พัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

(VOVWorld)-เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเลี้ยงกุ้งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ๙๔ของพื้นที่การเลี้ยงกุ้งและร้อยละ๘๑ของปริมาณกุ้งทั่วประเทศ  ปัจจุบัน หน่วยงานเพาะเลี้ยงกุ้งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังประสบอุปสรรคมากมายเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลซึม
(VOVWorld)-เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตเลี้ยงกุ้งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ๙๔ของพื้นที่การเลี้ยงกุ้งและร้อยละ๘๑ของปริมาณกุ้งทั่วประเทศ  ปัจจุบัน หน่วยงานเพาะเลี้ยงกุ้งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังประสบอุปสรรคมากมายเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลซึม

พัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1

กุ้งเป็นสัตว์เลี้ยงหลักของหน่วยงานสัตว์น้ำเวียดนาม โดยคิดเป็นร้อยละ๕๐ของมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำ  พื้นที่การเลี้ยงกุ้งอยู่ที่๗แสนเฮกตาร์ ตามการพยากรณ์ มูลค่าการส่งออกกุ้งในปี๒๐๑๖จะอยู่ที่๓.๒พันล้านดอลลาร์สหรัฐและในปี๒๐๒๕ จะเพิ่มขึ้นเป็น๘พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  เวียดนามมีกุ้งสองชนิดหลักได้แก่กุ้งกุลาดำและกุ้งขาว เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้ปฏิบัติรูปแบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแดงและกุ้งsemi su cactus  ซึ่งเป็นกุ้งที่สามารถปรับตัวเข้ากับปัญหาน้ำทะเลซึม

ท้องถิ่นต่างๆได้ผลักดันการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงทางเศรษฐกิจ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะประกาศโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงกุ้งโดยเร็ว  การเพาะเลี้ยงกุ้งต้องมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ค้ำประกันแหล่งกำเนิดและความปลอดภัยด้านอาหาร   นาย ดั๋งก๊วกต๊วน  รองผู้อำนวยการเครือบริษัทเวียดนาม-ออสเตรเลีย  ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือบริษัทที่จัดสรรพันธุ์กุ้งที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามได้เผยว่า  “เครือบริษัทเวียดนาม-ออสเตรเลียจัดสรรพันธุ์กุ้ง อาหาร รูปแบบการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อค้ำประกันการพัฒนาหน่วยงานการเลี้ยงกุ้ง  พวกเรากำลังประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งตามรูปแบบของอิสราเอล โดยสามารถควบคุมอุณหภูมิ  ระดับความเค็มของน้ำและความปลอดภัยทางชีวภาพ”
พัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2
การเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวมีความหมายสำคัญ

รูปแบบการเลี้ยงกุ้งที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังได้รับการปฏิบัติและเริ่มมีประสิทธิภาพ  รูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกป่าชายเลน  การเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวมีความหมายสำคัญเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำ  มีความเสี่ยงน้อย  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีคุณภาพสูง  รูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการปลูกข้าวกำลังเป็นรูปแบบหลักในขณะที่เกิดปัญหาน้ำทะเลซึม  โดยเฉพาะ รูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาว รูปแบบการเลี้ยงกุ้งร่วมกับการเลี้ยงปลาน้ำเค็มชนิดต่างๆก็ได้รับการปฏิบัติและมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ  ศาสตรจารย์ ญือวันเกิ๋น อธิบดีกรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสังกัดทบวงสัตว์น้ำได้เผยว่า “รูปแบบเทคโลยีในการเลี้ยงกุ้งเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นมาตรการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ทบวงสัตว์น้ำให้ความสนใจต่อ๒มาตรการ  สำหรับพันธุ์สัตว์  พวกเรามีความประสงค์ที่จะพัฒนาสายพันธุ์กุ้งที่ต้านทานโรค สองคือ วิธีการเลี้ยงกุ้ง  รวมทั้ง เทคโนโลยีและอาหาร”
ปัจจุบัน เวียดนามมีเทคโนโลยีในการผลิตอาหารสำหรับกุ้งที่ทันสมัยระดับโลก  สิ่งที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ทะเลเป็นอาหารเลี้ยงกุ้ง  ซึ่งช่วยให้การเลี้ยงง่ายขึ้น  โตเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนค่าอาหารกุ้ง  ปัจจุบัน ทั่วโลกมี๓ประเทศที่ใช้เทคโนโลยีนี้คือเวียดนาม ออสเตรเลีย
และจีน
ในสภาวการณ์ที่เกิดปัญหาน้ำทะเลซึม ท้องถิ่นต่างๆที่เลี้ยงกุ้งกำลังผลักดันการวิจัยการผลิตพันธุ์กุ้ง  เพิ่มความหลากหลายในการเลี้ยงกุ้งที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลซึม  นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์และการฝึกอบรมเกษตรกรในการเพาะเลี้ยงกุ้งก็ได้รับความสนใจเพื่อให้ผู้เลี้ยงกุ้งเป็นฝ่ายรุกในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  กระทรวงการเกษตรและการพัฒนาชนบทได้วางยุทธศาสตร์เพื่อให้กุ้งเวียดนามสร้างเครื่องหมายการค้าและครองส่วนแบ่งในตลาด  การปฏิบัติมาตรการการเลี้ยงกุ้งเป็นอย่างดีจะช่วยให้ผู้เลี้ยงกุ้งฟันฝ่าอุปสรรค ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลซึม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด