ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบสหกรณ์ในกระบวนการพัฒนาชนบทใหม่

(VOVworld) – ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนมาทำการผลิตเชิงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจเชิงตลาด รูปแบบสหกรณ์ก็ได้รับการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นเพื่อสนับสนุนบทบาทแกนนำของภาคเศรษฐกิจหมู่คณะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบทใหม่

(VOVworld) – ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนมาทำการผลิตเชิงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจเชิงตลาด รูปแบบสหกรณ์ก็ได้รับการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นเพื่อสนับสนุนบทบาทแกนนำของภาคเศรษฐกิจหมู่คณะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบทใหม่

ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบสหกรณ์ในกระบวนการพัฒนาชนบทใหม่ - ảnh 1
สหกรณ์บริการการเกษตรĐiêp Nông ตรวจการเจริญเติบโตของถั่วเหลือง(Photo:Internet )

ปัจจุบัน ทั่วประเทศมีสหกรณ์เกษตรกว่า๙๒๐๐แห่งรวมสมาชิก๗.๓ล้านคนซึ่งในนั้นเป็นสหกรณ์ภาคบริการร้อยละ๗๐ ที่ผ่านมา แนวคิดเกี่ยวกับสหกรณ์เกษตรคือ ร่วมลงแรงลงทุน สหกรณ์จัดสรรการบริการให้แก่เกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการไถนา การหว่าน การดำนา การจัดสรรปุ๋ย ยาฆ่าแมลง รับซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งสมาชิกสหกรณ์จะได้รับประโยน์จากการบริการและได้ซื้อสินค้าในราคาย่อมเยาว์แต่ด้วยกลไกการบริหารที่ไม่กระทัดรัดเนื่องจากต้องผ่านคนกลาง เมื่อย่างเข้าสู่ยุคพัฒนาการเกษตรและชนบทตามแนวทางพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยและการผลิตสินค้าเชิงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ได้ทำให้พบเห็นข้อบกพร่องของ รูปแบบสหกรณ์ดังกล่าวรวมทั้งปรับตัวเข้ากับตลาดได้อย่างล่าช้าดังนั้นต้องปรับปรุงรูปแบบสหกรณ์ให้มีความสมบูรณ์เพื่อส่งเสริมบทบาทแกนนำของเศรษฐกิจหมู่คณะเพื่อมีส่วนร่วมปฏิบัติเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทใหม่ นายLe Huy Ngo อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร พัฒนาชนบท และที่ปรึกษาโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนกล่าวว่า “จำเป็นที่จะต้องปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับฐานะ บทบาทและลักษณะธุรกิจของสหกรณ์เกษตรในยุคใหม่ซึ่งเป็นยุคของเศรษฐกิจเชิงตลาดและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกเพื่อพัฒนาสหกรณ์ใหม่ตามแนวทางประกอบธุรกิจเพื่อผลกำไรของสมาชิก สามารถขยายการผลิต แสวงหาตลาดรองรับสินค้า ร่วมมือกับสถานประกอบการและพ่อค้าคนกลางเพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของเกษตรกร อำนวยความสะดวกให้แก่การผลิตเชิงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ และพัฒนาการเกษตรอย่างมีเสถียรภาพโดยมีการเชื่อมโยงกับตลาด” สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของสหกรณ์รูปแบบใหม่ตามกฏหมายสหกรณ์ปี๒๐๐๓คือสมาชิกสหกรณ์ และผู้ใช้แรงงานในสหกรณ์ สหพันธ์สหกรณ์และกลุ่มร่วมทำการผลิตเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ปัจจัยการผลิต สมทบเงินทุนด้วยความสมัครใจ ร่วมลงแรง เสนอแนวคิดและประสบการณ์ประกอบธุรกิจ เศรษฐกิจหมู่คณะสหกรณ์ไม่แตกต่างกับเศรษฐกิจภาคเอกชนหากเป็นความร่วมมือระหว่างรูปแบบการถือกรรมสิทธิ์ต่างๆ เช่น สิทธิใช้ที่ดิน ทรัพย์สิน เงินทุนและแรงงานโดยมีรูปแบบการจัดตั้งที่เหมาะสม ทำการผลิตแบบรวมศูนย์ จัดการบริการต่างๆ รวมไปถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รับจ้างผลิต ช่วยลดร่ายจ่ายของสมาชิกสหกรณ์ ยกระดับประสิทธิภาพของการใช้ทุกแหล่งพลังและสร้างงานทำ ในหลายปีที่ผ่านมา ควบคู่กับโครงการพัฒนาชนบทใหม่ รัฐได้ประกาศใช้ระเบียบ นโยบายเพื่อพัฒนาสหกรณ์ รวมทั้งนโยบายที่สำคัญที่สุดคือ การช่วยเหลือด้านเงินทุน นายNguyen Van Bien รองประธานสหพพันธ์สหกรณ์กล่าวว่า “ ปัจจุบัน รัฐมีนโยบายเปลี่ยนรูปแบบกองทุนสินเชื่อประชาชนที่มีอยู่ในจังหวัดและนครทั่วประเทศเป็นธนาคารสหกรณ์เพื่อสามารถช่วยเหลือสหกรณ์ในด้านเงินทุนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว”            
ปัจจุบันใน๑๙มาตรฐานของโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทใหม่ เช่น การลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การวางแผนพัฒนาที่นาให้เป็นแปลงเกษตร ฟาร์ม และหมู่บ้านศิลปาชีพขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงนั้น การพัฒนาสหกรณ์ก็สอดคล้องกับกระบวนการนี้ ในหลายปีที่ผ่านมา สหกรณ์จำนวนมากได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต ช่วยเหลือเกษตรกรจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างพืช สัตว์ และมีส่วนร่วมพัฒนาการผลิต  ปัจจุบันมีสหกรณ์จำนวนหนึ่งได้วางผังที่นาและจัดสรรการผลิตใหม่แล้วซึ่งทำให้มูลค่าการผลิตจาก๓๑ล้านด่งต่อเฮกตาร์ในปี๒๐๐๖เพิ่มขึ้นเป็นกว่า๕๐ล้านด่งต่อเฮกตาร์และยังมีสหกรณ์ที่เจียดผลกำไรส่วนหนึ่งไปลงทุนประกอบธุรกิจต่อไป จากการปรับปรุงสหกรณ์ให้สอดคล้องกับระยะพัฒนาใหม่ แน่นอนว่า สหกรณ์จะสามารถปฏิบัติบทบาทของตนได้เป็นอย่างดีและ มีส่วนร่วมเปลี่ยนโฉมใหม่ของชนบทเวียดนาม./.

                                                                                                                                 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด