หมู่บ้านศิลปาชีพทำไม้กวาดในตำบลฟู้บิ่ง อำเภอฟู้เติน จังหวัดอานยาง

(VOVWORLD) - เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน หมู่บ้านทำไม้กวาดโก่นหญอในตำบลฟู้บิ่ง อำเภอฟู้เติน ได้รับการรับรองเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพแห่งอุตสาหกรรมในครัวเรือนจากคณะกรรมการประชาชนจังหวัดอานยาง และจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้ก็ได้รับการลงทุนเพื่อขยายขอบเขตการพัฒนาให้หลากหลายมากขึ้น
หมู่บ้านศิลปาชีพทำไม้กวาดในตำบลฟู้บิ่ง อำเภอฟู้เติน จังหวัดอานยาง - ảnh 1นาย ด่าวจุงเหียว หนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ในท้องถิ่น

 

หมู่บ้านทำไม้กวาดโก่นหญอมีมานานหลายทศวรรษ โดยส่วนใหญ่อยู่ในซอยบิ่งแถ่ง ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อน พื้นที่โก่นหญอมี ต้นดอกหญ้าหรือต้นดอกเลาอุดมสมบูรณ์มาก ใน “ฤดูน้ำแดง”  ชาวท้องถิ่นจะเก็บดอกหญ้ามาตากแห้ง แล้วนำไปทำไม้กวาดเพื่อใช้ในบ้าน แล้วมีการแนะนำต่อกันจนทำให้กลายเป็นอาชีพหลักของหลายครอบครัวตั้งแต่นั้นมาและถึงปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้มีครอบครัวผลิตไม้กวาดประมาณ 350 ครอบครัว มีแรงงานกว่า 1,000 คน

ไม้กวาดมี 2 ชนิดคือ ไม้กวาดหญ้ากกและไม้กวาดดอกหญ้า ส่วนรูปแบบก็มีหลายประเภท ได้แก่ ไม้กวาดที่มัดด้วยเชือกพลาสติกหลากสี ไม้กวาดก้านพลาสติกและไม้กวาดที่มัดด้วยเชือกฝ้าย เป็นต้น ขายที่ราคาไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่ออัน โดยเฉลี่ยแต่ละเดือน  คนในหมู่บ้านสามารถผลิตไม้กวาดได้ 200,000 อัน และส่งไปจำหน่ายในท้องถิ่นหลายแห่งภายในประเทศ รวมถึงส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย นาย ด่าวจุงเหียว หนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ในท้องถิ่น ได้เผยว่า

“ตลาดจำหน่ายส่วนใหญ่คือกัมพูชา คิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ส่วนร้อยละ 30 ขายให้แก่ตลาดอินโดนีเซียและไทย รวมทั้งขายในประเทศ มีรถมารับส่งสินค้า 4 ถึง 5 คันต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับการสั่งซื้อ ในช่วงปีใหม่ของกัมพูชาเป็นช่วงที่ยุ่งมากเนื่องจากมีการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น โดยต้องจ้างแรงงาน 60-70 คนต่อวัน”

ชาวบ้านในหมู่บ้านฯ เผยว่า ปัจจุบันมีการใช้เครื่องจักรมาช่วยลดแรงในการมัดไม้กวาด จึงค้ำประกันให้ไม้กวาดมีความทนทาน และสวยงามมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนส่วนใหญ่ยังคงต้องทำด้วยมือ ไม้กวาดไม่ว่าจะใช้ก้านเป็นพลาสติกหรือด้ามไผ่ต้องผ่านการม้วน มัดและถักเปีย เครื่องจักรที่ทันสมัยยังไม่สามารถทดแทนมือที่ชำนาญของแรงงานได้ จาการมีการจำหน่ายที่มั่นคง รายได้ของแรงงานจึงมีความยั่งยืน นาง ห่าวี และนาง ดว่านถิยืออี๊ ที่ประกอบอาชีพทำไม้กวาดในตำบลฟู้บิ่งเล่าให้ฟังว่า

ก่อนที่กลับมาพัฒนาอาชีพที่บ้านเกิด ดิฉันก็ทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดบิ่งเยืองหลายปี ดิฉันประกอบอาชีพทำไม้กวาดนี้ได้หลายปีแล้วและมีรายได้ที่มั่นคง”

“เมื่อก่อน ดิฉันอยู่บ้าน ช่วยแม่ดูแลน้องๆ ตอนนี้ ดิฉันทำไม้กวาด มีรายได้ 5-6 ล้านด่งต่อเดือน หรือประมาณ 212 - 254 ดอลลาร์สหรัฐ”

หมู่บ้านศิลปาชีพทำไม้กวาดในตำบลฟู้บิ่ง อำเภอฟู้เติน จังหวัดอานยาง - ảnh 2ตามความต้องการของตลาด ได้มีการออกแบบไม้กวาดที่หลากหลายมากขึ้น

ต้นดอกเลาซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำไม้กวาดมีเฉพาะในช่วงฤดูน้ำขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบัน ได้มีการใช้ดอกหญ้าตองกงที่สามารถหาซื้อได้จากจังหวัดต่างๆในภาคกลางและมีตลอดทั้งปีมาใช้เป็นวัตถุดิบ  นาย กาววันมึก เจ้าของโรงงานผลิตไม้กวาดในหมู่บ้านบิ่งแถ่ง ตำบลฟู้บิ่งเผยว่า

“เมื่อก่อน เราใช้ดอกหญ้าจากจังหวัดก่าเมาและจังหวัดเกียนยาง แต่ปริมาณไม่พอสำหรับการผลิต ต่อมาเราใช้หญ้าตองกงในภาคกลางเพราะมีคนส่งให้เราตลอดทั้งปี จึงไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตุดิบเพื่อทำไม้กวาด ทุกวัน ผมทำไม้กวาดได้ประมาณ 1,000 อัน หักค่าจ้างแรงงานก็จะได้กำไรอันละ 1,000 ด่ง หรือประมาณ 0.04 ดอลลาร์สหรัฐ”

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพในท้องถิ่น คณะกรรมการประชาชนตำบลฯและธนาคารนโยบายสังคมสาขาอำเภอฟู้เตินได้อำนวยความสะดวกเพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับแผนการในระยะยาว นาย โห่แถ่งเถิต เจ้าหน้าที่บริหารหมู่บ้านศิลปาชีพในตำบลฟู้บิ่งได้เผยว่า

“หมู่บ้านศิลปาชีพได้สร้างงานทำให้แก่แรงงานในท้องถิ่นและมีส่วนร่วมค้ำประกันสวัสดิการสังคม นับตั้งแต่ประกอบอาชีพทำไม้กวาด ไม่มีครอบครัวยากจนอีก ตามความต้องการของตลาด จำเป็นต้องมีการออกแบบที่หลากหลายมากขึ้น ตำบลฟู้บิ่งและอำเภออานฟู้ได้วางแผนที่จะสร้างแบรนด์หมู่บ้านศิปลาชีพแห่งนี้ ก่อตั้งสหกรณ์เพื่อเชื่อมโยงกัน พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ไม้กวาดฟู้บิ่ง” เพื่อจำหน่ายในตลาดด้วยราคาที่สูงขึ้น”

ไม้กวาดได้รับการผลิตตลอดทั้งปี ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่แรงงานในท้องถิ่นเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพพื้นเมือง ตลอดจนอนุรักษ์วัฒนธรรมของหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด