่มีอายุกว่า 100 ปีในตำบลกาวโบ่

ทุกปี เกษตรกรในตำบล กาวโบ่เก็บใบชาได้ 3 ฤดู แต่ถ้าปีไหน สภาพอากาศเป็นใจจะสามารถเก็บใบชาได้ถึง 4 ฤดู ส่วนการเก็บใบชาก็ต้องเก็บในเดือนอ้ายและเดือน 3 ตามจันทรคติถึงจะได้ใบชาที่ดีที่สุด โดยสามรถขายได้ถึง 6 แสนถึง 9 แสนด่งต่อกิโลกรัม นาย หว่างติงเกียม ในหมู่บ้านทัมแหว่ ตำบล กาวโบ่ เผยว่า “ครอบครัวผมมีพื้นที่ปลูกชาเกือบ 3 เฮกตาร์ ผมผลิตและแปรรูปชามาแล้ว 3 ปี มีรายได้ดีเจนสามารถซื้อรถยนต์ได้ ผขายชาได้ 400 กิโลกรัมต่อฤดู ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 3 แสนด่งต่อกิโลกรัม ทางการตำบลและอำเภอมีโครงการให้การช่วยเหลือครอบครัวปลูกชา เช่นให้กู้เงินปลอดดอกเบี้ย 100 ล้านด่งเพื่อก่อสร้างโรงงาน ฝึกอบรมให้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ให้การช่วยเหลือการสร้างเครื่องหมายการค้าและบาร์โค้ด โครงการแก้ปัญหาความยากจนอาศัยการพัฒนาสินค้าหรือซีพีอาร์พีได้ให้การช่วยเหลือในการผลิตชาที่ได้มาตรฐานปลอดสารพิษเพื่อนำไปขายในตลาด”

เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวอนุรักษ์ชาซานเตวี๊ยดและแข่งขันพัฒนาการผลิต ทางการตำบลกาวโบ่ได้จัดตั้งกลุ่มผลิตชา 4 กลุ่มโดยแต่ละกลุ่มมีสมาชิก 10—20 ครอบครัวเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปลูก ดูแลและเก็บใบชา นอกจากนั้น ทางการท้องถิ่นยังผลักดันการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิตและแปรรูปชา นาง ดั่งถิเฝื่อง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอหวิเซวียนเผยว่า “เขตปลูกชาในอำเภอหวิเซวียนได้รับมาตรฐาน VietGap ชาออร์แกนิกของกาวโบ่ได้รับการส่งออกไปยัง 6 ประเทศ เช่นจีน เบลเยียม รัสเซียและตุรกี พวกเรามุ่งสู่ผลิตภัณฑ์ OCOP ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดแข็งของท้องถิ่น ทางอำเภอได้ส่งเจ้าหน้าที่มาให้การช่วยเหลือชาวบ้าน ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติตามกระบวนการและมาตรฐาน VietGap เพื่อค้ำประกันคุณภาพและเจาะตลาด”

เนื่องจากมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น ชาซานเตวี๊ยดในตำบล กาวโบ่ จึงเน้นส่งออกไปขายต่างประเทศเป็นหลัก ทุกปี ตำบล กาวโบ่ ส่งออกชาซานเตวี๊ยดเกือบ 200 ตันไปยังประเทศในยุโรปและเอเชีย การพัฒนาการปลูกต้นชาซานเตวี๊ยดกำลังเป็นแนวทางที่ถูกต้องในตำบลกาวโบ่ ซึ่งไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมอนุรักษ์พันธุ์ที่มีค่าหายากของเขตปลูกชาในเขตเขาเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด