ฝึกสอนอาชีพเพื่อสนองการพัฒนาชนบทใหม่

(VOVWorld) – ใน๑๙มาตรฐานของโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทใหม่  มาตรฐานการปรับปรุงโครงสร้างแรงงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรถือว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากที่สุด เพื่อปฏิบัติมาตรฐานนี้ การฝึกสอนอาชีพจึงได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆซึ่งก็เป็นเนื้อหาสำคัญของโครงการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทหรือโครงการ๑๙๕๖ของรัฐบาลที่ท้องถิ่นหลายแห่งได้ปฏิบัติใน๒ปีที่ผ่านมาและก็เป็นพื้นฐานเพื่อสร้างแหล่งแรงงานให้แก่การพัฒนาชนบทใหม่

(VOVWorld) – ใน๑๙มาตรฐานของโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทใหม่  มาตรฐานการปรับปรุงโครงสร้างแรงงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรถือว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากที่สุด เพื่อปฏิบัติมาตรฐานนี้ การฝึกสอนอาชีพจึงได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆซึ่งก็เป็นเนื้อหาสำคัญของโครงการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทหรือโครงการ๑๙๕๖ของรัฐบาลที่ท้องถิ่นหลายแห่งได้ปฏิบัติใน๒ปีที่ผ่านมาและก็เป็นพื้นฐานเพื่อสร้างแหล่งแรงงานให้แก่การพัฒนาชนบทใหม่

ฝึกสอนอาชีพเพื่อสนองการพัฒนาชนบทใหม่ - ảnh 1
ฝึกสอนอาชีพเพาะเห็ดให้แก่เยาวชนในชนบท (Photo:Internet)

มติของการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่๑๑ระบุว่า ในปี๒๐๒๐ เวียดนามจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยซึ่งก่อนอื่นต้องพัฒนาชนบทตามแนวทางพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยซึ่งเพื่อปฏิบัติเป้าหมายยุทธศาสตร์นั้น มนุษย์ถือเป็นปัจจัยที่มีความหมายชี้ขาดต่อการพัฒนาประเทศ  นอกจากนี้ ในกระบวนการพัฒนาของประเทศภาคการเกษตรก็ได้ย่างเข้าสู่กระบวนการผสมผสาน ปรับตัวเข้ากับระเบียบเศรษฐกิจเชิงตลาดและหันมาทำการผลิตเชิงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยมากขึ้นดังนั้นการฝึกสอนอาชีพให้แก่เกษตรกรจึงมีความหมายชี้ขาดต่อการพัฒนาชนบทตามแนวทางพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย  ในฟอรั่มของรัฐสภา ท่านNguyen Tan Dungนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า“ถ้าไม่พัฒนาการเกษตรและชนบทตามแนวทางการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยก็จะไม่สามารถปฏิบัติการพัฒนาเป็นประเทศอุตสหกรรมที่ทันสมัยได้”   ปัจจุบันเวียดนามมีเกษตรกรคิดเป็นกว่าร้อยละ๗๓ของประชากรทั่วประเทศและเป็นครึ่งหนึ่งของแรงงานทั่วประเทศแต่ยังมีเขตชนบทที่ยากจนมากมายหลายแห่งเนื่องจากมูลค่าผลผลิตไม่สูงดังนั้นการฝึกสอนอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้จึงเป็นความต้องการที่เร่งด่วนและก็เป็นเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จากความต้องการนี้ กระทรวงและหน่วยงานต่างๆกำลังปฏิบัติโครงการฝึกสอนอาชีพในชนบทในช่วงปี๒๐๐๙ถึงปี๒๐๑๕และแนวทางในปี๒๐๒๐ที่รัฐบาลได้อนุมัติ นายNguyen Tri Ngoc อธิบดีกรมเพาะปลูกแห่งกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเผยว่า “ปัจจุบันในชนบทมีแรงงานประมาณ๒๒ล้านคนดังนั้นตามเป้าหมายที่วางไว้ในปี๒๐๒๐ เวียดนามจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย พวกเราจะต้องฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานชนบท๑๑ล้านคนหรือเฉลี่ยแต่ละปีต้องฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานประมาณ๓แสนคน” ในแนวโน้มพัฒนาของเศรษฐกิจเชิงตลาดและมุ่งสู่การผลิตเชิงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เเละมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงขึ้นนั้น การฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในชนบทถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี นอกจากโครงการฝึกสอนอาชีพแล้วยังต้องมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถเข้าถึงการผลิตที่มีขนาดใหญ่ ศาสต์ราจารย์ ดร.Nguyen Lan Dung ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ที่นากล่าวว่า กว่า๗๐ล้านแปลงที่อยู่กระจัดกระจายในปัจจุบันเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงในการปฏิบัติโครงการฝึกสอนอาชีพในชนบทดังนั้นการส่งเสริมให้ครอบครัวเกษตรกรร่วมกันวางผังที่นาใหม่เพื่อสร้างเป็นแปลงเกษตรและฟาร์มขนาดใหญ่จึงเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาตสร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ศาสต์ราจารย์ ดร.Nguyen Lan Dungกล่าวต่อไปว่า “ในปี๒๐๒๐ เวียดนามจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยดังนั้นต้องมีวิธีการผลิตใหม่โดยต้องมีฟาร์มใหญ่ๆและต้องยกเลิกการจำกัดการถือกรรมสิทธิ์ใช้ที่นาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถขยายที่นาเพราะว่า ปัจจุบันแต่ละครอบครัวมีที่นาเพียง๔ถึง๖เฮกตาร์เท่านั้นไม่สามารถขยายการผลิตได้ และต้องวางแนวทางการผลิตให้สอดคล้องกับลักษณะของท้องถิ่นเพื่อพิ่มมูลค่าการผลิต”
หลังจากที่ปฏิบัติโครงการมาเป็นเวลา๒ปี มีแรงงานชนบทเกือบ๘แสนคนได้รับการฝึกสอนอาชีพซึ่งในนั้นมีร้อยละ๔๖ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและร้อยละ๕๔ ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและ แรงงานกว่าร้อยละ๗๐มีงานทำหลังจากที่ได้รับการฝึกสอนอาชีพ มีแรงงานจำนวนมากได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ซึ่งผลสำเร็จนี้แสดงให้เห็นว่า การฝึกสอนอาชีพมีส่วนช่วยยกระดับความรู้ของเกษตรกรช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นจากความยากจนและสร้างความมั่งคั่ง ยกตัวอย่างเช่น นายNguyen Trong Thanh อยู่ที่ตำบลVinh TuongจังหวัดVinh Phuc  ที่ประยุกต์ใช้ความรู้ในการเลี้ยงโคนมหลังจากที่เข้าร่วมการฝึกอบรมในวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรVinh Phuc  ปัจจุบันฝูงโคนมของเขาให้ปริมาณน้ำนมมากที่สุดในตำบล เขาเผยว่า “การเลี้ยงโคนมไม่เหมือนเลี้ยงโคธรรมดาเพราะต้องให้ความสนใจต่อคุณภาพน้ำนมที่จะขายในตลาด ดังนั้นผมจึงเข้าร่วมชั้นเรียนด้านการปศุสัตว์ โดยเฉพาะ การเลี้ยงโคนม” ผลสำเร็จในเบื้องต้นของโครงการได้มีส่วนร่วมเปลี่ยนโฉมใหม่ของเขตชนบท ในท้องถิ่นหลายแห่งได้ปรากฏรูปแบบการผลิตเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง เช่น ฟาร์มเลี้ยงกวาง  นกกระจอกเทศ ปลาบาซา กบ กุ้ง เป็นต้น อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกทำอาชีพตามความชำนาญและตลาดรองรับสินค้าที่เหมาะสมได้ การปฏิบัติเป้าหมายฝึกสอนอาชีพให้แก่เกษตรกร๑๑ล้านคนในปี๒๐๒๐ให้เป็นผลสำเร็จจะสร้างพื้นฐานให้แก่การลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนและการพัฒนาชนบทเวียดนาม./.

                                                                                                                                        



คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด